รูปแบบ


รูปแบบของการศึกษาในยุคโลกาภิวัตน์

ผู้เขียนใฝ่ฝันถึงรูปแบบของการศึกษาในยุคโลกาภิวัตน์ ที่ได้นำระบบเทคโนโลยี  สารสนเทศ และการสื่อสาร  ทำให้สภาพการให้บริการการศึกษามีประสิทธิภาพสูงขึ้น  ลดข้อจำกัดต่าง ๆ ไปได้หลายอย่างเช่น

               1   ลดข้อจำกัดทางด้านระยะทาง  คือ  สามารถกระจายการจัดการศึกษาเข้าสู่พื้นที่ ต่าง ๆ ในระดับจังหวัด  และระดับอำเภอได้  โดยเปิดสอนแบบออนไลน์ให้ประชาชนได้ศึกษาเล่าเรียน  ผ่านอินเตอร์เน็ต  และใช้ระบบการเรียนการสอนทางไกลด้วยวีดีโอคอนเฟอร์เรน ส่งมายังห้องเรียนเครือข่าย  ซึ่งทำให้เหมือนห้องเรียนจริงตามจุดต่าง ๆ ในพื้นที่ต่างจังหวัด

               2   ลดข้อจำกัดในเรื่องเวลา  คือ สามารถใช้บริการแบบ 24x7 (บริการได้ตลอด  24 ชั่วโมง ทั้ง 7  วัน)  ทำให้นักเรียนนักศึกษาสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารและกิจกรรมต่างๆ  ได้ตลอดเวลา  การนำระบบห้องสมุดเสมือน (Visual Library) มาใช้  ซึ่งเป็นระบบที่ใช้ระบบอิเลคทรอนิคส์มาใช้ในห้องสมุดในการสืบค้น  หาข้อมูล  เพื่อเพิ่มความรวดเร็ว (E-Library)  และมีข้อมูลหาได้ตลอดเวลาผ่านระบบอินเตอร์เน็ต

              3   ลดข้อจำกัดในเรื่องบุคลากร  อาคารสถานที่  คือ  เมื่อใช้ระบบคอมพิวเตอร์ มาจัดการ  จะทำให้แก้ปัญหาด้านการขาดแคลนบุคลากร ไม่ต้องลงทุนด้านอาคารสถานที่ ที่มีต้นทุนในการก่อสร้างสูง  ทำให้การจัดการศึกษาสามารถรองรับจำนวนนักเรียน  นิสิตนักศึกษาได้เพิ่มมากขึ้น

             จากการลดข้อจำกัดต่าง ๆ โดยเทคโนโลยี  สารสนเทศ และการสื่อสาร  ทำให้การบริหารจัดการทางด้านการศึกษา ผ่านอุปสรรคต่าง ๆที่เป็นปัญหามาได้อย่างรวดเร็ว  โดยทำให้ต้นทุนด้านต่าง ๆ ต่ำลง  แต่มีมุมมอง ที่กลัวฝันจะไม่เป็นจริง  ซึ่งมีเรื่องที่น่าเป็นห่วงและน่าห่วงใยเป็นอย่างมากหลายอย่าง  สำหรับการนำระบบคอมพิวเตอร์เข้าสู่ระบบการศึกษา  คือ

            1   ทำให้การจัดการศึกษาที่เป็นเรื่องของการให้บริการประชาชนเป็นการสร้างคนให้เป็นคนดี  เป็นการให้ด้วยเจตนาบริสุทธิ์ที่จะพัฒนาคน  เป็นการทำที่ไม่หวังกำไรเป็นตัวเงิน  แต่หวังให้ได้คนดีมาช่วยพัฒนาชาติ  กลับกลายมาเป็นขณะนี้ เป็น การจัดการศึกษาเป็นธุรกิจการศึกษา”  โดยระดมสื่ออิเลคทรอนิคส์ประเภทต่าง ๆ ระบบอิเลคทรอนิคส์ประเภทต่าง ๆเข้ามาใช้จัดการการศึกษา  เพื่อให้ได้นักเรียน  นักศึกษามาก ๆ  เพื่อจะให้ได้เงินจากเด็กมาก ๆ เช่นกัน  โดยไม่คำนึงถึงคุณภาพของผลผลิตที่ออกมา  โดยเฉพาะในสถานศึกษาของภาคเอกชน  และของการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาของรัฐ บางแห่ง

              2   ความใกล้ชิดระหว่างครูกับศิษย์ในทุกระดับการศึกษาเสื่อมทรามลง  เพราะมีสื่ออิเลคทรอนิคส์เป็นตัวแทรกระหว่างครูกับศิษย์ ครูที่มีประสบการณ์ ครูที่มีวิญญาณของความรัก ของการมีคุณธรรม  ไม่สามารถแก้ไขสอดแทรกชี้นำเด็กได้  เพราะเด็กจะศรัทธา  และให้ความสำคัญกับเทคโนโลยี  ที่ให้ความรวดเร็ว  และเรียนใช้ได้ตลอดเวลา  ทำให้เด็กแข็งกระด้างมากขึ้น

             3   เด็กขาดด้านสังคมมิติ  เด็กขาดเพื่อน  เด็กเห็นแก่ตัวมากขึ้น  ไม่มีความเอื้อเฟื้อต่อกัน  เนื่องจากทุกอย่างเรียนคนเดียวก็ได้  หาข้อมูลคนเดียวก็ได้ ไม่ต้องปรึกษาใครก็ได้   จะทำให้อนาคตของเด็กที่เป็นเยาวชนของชาติที่ผ่านการเรียนการหาความรู้โดยที่ไม่ต้องพึ่งพากันจะไม่รักกัน จะไม่สามัคคีกัน  จะเป็นคนที่ขาดเหตุผลและเห็นแก่ตัวมากขึ้น

          4   ผู้ปกครองจะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเรียนของลูกเพิ่มขึ้น  ในด้านความต้องการของลูกในเรื่องค่าบริการการใช้สื่ออิเลคทรอนิคส์  การทำเอกสารรายงานต่าง ๆ ที่ต้องใช้ระบบอิเลคทรอนิคส์  ที่อาจารย์แนะนำ 

           5   ช่องว่างระหว่างลูกของคนรวยกับลูกของคนจน  จะห่างมากยิ่งขึ้น  ทั้งในด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของทั้ง 2 ฝ่าย  และโอกาสที่ลูกของคนจนจะได้ใช้สื่ออิเลคทรอนิคส์ ก็ต่างกับลูกของคนรวย

          6   ทักษะการเขียน  การฟัง  การพูด  การใช้ภาษาไทย  จะแย่ลง  เพราะไม่ได้พูด  ไม่ได้อ่าน  ไม่ได้เขียน  กระทำเพียงมือทำแล้ว  ก็อปปี้ออกมาอย่างเดียว

          7   เด็กเข้าเรียนในแต่ละสถานศึกษามีจำนวนมากเกินที่จะมีครูคอยดูแล  และสถานศึกษาบางแห่งที่เน้นการใช้ระบบอิเลคทรอนิคส์มาจัดการทุกขั้นตอน ทำให้เด็กมีปัญหามากขึ้น  และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของเด็กส่วนใหญ่ก็จะแย่ลงไปด้วย

8   เด็กใช้ เทคโนโลยี  สารสนเทศ และการสื่อสาร เกินความจำเป็น  เช่น การเล่นเกมส์  การเข้าสู่ข้อมูลการติดต่อสื่อสารที่เป็นพิษเป็นภัยกับตัวเองมากขึ้น   ส่งผลให้ระบบครอบครัว  สังคม  อยู่ในภาวะวิบัติ  เพราะเด็กส่วนใหญ่นี้ไม่มีภูมิคุ้มกัน  เรียนแย่ลง  มีปัญหาครอบครัวมากขึ้น  อยากลองอยากรู้โดยไม่มีข้อจำกัด

           ปัญหาที่ผู้เขียนถ่ายทอดไว้ในประเด็นต่าง    คงจะต้องให้ผู้ที่มีอำนาจทางการศึกษา  และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกท่าน  ไม่ว่าจะเป็นครู  ผู้ปกครอง  และชุมชน  คงจะต้องมาช่วยกันเพื่อแก้ปัญหาเหล่านี้ให้ลดน้อยลงต่อไป
หมายเลขบันทึก: 138442เขียนเมื่อ 14 ตุลาคม 2007 16:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 21:00 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สวัสดีครับ อาจารย์

  • ประเด็นที่อาจารย์ได้บันทึกไว้ ... น่าสนใจนะครับ
  • ขออนุญาตอ่านก่อน แล้วคิดทีหลังนะครับ

ขอบคุณครับ

ขอบคุณค่ะ  อาจารย์   P 

ที่แวะเข้ามาชม   P

Phra Kitidej (ศึกษาปริญญาโท การจัดการศึกษา)

น่าสนใจมาก แขนงวิชานี้ยังเป็นเรื่องใหม่ เพราะจบตรีด้านศิลปศาสตร์ภาษาฝรั่งเศสมา แต่มาต่อโท ด้านการจัดการศึกษา อย่างไรก็ตาม ต้องขอความกรุณารบกวนช่วยแนะนำด้วย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท