กลุ่มฟ้าหยาด3 ศูนย์ อ.มหาชนะชัย จ.ยโสธร
วรเชษฐ์ กลุ่มฟ้าหยาด3 ศูนย์ อ.มหาชนะชัย จ.ยโสธร พรวนแก้ว

ประเพณีบุญบั้งไฟ


การสืบทอดประเพณี
ประเพณีบุญบั้งไฟ ประวัติความเป็นมา          ตั้งแต่อดีตมนุษย์มักจะตั้งรกราก ปักหลักปักฐานอยู่บริเวณลุ่มน้ำ อันเป็นทำเลที่มีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติ ทั้งนี้เพื่อสืบสานชีวิต ให้อยู่รอดปลอดภัยให้นานที่สุดเท่าที่จะนานได้ ก่อนจะขยายเผ่าพันธุ์ออกไปตามที่ต่างๆ กลายเป็นสังคมใหญ่ออกไปตามสภาพสิ่งแวดล้อม ดังนั้น ผู้คนกับสายน้ำจึงผูกพันกันมานาน จนอาจถือได้ว่าอารยธรรมจากลุ่มน้ำคือต้นกำเนิดแห่งอารยธรรมต่างๆ ที่กระจายไปอยู่ทั่วทุกมุมโลกในปัจจุบันนี้   จังหวัดทางภาคอีสานส่วนใหญ่จะยึดมั่นในจารีตประเพณีตามที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษ ที่เรียกว่าฮีตสิบสองคลองสิบสี่ ประเพณีที่สำคัญอย่างหนึ่งที่ถือว่ามีความผูกพันกับชีวิตคือ ประเพณีงานบุญบั้งไฟ เพื่อขอเทพยดาให้บันดาลให้ฝนตกลงมาต้องตามฤดูกาล ให้เกิดความอุดมสมบูรณ์จะได้ปักดำและเก็บเกี่ยวตามกำหนด เนื่องจากอาชีพเกษตรกรต้องฝากชีวิตและความหวังไว้กับน้ำฝนจากฟ้า หากปีใดฝนตกลงมาต้องตามฤดูกาล เกษตรกรซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ก็จะไม่เดือดร้อน แต่ถ้าฝนฟ้าตกลงมาไม่ถูกต้องตามฤดูกาลก็จะเกิดความแห้งแล้งกระจายไปทั่วและความเดือดร้อนขาดแคลนก็จะตามมา
การจัดงานประเพณีบุญบั้งไฟแต่โบราณนั้นมักจะนิยมจัดกันในเดือนพฤษภาคม หรือในเดือน 6 จึงเรียกว่างานบุญเดือนหก ซึ่งในภาคอีสานหลายจังหวัดจะมีการจัดงานประเพณีบุญบั้งไฟ        ประเพณีบุญบั้งไฟถือมาตั้งแต่ศาสนาพราหมณ์ยุคต้นเป็นประเพณีสืบต่อกันมาแสดงให้เห็นว่ามีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ์ที่สำคัญตามตำนานได้กล่าวไว้ว่าพระยาแถนเป็นเจ้าของฝนเป็นเทวดาผู้หนึ่งที่ควบคุมให้ฝนตกถูกต้องตามฤดูกาล  หากทำการบูชาให้พระยาแถนพอใจ ท่านก็จะบันดาลให้ฝนตก จากเรื่องเล่ากล่าวไว้ว่า เมืองพระยาคันคาก ( คางคก )  เกิดความแห้งแล้ง      ทำการสู้รบกับพระยาแถนไม่ได้จึงตกลงทำสัญญากันว่า     จะทำบุญบั้งไฟถวายแถนทุกปี ถ้าไม่ทำหรือทำไม่ถูกใจก็จะทำให้ฝนไม่ตกถูกต้องตามฤดูกาล สัญญาที่พระยาคันคากให้ไว้แก่พระยาแถนคือ
 
ถึงเดือนห้าฟ้าใหม่ให้ทำบุญ และจัดทำอันใดให้เป็นการถวายพระยาแถนให้ทำพิธีการต่าง ๆ ถวายพระยาแถน บางตำนานเล่ากันว่า   การทำบุญบั้งไฟเพื่อขอฝน มีนิยายปรัมปราอยู่เรื่องหนึ่งเล่าสืบต่อกันมาว่ามีเมืองชื่อ คีตนครพระยาผู้ครองเมืองคือพระยาขอมมีธิดาโฉมงามมากนางหนึ่งชื่อนาง ไอ่คำ เมื่อถึงเวลาสมควรที่จะมีคู่ครอง พระยาขอมจึงให้ธิดาเลือกคู่โดยให้บรรดาเจ้าชายที่หมายปองทำบั้งไฟมาแข่งกันถ้าบั้งไฟของใครขึ้นสูงก็แสดงให้เห็นว่า คนนั้นมีวาสนาสูง     และจะได้นางไอ่คำเป็นรางวัล  การแข่งขันครั้งนี้ผลปรากฏว่า  ท้าวผาแดง เป็นผู้ชนะ การแข่งขันบั้งไฟ       ซึ่งในการแข่งขันครั้งนี้ได้มี ท้าวภังคีโอรสของพระยานาค  ได้แปลงกายเป็น
 2กระฮอกด่อน (กระฮอกด่อนหมายถึงกระรอกสีขาว)มาชมโฉมนางไอ่คำนางไอ่คำเห็นกระรอกด่อนอยากได้จึงให้บริวารไล่จับและ บริวารอีกคนหนึ่งได้ยิงกระรอกตายก่อนตายท้าวภังคีได้อธิษฐานว่าหากใครก็ตามได้กินเนื้อของข้าพเจ้าเข้าไปแล้วขอ ให้ถึงแก่ชีวิต บ้านเมืองล่มจม    ชาวเมืองได้กินเนื้อของกระรอกด่อนเกือบทุกคน จึงทำให้เกิดบ้านเมืองล่มจม กลายเป็นหนองน้ำ    มีชื่อเรียกว่าหนองหาน      มาตราบเท่าทุกวันนี้             ส่วนท้าวผาแดงพานางไอ่คำหนี แต่หนีไม่พ้น  เนื่องจากนางไอ่คำก็ได้กินเนื้อของกระรอกด่อนเข้าไปด้วย        จึงถูกแผ่นดินถล่มถึงแก่ชีวิตทั้งสอง ด้วยคุณงามความดีของท้าวผาแดงที่ประกอบไว้           เมื่อตายไปจึงได้เป็นเทพบุตรที่มีอำนาจคุ้มฟ้าบนสวรรค์ ดังนั้นก่อนถึงฤดูกาลทำนา  ชาวอีสานจึงบุญบั้งไฟเพื่อขอฝน  การจัดประเพณีบุญบั้งไฟ การทำบุญบั้งไฟของชาวบ้านเป็นการทำบุญชนิดหนึ่งซึ่งเป็นวิธีขอฝนและเป็นการทำบุญที่ประกอบด้วยความสนุกสนานรื่นเริงประจำปีมากกว่าที่จะทำการกุศลจริง ตั้งแต่เริ่มงานจนถึงเสร็จงานใช้เวลาประมาณ 3 วัน แต่ปัจจุบันได้มีการเปลี่ยนแปลงเป็น 4 หรือ 5 วัน เนื่องจากมีบั้งไฟเข้าทำการแข่งขันประมาณ 200 – 300 บั้ง ทางคณะกรรมการจึงได้เพิ่มวันจุดขึ้น            ในงานมีการละเล่นสนุกสนานร้องรำทำเพลงกันเป็นคุ้ม ๆ เป็นหมู่บ้าน งานประเพณีบุญบั้งไฟนี้มีประจำทุกปี โดยงานนี้จะจัดขึ้นทุกปีระหว่างเดือน  6 คือ ในวันขึ้น 14 – 15   ค่ำแรม  1 -2  ค่ำของเดือน  6 การถ่ายทอด วิธีการทำบั้งไฟ   ส่วนประกอบแยกออกเป็น 2 ส่วนดังต่อไปนี้ 1. ส่วนที่เป็นดินปืน ประกอบไปด้วย             - ถ่าน (ทำจากไม้สะคางคล้ายต้นเปลือย)                      - ดินประสิว              - น้ำ             -  ตัวบั้งไฟ         -  ท่อ พีวีซี หรือท่อเหล็ก         - ไม้ไผ่ (สำหรับทำหาง) 2. ขนาดของบั้งไฟในปัจจุบัน
       มี 3 ขนาดคือ
      1.  บั้งไฟขนาดเล็ก  บรรจุดินประสิวไม่เกิน 12 กิโลกรัม
   2.  บั้งไฟขนาดกลาง  เรียกว่า  บั้งไฟหมื่น  ใช้ดินประสิวตั้งแต่  12  กิโลกรัมขึ้นไป
      3.  บั้งไฟขนาดใหญ่  เรียกว่า  บั้งไฟแสน   บรรจุดินประสิว  120  กิโลกรัม

ขั้นตอนการทำบั้งไฟ
          
1.  การทำดินปืนโดยนำถ่านและดินประสิวมาผสมให้เข้ากันเติมน้ำลงไปเล็กน้อย
          
2.  นำดินปืนที่ได้อัดลงในท่อที่เป็นตัวบั้งไฟให้แน่พอสมควร บั้งไฟธรรมดาจะอัดดินปืนลงไป 34 ชัด
  ( 1 ชัด = 3 ขีด) ส่วนบั้งไฟหมื่นจะใช้ดินปืน 54 ชัดสำหรับบั้งไฟแสนและบั้งไฟล้าน
           
3.  จากนั้นนำหางบั้งไฟไปต้มน้ำจนเดือดเพื่อทำให้หางเบาไม่ถ่วงตัวบั้งไฟเวลาจุด
          
4.  นำตัวบั้งไฟและส่วนหางมาผูกติดกันจากนั้นตกแต่งให้สวยงามเป็นอันเสร็จขั้นตอนการทำ
   

นายสิทธิชัย  บุญเอก  รหัสประจำตัวนักศึกษา  4930123104843

หมายเลขบันทึก: 138832เขียนเมื่อ 15 ตุลาคม 2007 17:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 11:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท