กลุ่มฟ้าหยาด3 ศูนย์ อ.มหาชนะชัย จ.ยโสธร
วรเชษฐ์ กลุ่มฟ้าหยาด3 ศูนย์ อ.มหาชนะชัย จ.ยโสธร พรวนแก้ว

การปฎิบัติต่อประเพณี


การแห่บั้งไฟ
การปฏิบัติ          พิธีแห่บั้งไฟ
           ประเพณีในการแห่บั้งไฟเริ่มแรกมีการแห่รอบอุโบสถเพื่อแก้บน แด่พระศรีมหาธาตุคุ้มต่าง ๆ ซึ่งกำหนดไว้
3วันด้วยกันคือ วันสุกดิบ  วันประชุมรื่นเริง และวันจุดบั้งไฟในวันสุกดิบครั้งวันที่สองของงานพวกที่ทำบั้งไฟต่างคนต่างก็นำบั้งไฟไปถวายต่อองค์พระศรีมหาธาตุ
ุตามที่ตนได้บนบานเอาไว้แล้วก็นำบั้งไฟไป
   เพื่อตกแต่งตกแต่งให้สวยงาม   แล้วนำไปร่วมขบวนขบวนแห่ในวันรวม (วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 )
  เพื่อแห่เข้าไปถวายพระศรีมหาธาตุอีกรอบหนึ่ง
     ครั้นถึงวันที่สามของงานก็จะนำบั้งไฟไปเตรียมไว้ที่ฐานจุดบั้งไฟหลังจากนั้นผู้ที่จะนำบั้งไฟไปสมัครกับกรรมการที่ฐาน
จุดบั้งไฟแล้วจะทำการจุดบั้งไฟพระธาตุก่อนส่วนบั้งไฟที่ไม่เข้าแข่งขันก็จะนำไปจุดถวายเลยเมื่อบั้งไฟพระศรีมหาธาตุตกลงพื้นก็จะเป็นการจุดบั้งไฟของม้าคำไหล
(เป็นพาหนะของพระศรีมหาธาตุซึ่งพระศรีมหาธาตุจะขี่ม้าคำไหลเสด็จไปที่ต่าง ๆ ม้าคำไหลจะวิ่งในวันโฮม ( ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ) ถ้าม้าคำไหลวิ่งชนคนไหนคนนั้นก็จะมีกุศลอันใหญ่หลวงส่วนอาหารของม้าคำไหลคือเงิน ก็เปรียบเสมือนกับหญ้าซึ่งนำไปบำรุงวัด) ต่อไปก็จะเป็นการจุดบั้งไฟที่ชาวบ้านบนบานไว้กับพระศรีมหาธาตุ พอถึงค่ำก็จะเป็นการประกาศผลการแข่งขันบั้งไฟที่ชนะเลิศครั้นถึงวันที่สี่ของวันงานก็จะเป็นการมอบรางวัลแก่ขบวนแห่บั้งไฟหลังจากนั้นก็จะเป็นการจุดบั้งไฟที่แข่งขันตลอดวัน พอถึงตอนค่ำก็จะเป็นการมอบรางวัลบั้งไฟที่เข้าแข่งขันตามลำดับหลังจากนั้นก็เป็นการเสร็จพิธีบุญบั้งไฟ
         
  บุญบั้งไฟนิยมทำกันในราวปลายเดือนหกหรือประมาณเดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายนที่บ้านธาตุอำเภอเพ็ญจัดร่วมกับองค์การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยและองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านธาตุ ตัวบั้งไฟจะตกแต่งด้วยกระดาษสีตัดเป็นลวดลายงามระยิบระยับตาเรียกว่าการเอ้บั้งไฟ บางทีก็นางฟ้าบั้งไฟนั่งมาด้วย ตัวบั้งไฟนอกจากจะสวยแล้วรถที่ใช้แห่ก็จะต้องตกแต่งให้สวยงามด้วยจึงจะใจกรรมการ บั้งไฟที่ชนะเลิศต้องเอ้งามตัวรถตกแต่งด้วยรูปนางฟ้า เทวดา พระอินทร์ ดนตรีประกอบการฟ้อนรำมีหลายอย่าง กลองยาวฉิ่งฉับกั๊บแก๊บพิณเสียงจะผสมผสานเข้ากับจังหวะร่ายรำเป็นอย่างดีการฟ้อนรำบุญบั้งไฟนี้คล้ายคลึงกับ
การฟ้อนเล็บทางภาคเหนือแต่จังหวะจะเร็วกว่าการฟ้อนเล็บการฟ้อนรำจะขาดไม่ได้ในงานบุญบั้งไฟเพราะเป็นการ
รำบวงสรวงเทวดา
    เพื่อให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล      โดยเฉพาะจะต้องเอาใจเทพคนหนนึ่งคือ      พญาแถน”     มีเรื่องราวว่าหนึ่งหญิงงามมีชายสองคนแย่งยิงความรักกัน จนต้องใช้บั้งไฟตัดสินว่าควรจะเป็นของใคร ความม่วนชื่นสนุกสนานคือหัวใจของบุญบั้งไฟรถขบวนแห่จะจัดรีวิวประกอบที่เห็นในรถคือประเพณีการเข็นฝ้ายของ
สาวอีสานบุญบั้งไฟเป็นบุญในรอบ
12 เดือนของไทยอีสานหรือเรียกกันว่า ฮีตสิบสองที่ชาวอีสานถือปฏิบัติมาบางทีก็
็จะพูดว่า
       บุญเดือนหก       บั้งไฟที่พุ่งขึ้นสู่ท้องฟ้าเพื่อบูชาพญาแถนให้บันดาลฝนฟ้าตก        ชาวบ้านจะได้ทำไร่ทำนาตามฤดูกาล แต่ปัจจุบันนี้ได้กำหนดว่าบั้งไฟของใครที่ขึ้นสู่ท้องฟ้านานที่สุด         ก็จะเป็นผู้ชนะและได้รับรางวัลหรือถ้วยเกียรติยศ
ตามที่คณะกรรมการกำหนดไว้

            
คำสำคัญ (Tags): #การแห่บั้งไฟ
หมายเลขบันทึก: 138835เขียนเมื่อ 15 ตุลาคม 2007 17:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 21:02 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท