Ruby on Rails หรือ Django


วันนี้เราพึ่งได้เปิดตัว LightLex ซึ่งเป็น dictionary ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยนำคลังศัพท์มาจาก Lexitron ครับ

สาเหตุที่เราทำ LightLex เนื่องจากเราได้คุยกับ NECTEC ไว้ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว ว่าเราจะนำความถนัดด้าน Human-Computer Interaction มาเสริมในงานวิจัยต่างๆ ของ NECTEC เพื่อให้มีประโยชน์ต่อสังคมในวงกว้างขึ้นครับ

LightLex ไม่ใช่แค่ dictionary นะครับ เราวางแผนทำสิ่งสนุกๆ ใน LightLex อีกเยอะครับ และจะได้ทำตามโอกาสอำนวยครับ ลำดับต่อไปที่เราจะทำคือ vocabulary visualization ซึ่งจะเป็นอย่างไรนั้น ขออุบไว้ก่อนครับ ที่จริงแล้วเรื่อง learning, cognition, visualization etc. ที่เกี่ยวกับ linguistics นี่เราสนใจมานานแล้วครับ คราวนี้ได้ทำก็สนุกดีครับ

เราเลือกที่จะใช้ภาษา Python และ Django Framework ในการพัฒนา LightLex ครับ

หลายท่านที่ติดตามการทำงานของเราคงสงสัย เพราะดูเหมือนเราใช้ Ruby มาตลอดในช่วงที่ผ่านมา

ที่จริงไม่ใช่ครับ ภาษา "ทางการ" ของเราที่ใช้อยู่ได้แก่ Ruby และ Python ครับ โดยเราเลือกใช้ตามความเหมาะสมของงานครับ

ในช่วงเดือนสองเดือนนี้ เรามีงานที่เราเห็นว่าควรใช้ Django เราเลยเอา Django มาทำ LightLex เสียก่อน เป็นการซ้อมมือครับ

จากประสบการณ์ในการใช้งาน เราพบว่า Django เหมาะกับการทำ websites ส่วน Ruby on Rails เหมาะกับการทำ web applications ครับ

Rails มี features and functions ที่จะช่วยในการพัฒนา applications ได้อย่างรวดเร็วครับ อีกทั้ง Ruby ก็มีความ flexible ในการเขียนที่ดีด้วย แต่ Rails ติดข้อจำกัดอยู่บ้างในด้านความเร็วและ configuration ที่ซับซ้อนขึ้นเรื่อยๆ (เพื่อแก้ปัญหาความเร็ว) ช่วงหลังๆ นี้ Rails เริ่ม "อ้วน" ครับ แต่ความอ้วนที่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับศักยภาพในการพัฒนาได้อย่างเร็วนั้น ก็เป็นสิ่งที่น่าสนใจอยู่ครับ

ยิ่งตอนช่วงหลังนี้ Sun เข้ามาสนับสนุน JRuby เต็มตัวขนาดนี้ แถมประกาศจะให้ Rails ที่ทำงานบน JRuby เร็วกว่า CRuby อีกด้วย เรียกได้ว่า Rails กลายเป็น enterprise web framework ไปเต็มตัวแล้วครับ

ส่วน Django โครงสร้างระบบ สะอาด สวย และ สร้าง "admin site" ให้อัตโนมัติเมื่อเราทำ models เสร็จ นอกจากนั้นเรายังสามารถสร้าง "multiple applications" อยู่ใน Django project เดียวได้ โดยแต่ละ "application" นั้นแยกจากกันได้ขาดสวยงามมาก นับว่าเป็น Framework ที่ออกแบบได้ practical ดีมากทีเดียวครับ

แต่จะเลือกใช้ตัวไหนสำหรับงานไหนนั้น ก็ต้องจำเพาะเข้าไปที่งานนั้นๆ อีกครับ จะฟันธงทีเดียวเลยไม่ได้ครับ

ตอนนี้เราเลือก Django สำหรับ LightLex และสำหรับงานชิ้นต่อไปของเรา ส่วน Rails นั้นเราก็ใช้สำหรับ enterprise applications ที่เราพัฒนาครับ

คำสำคัญ (Tags): #ruby#ruby on rails#rails#python#django
หมายเลขบันทึก: 138414เขียนเมื่อ 14 ตุลาคม 2007 14:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 21:35 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (15)

ลองใช้แล้วดีมากเลยครับเป็นเครื่องทุ่นแรงดีครับ  ขอบคุณท่านอาจารย์ศิลปินไฮเท็ค

ไม่แล Turbogears บ้างหรือครับ? :-P
http://bact.blogspot.com/2007/10/yaitronlexitron-ancient-word.html มีพรรคพวกพยายามจะ clean ข้อมูลใน Lexitron 2.1 อยู่บ้าง ใช้ชื่อว่า Yaitron. ไม่รู้ว่า Lexitron 2.2 ทำความสะอาดไปแล้วหรือเปล่าครับ? (ไม่รู้ว่า license เดิมหรือเปล่า?)

พึ่งทราบว่ามีคนทำเกี่ยวกับ dictionary กันไปหลายอย่างเลยครับ

ข้อมูล Lexitron ที่ผม download มาใช้ก็ยังจุดที่น่าแก้ไขอยู่พอประมาณทีเดียวครับ รู้สึกว่าข้อมูลที่ได้จะไม่ update เท่ากับที่อยู่ใน Lexitron ปัจจุบันครับ สังเกตว่าศัพท์หลายคำที่ Lexitron มีเราไม่มีครับ

คิดว่าทดลองใช้อีกสักพักผมคงติดต่อทาง NECTEC ขอข้อมูลที่ update ล่าสุดครับ

P ไม่รู้ว่า Nectec เขายังจะแจกบุคคลทั่วไปเป็น ​ BSDL อยู่หรือเปล่าครับ?
 
นอกจากปัญหาเรื่อง "โบราณ" เรา (จริงๆแล้วคือ bact') ก็ยังเจอปัญหาว่า entry นึงมีหลายมี part-of-speech  ได้หรือเปล่า. แต่เป็น part-of-speech ที่คล้ายๆกันเช่น vt และ vi. ถ้าไปเทียบดูกับ m-w dictionary บางทีเราพบว่าเป็น entry เดียวเพราะเขาไม่ได้แยก vi และ vt แต่รวมเป็น v ตัวเดียวเลย ทำนองนี้หนะครับ.
 
ถ้าอาจารย์และคณะสนใจเรื่องพวกนี้พอดีเผื่อจะได้ลปรร.กันบ้าง.

ที่จริงแล้วทางเราสนใจทำ information visualization ของ data มากกว่าครับ ไม่ค่อยได้สนใจในมุมเรื่อง linguistics เท่าไหร่ครับ

เรียกว่าให้ data มาเถอะ เดี๋ยวเราทำ visualization ให้ แต่ในรายละเอียดของ data นั้น เราใช้ในฐานะผู้ใช้อย่างเดียวครับ 

P  ในกรณีนี้ หากอาจารย์จะกรุณาเขียนเล่าให้ฟังว่าอยากได้ dictionary ใน format แบบไหน ถึงจะนำไปใช้ได้ง่าย ก็น่าจะมีประโยชน์มากแล้วครับ :-). 
 
Yaitron เน้น จัดรูปแบบ และ ทำความสะอาด แต่ไม่ทำ UI ครับ (จริงๆผมก็แอบทำเหมือนกัน แต่ว่าจุดประสงค์หลักๆคือเอาไว้แก้ไขข้อมูล).
ขอบคุณมากครับ อย่างนี้ก็สนุกเลยครับ เพราะเสริมกันพอดีครับ

I would like to say thank you for all of dictionary developer.

This dict can help me a lot, everyday I use for translate.

 

น่าสนใจมากครับ แวะไปลองใช้มาแล้ว 

Website VS Web application ต่างกันยังไครับอาจารย์

อธิบายโดยสรุปแล้ว web site คือเว็บที่มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ข้อมูลแก่ผู้ใช้ครับ ส่วน web application คือโปรแกรมที่มีส่วนติดต่อกับผู้ใช้ผ่านเว็บที่ผู้ใช้ใช้งานเพื่อทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งให้สำเร็จลุล่วงไปครับ

portal site, news site, e-commerce site (บาง sites) เป็น web site ครับ ส่วน web mail, หรือบริการผ่านเว็บอื่นๆ อาทิเช่น del.icio.us, Google Maps อย่างนี้เป็น web application ครับ

ผมคิดว่า  ดูจากสิ่งที่อาจารย์สนใจและทำอยู่นี่   ความหวังของเราที่จะเห็น "คอมพิวเตอร์มีความรู้สึกตัว" นี่  น่าจะอยู่ที่เมืองไทยแล้งละครับ?!  ขอให้ความคาดหวังเป็นจริงเถอะ  ---  ผมจะติดตามครับ
อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท