มรดกชาติ : วัดไผ่ขอน้ำ ตำบลไผ่ขอน้ำ อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก


จิตรกรรมฝาผนังเรื่องมหาเวสสันดรชาดกครบทั้ง ๑๓ กัณฑ์ มีความงดงามมากที่สุดเท่าที่พบในจังหวัดพิษณุโลก

      จากการผู้เขียนได้ศึกษาข้อมูลวัดที่สำคัญๆในจังหวัพิษณุโลก เพื่อเตรียมข้อมูล ในโครงการแหล่งสารสนเทศท้องถิ่นจังหวัดพิษณุโลก  กับคณะทำงานข้อมูลท้องถิ่นข่ายงานห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาค โครงการก็ยังชะลออยู่ เก็บไว้กับตัวเองก็ไม่ได้ประโยชน์อันใด กอปรกับน้องออดเปิดหลักสูตร ศึกษา จิตรกรรมพื้นถิ่นภาพฝาผนัง ของอีสาน  แล้วพลาดพิงถึงวิทยาเขต สองแคว จะไม่เขียนได้อย่างไร  นำข้อมูลของต้วเองออกมาบ้าง ตามเจตนารมณ์น้องออต คือชี้ทางในการทำงานของกันและกันมากขึ้น  คือ วัดไผ่ขอน้ำที่เป็นวัดสำคัญอีกแห่งหนึ่งของพิษณุโลกเลยนะคะ

 

 

 วัดไผ่ขอน้ำ  ตั้งอยู่ที่ บ้านไผ่ขอน้ำ ตำบลมะตูม อำเภอพรหมพิราม เดิมชื่อวัดกฎีราย ไม่ปรากฏว่าสร้างเมื่อใด มีโบราณสถานที่สำคัญของวัดคือ หอสวดมนต์ มีภาพจิตรกรรมฝาผนังเรื่องมหาเวสสันดรชาดกครบทั้ง ๑๓ กัณฑ์ มีความงดงามมากที่สุดเท่าที่พบในจังหวัดพิษณุโลก สันนิษฐานว่า เขียนในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ค่ะ

 

นอกจากนี้ยังมีภาพพระบถ สันนิษฐานว่า เขียนขึ้นพร้อมกันกับจิตรกรรมฝาผนัง โดยจิตรกรคนเดียวกัน เขียนลงบนผืนผ้าขาวเป็นเรื่องพระมหาเวสสันดร มีอยู่ ๑๓ ภาพ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๐๕  ดังภาพนี้นะคะ

และทางวัดได้จัดเก็บ ธงช้างเผีอก ไว้ด้วยเช่นกัน  ซึ่งในอดีตจนถึงสมัยรัชกาลที่ 4 คนไทยไม่เคยมีธงชาติของตนเอง ธงช้างเผือกนับเป็นธงชาติผืนแรกของประเทศไทย สืบเนื่องจากในรัชกาลสมัยนั้น ประเทศต้องทำการค้าขายกับต่างชาติ ประเทศในตะวันตกได้ใช้ธงของตนเองประดับเรือ เพื่อบ่งบอกสัญชาติของเรือ เริ่มแรกรัชกาลที่ 4 ทรงมีพระราชดำรัสให้ใช้ธงสีแดงทั้งผืน แต่ต่อมาจึงปรับเอาตราช้างเผือก อันเป็นส่วนประกอบในตราแผ่นดิน เข้าไปประดับไว้ในธงผืนธงสีแดง ซึ่งชาวต่างชาติในยุคนั้นรู้จักดี

 

จากความตั้งใจของผู้เขียน คิดอยู่นานที่เดียวที่นำเสนอสิ่งที่สำคัญที่อยู่ในวัดไผ่ขอน้ำแห่งนี้ เพียงเพื่อให้ชนรุ่นหลังมีโอกาสได้ศึกษาข้อมูลมรดกของชาติอันทรงคุณค่าเท่านั้น จึงมิได้อ้างอวดแต่อันใด
 

หมายเลขบันทึก: 139868เขียนเมื่อ 18 ตุลาคม 2007 18:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:28 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

พี่สุวรรณาครับ

  • ขอบคุณมากสำหรับวิทยเขตเมืองสองแคว แขงขันจริง ๆ
  • เป็นข้อมูลที่ดีมากครับ ดีจังที่เมืองสองแควทำโครงการเช่นนี้
  • อ้อ พิเศามากที่เขียนจิตรกรรมฝาผนังที่หอสวด ที่อีสานไม่มีครับ พิเศษมาก
  • ดูจากภาพค่อนออกไปทางจิตรกรรมฝาผนังในเชิงช่างหลวงทั้งจิตรกรรมฝาผนังและพระบฏ
  • และนี่เป็นภาพผ้าพระบฏที่เจอที่อีสานครับ มีลักษณะออกไปทางช่างหลวงมาก ลองเข้าไปชมนะครับ http://gotoknow.org/blog/thaiphon/113315

 

ดูแล้วยังมีของดีที่ต้องการบอกเล่าอยู่อีกเยอะเลยนะครับ

  • โห  บทความดีมากๆเลย  ข้อมูลอยู่ใกล้ๆตัวนี่เอง  วันหลังจะไปนั่งคุยขอความรู้  (  ไม่มีวาระซ่อนเร้นนะ  กินปูนร้อนท้อง อิอิ  )
  • พี่นิดมีข้อมูลตุ่มหรือโอ่งแดง  ที่อยู่เชิงสะพานเอกาทศรถฝั่งตะวันออก  ที่เคยเป็นท่าเรือเมล์เขียว  เมล์แดงเก่ารึเปล่าครับ  จะได้เขียนป้ายบันทึกติดไว้ให้คนรุ่นหลังรู้ประวัติความเป็นมาครับ  
  • Pน้องออตไปเยื่ยมชมผ้าพระบฏ ทางอีสานแล้ว ค่ะเป็นฝือมือช่างหลวง
  • ได้รับความรู้เชิงศิลปะกับน้องออตมากที่เดียว ลำพังบรรณารักษ์อย่างพี่มองไม่ลึกซึ้งหรอกจ้ะ ต้องอาศัยถามผู้รู้ จ้ะ
  • Pค่ะ อิอิ ต้องอาศัยมีเวลาลงพื้นที่ค่ะ กับพี่คนองอนุเคราะห์ ค่ะ
  • P ต้องได้คุยกับคุณหมอกันแน่ๆๆเลยค่ะ  เอ.. ว่าแค่คุณหมอจะว่างเมื่อไร อยากทำฐานข้อมูลเป็นจดหมายเหตุ ภาพเก่าเล่าอดีตจังหวัดพิษณุโลก ค่ะ จะลงภาพในอดีต พร้อมที่มาที่ไป ถ้าได้มีผู้รู้ ผู้ร่วมเจตนารมย์ ด้วยล่ะ ประโยชน์จะดีมากทีเดียวค่ะ
  • เรื่องท่าเรือเมลล์เขียว เมลล์แดง เคยได้อ่านพบข้อมูล แต่เจ้าตุ่มหรือโอ่งแดง มึนตรึบ เลย จะลองหาข้อมูลให้คุณหมอนะคะ แต่วันนี้จะลองไปดูเขิงสะพานเอกาฯ ก่อนนะคะ
    • แวะมาดูพี่สาว
    • เขียนอีกๆๆ
    • ชอบเขียนแบบนี้มีประโยชน์มาก
    • แต่ผมจำอาจารย์หนึ่งไม่ได้
    • หล่อเกินหน้าตา
    • อิอิอิๆๆ
    • Pหวัดดีจ้ะ
    • กำลังใจที่ดีมาแล้ว ขอบคุณน้องขจิตมากค่ะ
    • อ.หนึ่ง หล่อจริงอ่ะ จะ บอกให้นะคะ งานนี้มีปลื้ม อิอิ

    เหรียญหลวงพ่อแดงตอนนี้เล่นหาบูชากันแพงหรือป่าวคับ

    คุณไม่แสดงตน เดี๋ยวถามเซียนโหน่งให้นะคะ อิอิ

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท