"Clinical Tracer" เขียนยาก..จะเขียนยังไง? (3) : ประเด็นสำคัญ/ความเสี่ยงสำคัญ (Critical issues/risks)


ประเด็นสำคัญและความเสี่ยง..เป็นหัวใจในการเดินเรื่องของ tracer

 ประเด็นสำคัญ/ความเสี่ยงสำคัญ

 “ระบุว่าสภาวะนี้มีประเด็นที่ผู้รับบริการและผู้ประกอบวิชาชีพให้ความสำคัญอะไรบ้าง รวมทั้งมีความเสี่ยงสำคัญอะไร  ซึ่งประเด็นเหล่านี้ควรไปปรากฏอยู่ในเป้าหมาย เครื่องชี้วัดสำคัญ กระบวนการเพื่อให้ได้คุณภาพ และการพัฒนาต่อเนื่องด้วย”

(แนวคิดจาก พรพ.)

...ผู้ติดตาม  แกะรอย  ตามรอยย่อมทราบดีในเบื้องต้นจากมาตรฐานของวิชาชีพตนว่า  ในประเด็นใดที่สำคัญมากๆ  ที่อาจเกิดความเสี่ยงกับผู้ป่วยในเรื่องที่เราให้ความสำคัญแกะรอยอยู่  อาจจะได้จากอุบัติการณ์ที่เคยปรากฏ  หรือจากสิ่งที่เราคาดว่าอาจจะเกิดก็ได้...เหล่านี้ดึงมาเป็นประเด็นความเสี่ยงได้ทั้งสิ้น 

...เรื่องประเด็นสำคัญและความเสี่ยง..เป็นหัวใจในการเดินเรื่องของtracer (หรือพระเอก)  ว่าจะต้องระแวดระวังเรื่องใดเป็นพิเศษ  เพื่อให้งานที่ดำเนินบรรลุเป้าหมาย  ทำให้ได้คุณภาพ 

ตัวอย่างเช่น  การลดข้อผิดพลาดของการบริหารยาของวิสัญญี นั่นหมายถึง  ความสำคัญในเรื่องนี้เป็นเรื่องของ  ความเสี่ยงสูงที่อาจเกิดความผิดพลาดของการให้ยาทางวิสัญญี ที่มีมากมายหลายชนิด  หลายประเภท  จนมีโอกาสเกิดอันตราย  ความเสี่ยงการสูญเสียได้มาก  เป็นต้น 

ดังนั้นความเสี่ยงที่สำคัญๆ...ที่จะหยิบยกมาเช่น....

·        ผู้ป่วยได้รับยาไม่ตรงตามการรักษา

·        อันตรายจากการ detect ได้ล่าช้า

·        เกิดอาการไม่พึงประสงค์ จนเกิดอันตรายต่อชีวิต

·        เวลาการนอนรักษาในโรงพยาบาลนานขึ้น

·        เสียค่าใช้จ่ายเกินจำเป็น  เป็นต้น

อย่าลืมว่า ...อ.อนุวัฒน์ ศุภชุติกุล กล่าวไว้ เกี่ยวกับ “CQI กับ Clinical tracer” ว่า  

trace หรือ การตามรอย คือการวิเคราะห์สถานการณ์เพื่อก้าวไปข้างหน้า วิเคราะห์ในด้านผลลัพธ์ กระบวนการทำงาน กระบวนการพัฒนาคุณภาพ และระบบงานที่เกี่ยวข้อง 

 ·        CQI ที่ผ่านมาก็คือผลงานที่จะนำมาทบทวนในการตามรอย... ผลของการตามรอยจะทำให้เกิด CQI อีกหลายเรื่องตามมา

·        การตามรอยจะมองในภาพกว้างทั้งหมดของโรคที่เราเลือกมา...  CQI อาจจะนำเฉพาะบางประเด็นที่ต้องการปรับปรุงมาดำเนินการ

 (ขอขอบคุณ อ.อนุวัฒน์ ศุภชุติกุล สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาลค่ะ)

หมายเลขบันทึก: 139905เขียนเมื่อ 18 ตุลาคม 2007 21:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 12:14 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
  • สวัสดีครับ อาจารย์
  • คือว่าผมมีเรื่องรบกวนถามครับ
  • คือว่าผมอยากจะไปตรวจร่างกายที่ รพ.ศรีฯครับ จะต้องทำยังไงบ้างครับ รู้สึกว่าช่วงนี้ร่างกายจะไม่ไหว ใช้งานหนักเกินไปอ่ะครับ
  • ขอบพระคุณล่วงหน้าครับ
  • สวัสดีค่ะ อ.กฤษณา
  • อธิบายได้ชัดเจนเห็นภาพดีจังค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ

 

ปล. น้องสายลม คงอยากจะยกเครื่องใหม่แล้วสิ หลังใช้งานหนัก รักษาสุขภาพเด้อ

  • เอ...ยังหนุ่มยังแน่นอยู่ใช่ไหมคะ...ใครหนอ...ใช้งานคุณหนักจัง....
  • อยากตรวจร่างกายประจำปีแค่นั้นหรือเปล่าคะ....มีบัตรประจำตัวของ รพ.ศรีนครินทร์แล้วหรือยังคะ..ตอนนี้เขามีบริการทำ "บัตรจ่ายตรง"....สิทธิส่วนที่เบิกได้ไม่ต้องออกเงินไปก่อนเลยแหละ   ถ้ายังไม่ทำควรทำก่อนค่ะไม่งั้นก็จ่ายไปก่อนแล้วเอาไปเบิกเอง....
  • ...แวะไปห้องตรวจสุขภาพประจำปี(ห้องตรวจนอกเวลาพิเศษ...เขาใช้ที่เดียวกันค่ะ)  แจ้งความจำนง(อาจจะต้องเข้าคิวเพราะแต่ละวันรับจำกัด).....
  • ...เอางี้ดีกว่า...เอาเบอร์ไปแล้วถามดีกว่านะคะ...ติดต่อคุณพี่ลัดดาก็ได้ค่ะ....เผื่อจะได้ข้อมูลตรงใจ  043-363072  และ 043-363688...
  • ....ถ้าจะมาตรวจวันไหนอยากได้พยาบาลสาวเดินเคียงกายก็บอกมาก็แล้วกัน...เอ..เจอพยาบาลมิยิ่งป่วย(ใจ)หรือค่ะ...แต่คงไม่ใช่พี่เพราะพี่แก่ซะแล้ว...อิ...อิ...
  • ...หวังว่าได้นอนพัก  หายเหนื่อยแล้วคงรู้สึกสบายดีขึ้นแล้ว...ช่วงนี้อากาศเปลี่ยนแปลงค่ะ..ดูแลสุขภาพกันหน่อยก็แล้วกัน..
  • ขอให้สุขภาพแข็งแรงค่ะ

สวัสดีค่ะ ป้าแดง

  • ตัวอย่างอาจจะไม่สมบูรณ์นักค่ะ  เอามาจากที่ทำเองจริงก็เลย...เป็นไปตามประสาชาวเรา  ผู้ปฏิบัติ  ไม่ใช่นักวิชาการค่ะ...
  • วันหลังจะเอาเรื่องสติ๊กเกอร์ยามาเล่าในตอนถัดๆไปค่ะ....
  • ขอบคุณค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท