เพราะคำคล้ายกันจึงใช้ภาษากันผิดๆ


ภาษาไทยก็เป็นอีกภาษาหนึ่งที่มีคำคล้ายคลึงกัน

เพราะคำคล้ายกันจึงใช้ภาษากันผิดๆ

 

              ทุกภาษาย่อมมีคำคล้ายคลึงกัน เช่นภาษาจีนที่ต้องสังเกตขีดของตัวอักษร บางตัวอักษรเขียนเหมือนกันแต่ใช้ในความหมายต่างกัน  บางตัวอักษรก็มีลักษณะคล้ายกันมาก  ผู้ใช้ภาษาก็ต้องระมัดระวัง  ต้องสังเกต จดจำ และนำไปใช้ในประโยคให้ถูกต้อง เหมาะสม

              ภาษาไทยก็เป็นอีกภาษาหนึ่งที่มีคำคล้ายคลึงกัน เช่น

 

สร้างสรรค์       สังสรรค์           เลือกสรร  

เสกสรร           จัดสรร              สีสัน

 

คำเหล่านี้มีผู้ใช้กันผิดบ่อยๆ   เพราะไม่ค่อยสังเกต จดจำ   บางครั้งข้อผิดพลาดมาจาก   การรีบเร่งใช้  ไม่ประณีต รอบคอบ  เราลองมาดูความหมายกันสักนิดครับ

 

สร้างสรรค์       หมายถึง   การสร้างขึ้น , ทำให้มีขึ้น  , เนรมิต  

                       การสร้างสรรค์ น่าจะมาจากความคิดสร้างสรรค์ คือต้องเป็นสิ่งแปลกใหม่ที่ไม่ซ้ำแบบใคร เป็นสิ่งดีงาม ที่มีคนชื่นชม มากกว่าจะเป็นสิ่งแผลงๆ  พิสดาร   ตัวอย่างเชน

เราควรสนับสนุนเด็กและเยาวชนให้สร้างสรรค์สิ่งดีงามไว้ให้แก่สังคม 

                      สรรค์สร้าง    บางทีเราจะพบคำนี้ในวรรณกรรม  บทกวี  ซึ่งต้องการให้เกิดเป็นสำนวนที่ไพเราะขึ้น แต่ก็มีความหมายเดียวกัน  เช่น

อันความดีที่เราได้สรรค์สร้าง             เป็นแบบอย่างแก่ชนคนทั้งผอง

จะสร้างสรรค์ความดีจงตริตรอง          ประโยชน์ต้องตกไว้ให้ปวงชน 

 

สังสรรค์            หมายถึง   การพบปะพูดคุยสนทนากันอย่างเป็นกันเอง มักใช้ในกลุ่มเพื่อนที่สนิทสนมกัน การสังสรรค์มักมีการรับประทานอาหารหรือดื่มเครื่องดื่ม ซึ่งอาจมีแอลกอฮอล์ด้วยก็ได้ (แต่ไม่จำเป็นเสมอไป)  เป็นการพบปะเพื่อความสนุกสนาน คลายสมอง   ตัวอย่าง

คืนนี้ศิษย์เก่าโรงเรียนพิทยาคารนัดพบปะสังสรรค์กัน

 

                        มีอีกคำหนึ่งซึ่งอาจใช้สับสน นั่นคือ  สังสนทนา   มักจะเขียนเป็น  สังสันทน์  ซึ่งไม่มีปรากฏในพจนานุกรม  มาจากภาษาบาลี  สํสนฺทนา   หมายถึง  การพูดจาหารือกัน , พูดกันอย่างเป็นกันเอง  ครูบาอาจารย์ชี้แจงว่าจะเขียน สังสันทน์ ก็ได้ไม่ผิดอะไร แต่ต้องรู้ว่าใช้ในความหมายพูดจากัน ไม่ใช่งานเลี้ยงสังสรรค์

 

เลือกสรร           หมายถึง   การเลือก   แต่เป็นการเลือกเอาแต่สิ่งดีๆ  สรร ก็คือ เลือก  เป็นคำซ้อน   เราจะแยกคำใช้ก็ได้  เช่น     สรรคำ   สรรหา  ตัวอย่าง

 

การทำอาหารให้อร่อยต้องรู้จักเลือกสรรวัตถุดิบที่มีคุณภาพมาปรุงแต่ง

 

การแต่งบทกวีให้ไพเราะต้องรู้จักสรรคำที่มีเสียง จังหวะ และมีความหมายดีมาใช้ให้ตรงตามข้อบังคับของคำประพันธ์

 

เสกสรร   หมายถึง  การเลือกทำหรือพูดเอาเอง   คำนี้มักใช้กับคำซ้อนว่า  เสกสรรปั้นแต่ง   ตัวอย่างประโยค 

 

เขาช่างเสกสรรถ้อยคำมาพูดให้เธอหลงใหลในตัวเขา

 

จัดสรร      หมายถึง  การแบ่งส่วน   เช่น  บ้านจัดสรร  การจัดสรรประโยชน์  การจัดสรรที่ดิน   คำนี้ใช้กับคำซ้อนว่า   จัดสรรปันส่วน    ตัวอย่างประโยค

 

คุณช่วยจัดสรรงบประมาณให้แก่โครงการนี้ด้วย

 

สีสัน     หมายถึง   สีต่างๆ , หลากหลายสี   เช่น

 

เขาซื้อลูกโป่งที่มีสีสันหลากหลายให้แก่ลูกๆ

เสื้อผ้าชุดนี้มีสีสันค่อนข้างฉูดฉาดมาก

 

                     คำว่า   สีสัน    นำมาใช้ในความหมายเชิงเปรียบเทียบได้ด้วย หมายถึง  มีชีวิตชีวา  มีรสชาติ  เช่น

 

ชีวิตที่มีทั้งสุขและทุกข์ปะปนกัน เป็นชีวิตที่มีสีสัน

 

คำคล้ายประเภทเดียวกันนี้ยังมีอีกมากมาย  ซึ่งคนไทยจำเป็นต้องรูจักเลือกใช้ให้ถูกต้อง  เช่น  ผลุด-ผุด ,  กำหนดการ-หมายกำหนดการ  , นัดแนะ-นัดหมาย , เกจิอาจารย์-ปรมาจารย์ , เกร็ด-เกล็ด-เก็จ , เกียรติบัตร-วุฒิบัตร-ประกาศนียบัตร-ปริญญาบัตร สูจิบัตร- สูติบัตร-สิทธิบัตร-ธนบัตร ฯลฯ

 

การใช้ภาษาเป็นเรื่องที่ต้องใส่ใจในรายละเอียดบ้าง เพราะมีความคล้ายทั้งรูปคำ การออกเสียง และความหมาย  การใช้ภาษาจึงต้องอาศัยสติ  คิดก่อนที่จะใช้อย่าใช้ก่อนคิด  เพราะบางที  ภาษาที่เราใช้ออกไปโดยไม่คิดอาจย้อนกลับมาผูกมัดเราให้เสียหาย เสียใจได้ครับ   

  

หมายเลขบันทึก: 139933เขียนเมื่อ 18 ตุลาคม 2007 23:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 06:50 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)
นางสาวพิมลพรรณ นิลไพบูลย์

  สรุป  เพราะคำคล้ายกันจึงใช้ภาษากันผิดๆ

       ภาษาไทยก็เป็นอีกภาษาหนึ่งที่มีคำคล้ายคลึงกัน   บางครั้งข้อผิดพลาดมาจาก   การรีบเร่งใช้  ไม่ประณีต รอบคอบ  คำคล้ายประเภทเดียวกันนี้ยังมีอีกมากมาย  ซึ่งคนไทยจำเป็นต้องรูจักเลือกใช้ให้ถูกต้อง  การใช้ภาษาเป็นเรื่องที่ต้องใส่ใจในรายละเอียดบ้าง เพราะมีความคล้ายทั้งรูปคำ การออกเสียง และความหมาย  การใช้ภาษาจึงต้องอาศัยสติ  คิดก่อนที่จะใช้อย่าใช้ก่อนคิด  เพราะบางที  ภาษาที่เราใช้ออกไปโดยไม่คิดอาจย้อนกลับมาผูกมัดเราให้เสียหาย เสียใจได้

ข้อคิดเห็น

     เป็นสิ่งที่ดีมาก  เพราะทำให้ใช้ภาษาไทยไม่ผิดเพี้ยน  และจะได้ไม่ตีความหมายผิด

 คติที่ได้

     รู้จักใช้ภาษาไทยได้ถูกต้อง  และนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ถูกต้อง

                            

เสาวรินท์ เชิดชูไพร

ทุกภาษาย่อมมีคำคล้ายคลึงกัน บางตัวอักษรเขียนเหมือนกันแต่ใช้ในความหมายต่างกัน บางตัวอักษรก็มีลักษณะคล้ายกันมาก ผู้ใช้ก็ต้องระมัดระวัง ต้องสังเกตจดจำ และนำไปใช้ในประโยคให้ถูกต้องเหมาะสม การใช้ภาษาแบบผิดๆ เกิดจากการไม่ค่อยสังเกตจดจำ หรือรีบเร่งใช้ การใช้ภาษาเป็นเรื่องที่ต้องใส่ใจเป็นอย่างมาก เพราะมีความคล้ายทั้งรูปคำ การออกเสียงและความหมาย การใช้ภาษาต้องอาศัยสติ คิดก่อนที่จะใช้ อย่าใช้ก่อนที่จะคิด เพราะบางคำบางทีภาษาที่เราใช้ออกไปโดยไม่คิดอาจย้อนกลับมาผูกมัดให้เราเสียหายได้

ดังนั้นเราควรนำภาษาไทยมาใช้ให้เกิดประโยชน์และถูกต้องตามความเหมาะสม การใช้ภาษาเราต้องอนุรักษ์ไว้ตลอดไป      ข้อคิดเห็น1.       การใช้ภาษาไทยแบบผิดๆมาจากการสะกดำไม่ถูกต้อง2.       การใช้ภาษาต้องใส่ใจเพราะมีความคล้ายทั้งรูปคำ การออกเสียง ความหมาย3.       เราควรสนับสนุนให้เด็กและเยาวชนฝึกใช้ภาษาอย่างถูกต้อง     เป็นสิ่งที่ดีมาก  เพราะทำให้ใช้ภาษาไทยไม่ผิดเพี้ยน  และจะได้ไม่ตีความหมายผิด คติที่ได้การออกเสียงและความหมาย การใช้ภาษาต้องอาศัยสติ คิดก่อนที่จะใช้ อย่าใช้ก่อนที่จะคิด เพราะบางคำบางทีภาษาที่เราใช้ออกไปโดยไม่คิดอาจย้อนกลับมาผูกมัดให้เราเสียหายได้ รู้จักใช้ภาษาไทยได้ถูกต้อง  และนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ถูกต้อง

 

 

 

Yakk dontpromish

s uc k

Oh goD

ahhhhhhh

อาฮะ

งุงิ

ขอประนาม ความเห็นที่2 ไร้สติ ไร้ความคิด อาจารย์ท่านให้ความรู้ ยังมาทำตัว....

ไม่อยากว่ามากกว่านี้เกรงใจอาจารย์

เข้าใจแล้ว

555+

หุหุ

เปนแบบเนี้ยเอง

ขอบคุณค่ะ

จะพยายามใช้ภาษาให้ถูกต้องมากยิ่งขึ้นค่ะ

(^___^)

ขอบคุณครับ...

แล้วคำว่า สุก-สัน ต้องเขียนอย่างไรคะ

ดีมากเหมือนประภาพร

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท