มหกรรมวิถีพลังไทย...(อีกครั้ง)สำหรับโอกาสในการเรียนรู้


แนวร่วมการทำงานที่เข้าใจและให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ และที่มากไปกว่านั้นก็คือ "โอกาส" ที่ชุมชนหยิบยื่นให้แก่กัน โดยไม่มุ่งหวังสิ่งตอบแทน

     ผู้วิจัยได้รับโทรศัพท์จากจ่าชัย (แห่งบ้านสามขา) เมื่อตอนเกือบเที่ยงของวันพฤหัสที่ผ่านมา  ขณะที่ผู้วิจัยกำลังจะเดินทางไปเยี่ยมบัณฑิตอาสาสมัครที่จังหวัดน่านว่า  พอช. จะจัดงานวิถีพลังไท (เป็นชื่อย่อค่ะ  ชื่อเต็มยาวมาก  จำไม่ได้แล้ว) ที่สวนอัมพร  ระหว่างวันที่ 13-17 พฤศจิกายน  2550  งานนี้จ่าชัยได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ประสานงานในประเด็นองค์กรการเงินค่ะ

     ประเด็นที่จ่าชัยโทรหาผู้วิจัย  คือ  ต้องการให้ผู้วิจัยประสานงาน (อีกต่อหนึ่ง) กับทางเครือข่ายออมบุญฯ เพื่อที่จะจัดส่งข้อมูลของเครือข่ายออมบุญฯในฐานะตำบลต้นแบบไปร่วมงานนี้  โดยสิ่งที่ทาง พอช. ต้องการ  คือ  องค์ความรู้ขององค์กรการเงินต้นแบบในประเด็นต่างๆ  ได้แก่  การบูรณาการกองทุน  วิสาหกิจชุมชน การแก้ไขปัญหาหนี้สิน การเชื่อมประสานกับหน่วยงาน การเปลี่ยนแปลงของสมาชิกและคณะกรรมการในเรื่องคุณธรรม  โดยข้อมูลและรูปภาพประกอบจะต้องส่งให้ พอช. ภายในวันที่ 17 ตุลาคม  2550

    ผู้ที่จะเป็นตัวแทนเข้าร่วมงานประกอบด้วย

    1.ผู้เฝ้าบูธ  จำนวนไม่เกิน 3 คน  (ต้องอยู่ทุกวันตั้งแต่ต้นจนจบ)

    2.ตัวแทนตำบลเข้าร่วมตำบลละ 2 คน  ไม่เกิน 5 ตำบล

    3.ผู้ประสานงาน 1 คน

    ก่อนจบการสนทนา  ผู้วิจัยรับปากกับจ่าชัยว่าจะเป็นผู้ติดต่อกับเครือข่ายออมบุญฯ ให้  และจะให้เครือข่ายออมบุญฯ ประสานกับทางจ่าชัยอีกทีหนึ่ง  พร้อมกันนี้ผู้วิจัยได้ถามจ่าชัยด้วยความสงสัยว่าเพราะเหตุใดจ่าชัยจึงไม่เลือกพื้นที่บ้านสามขาซึ่งจ่าชัยเป็นคนที่นั่นขึ้นไปนำเสนอเป็นต้นแบบ  คำตอบที่ผู้วิจัยได้รับจากจ่าชัยก็คือ ต้องการให้พื้นที่อื่นได้เข้ามาร่วมเรียนรู้ในเวทีต่างๆมากขึ้น  ทุกวันนี้บ้านสามขาก็พอจะมีชื่อเสียงอยู่แล้ว  ผู้นำของชุมชนมีโอกาสเข้าร่วมเรียนรู้ในประเด็นต่างๆอยู่พอสมควร  ดังนั้น  ในฐานะที่ได้รับมอบหมายจาก   พอช. จึงต้องการให้โอกาสพื้นที่อื่นบ้าง  ประกอบกับเห็นว่าเครือข่ายออมบุญฯน่าจะเป็นต้นแบบที่ดีได้ทั้งในแง่การบริหารจัดการ  การขยายผล  และการเชื่อมประสานกับหน่วยงาน  ในส่วนของบ้านสามขานั้นต้องยอมรับว่าภายในหมู่บ้านสามารถดำเนินการเรื่ององค์กรการเงินไปได้ดีในระดับหนึ่ง  แต่ก็ยังไม่ได้ขยายไปยังพื้นที่อื่นๆเหมือนกับเครือข่ายออมบุญฯ

    การจบการสนทนาในครั้งนี้ทำให้ผู้วิจัยรู้สึกมีกำลังใจขึ้นมาอีกครั้ง  เพราะอย่างน้อยก็มีแนวร่วมการทำงานที่เข้าใจและให้ความสำคัญกับการเรียนรู้  และที่มากไปกว่านั้นก็คือ "โอกาส" ที่ชุมชนหยิบยื่นให้แก่กัน  โดยไม่มุ่งหวังสิ่งตอบแทน

 

หมายเลขบันทึก: 138435เขียนเมื่อ 14 ตุลาคม 2007 15:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 01:56 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

"โอกาส" ที่ชุมชนหยิบยื่นให้แก่กัน โดยไม่มุ่งหวังสิ่งตอบแทน ขอบคุณนะคะ ที่ให้ข้อคิดนี้ค่ะ โดนใจค่ะ

สวัสดีครับ อาจารย์อ้อม คงได้ร่วมมือประสานกันเรื่องสวัสดิการนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท