ทำแบบซ้ำซ้ำ = การพัฒนา


มันไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่จะขยายผลให้เข้าใจตรงกันได้ ในเชิงนโยบายระดับชาติก็ไม่มีความชัดเจนในการปฏิบัติการ แล้วจะเอาอะไรกับแกนนำชาวบ้านที่ไม่มีกำลังมากพอจะไปทำงานเพื่อเปลี่ยนความเป็นอยู่ของชุมชนให้ดีขึ้น (...ทำเท่าที่ได้ก็แล้วกัน....)

     

บางครั้งภายใต้จิตสำนึก ที่เต็มไปด้วยความคิด ความเชื่อเดิมๆว่า การเรียนรู้มักซึมซับเข้าไปในชีวิตประจำวันได้นั้น จะต้องเป็นประเด็นหรือเรื่องราวที่โดนใจมีผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของกลุ่มคนชุมชน และเกิดแรงใจในการสามารถแก้ไขปัญหาได้จริงๆ ด้วยมือของตัวเองเป็นหลัก ควบคู่ไปกับลูกมือใจดีจากหน่วยงานหรือองค์กรที่เกี่ยวข้อง  (ซึ่งก็น่าจะเป็นเช่นนั้นไม่เห็นจะแปลกอะไร)  …..แต่มันก็ไม่ได้เป็นไปเช่นนั้นเสมอไป....

  <p style="text-justify: inter-cluster; margin: 0pt; text-indent: 36pt; text-align: justify" class="MsoNormal" align="justify">ผมเกิดคำถามนี้ขึ้นมาหลังจากได้เข้ามาเรียนรู้กับทางแกนนำ และสมาชิกกลุ่มเกษตรปลอดภัยจากสารพิษ ต.ไผ่รอบ อ.โพธิ์ประทับช้าง จ.พิจิตร  ที่รวมกลุ่มกันทำโครงการส่งเสริมชาวนาต้นแบบปลูกข้าวปลอดภัยจากสารพิษ นำโดย อ.ไพฑูรย์ เสรีพงษ์ ประธานกลุ่ม ซึ่งเป็นอดีตราชการกระทรวงเกษตรฯ  หลังเกษียณอายุราชการจึงหันมาทำเกษตรปลอดสารพิษ เริ่มต้นที่ตัวเองและขยายผลรวมกลุ่มกันทำ         อ.ไพฑูรย์ และสมาชิกกลุ่มทำให้ผมเรียนรู้ว่าการพัฒนาชุมชนนั้นไม่ง่ายเลย ไม่ว่ารูปแบบกรอบแนวคิดจะชัดเจนเพียงไร งบประมาณ ทรัพยากรจะมีมากน้อยเพียงใด ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายนักที่จะเข้าไปแฝงฝังภายในจิตใจคนในชุมชนได้      </p><p style="text-justify: inter-cluster; margin: 0pt; text-indent: 36pt; text-align: justify" class="MsoNormal" align="justify"></p><p style="text-justify: inter-cluster; margin: 0pt; text-indent: 36pt; text-align: justify" class="MsoNormal" align="justify"></p><p style="text-justify: inter-cluster; margin: 0pt; text-indent: 36pt; text-align: justify" class="MsoNormal" align="justify">อย่างเช่นทางกลุ่มได้ดำเนินการมา  ผลทำให้สมาชิกจำนวน 16 ครัวเรือน  ได้แบ่งพื้นที่ทดลองทำนาปลอดสารพิษคนละ 5 ไร่  โดยใช้พันธุ์หอมมะลิ 105  ผลผลิตที่ได้โดยเฉลี่ยประมาณ 50 ถังต่อไร่  หักลบค่าใช้จ่ายเปรียบเทียบการทำนาแบบที่ใช้เคมีและชีวภาพ ซึ่งชีวภาพสามารถประหยัดต้นทุนกว่า 400 บาท  </p>  <p style="text-justify: inter-cluster; margin: 0pt; text-indent: 36pt; text-align: justify" class="MsoNormal" align="justify">กว่าจะเห็นความสำเร็จได้ ก็เล่นเอาประธานกลุ่มอย่าง อ.ไพฑูรย์ เครียดไปเหมือนกัน เพราะด้วยการสื่อสารที่เข้มข้นต้องการเห็นผลสำเร็จ แต่สมาชิกชาวนาด้วยกันเองยังขาดการเรียนรู้ เพราะถูกปลูกฝังวิถีเกษตรเพื่อแข่งขันมาครึ่งทศวรรษแล้ว  มันไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่จะขยายผลให้เข้าใจตรงกันได้  ในเชิงนโยบายระดับชาติก็ไม่มีความชัดเจนในการปฏิบัติการ แล้วจะเอาอะไรกับแกนนำชาวบ้านที่ไม่มีกำลังมากพอจะไปทำงานเพื่อเปลี่ยนความเป็นอยู่ของชุมชนให้ดีขึ้น (...ทำเท่าที่ได้ก็แล้วกัน....) </p>  <p style="text-justify: inter-cluster; margin: 0pt; text-indent: 36pt; text-align: justify" class="MsoNormal" align="justify">ปัญหาที่ทำให้เป้าหมายของกิจกรรมไม่สำเร็จนั้น  อ.ไพฑูรย์ เล่าว่าเป็นเพราะ ...การที่ชาวนายากจน เป็นหนี้ ประสพปัญหาน้ำท่วมแปลงนา ทำให้กิจกรรมที่คาดว่าจะนำข้าวปลอดสารที่ผลิตคนละ 5 ไร่ มาขายรวมกันทำไม่ได้ ซึ่งทางกลุ่มเองก็ไม่มีเงินทุนหมุนเวียนรับซื้อข้าวจากสมาชิกได้ คาดว่าในอนาคตจะทำโครงการนำเสนอแหล่งทุนเพื่อขยายผลต่อ.... </p>  <p style="text-justify: inter-cluster; margin: 0pt; text-indent: 36pt; text-align: justify" class="MsoNormal" align="justify">....ความรู้ในตัวของแต่ละคนมีอยู่มาก แต่ยังไม่ได้คั้น กลั่นกรองออกมา จะต้องอาศัยนักวิชาการมาช่วยตรงนี้ เพราะชาวบ้านไม่ถนัดขีดเขียน แม้แต่พูด เล่าให้ฟังยังยาก เพราะเป็นธรรมชาติที่ชาวนาไม่คุ้นชินกับเรื่องราว เล่าความคิดที่เป็นระบบ ใครถามอย่างไรก็คิดตอบอย่างนั้นตามความรู้สึก ไม่ได้บันทึกจดจำ โดยเฉพาะตัวเลขเลิกพูดกันไปเลย….</p><p></p><p>แนวทางต่อไปของกลุ่มจะขยายผลจากกิจกรรมที่ทำอยู่เดิม </p><p>โดยเพิ่มฐานการผลิต จากคนละ 5 ไร่ เป็นคนละ 5-10 ไร่  และรับซื้อข้าวเปลือกจากสมาชิก เกวียนละ 7,000 บาท(ข้าวแห้ง) โดยที่สมาชิกแต่ละคนจัดการตากเอง ขนเอง มาขายให้กับทางกลุ่ม</p><p> - แปรรูป สีเป็นข้าวกล้องขายทั้งในและนอกชุมชน </p><p>ทดลองพัฒนาทำพันธุ์ข้าวปลูก พันธุ์หอมมะลิ105 และ พันธุ์ขาวกอเดียว เริ่มปฏิบัติการเรียนรู้ร่วมกันที่บ้าน อบต.สมบัติ แสงโสด  วันที่ 10 ตุลาคม 2550 เวลา 09.00 น.(ดำเนินการไปแล้วดังภาพข้างล่าง)    </p><p>- สัญจรประชุมตามแปลงนาของสมาชิกแต่ละคน เพื่อให้กำลังใจ และร่วมกันหาทางออกที่แต่ละคนเจอจากการทดลองทำข้าวปลอดสารพิษ </p><p></p><p> </p><p>ต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อ : </p><p>อ.ไพฑูรย์ เสรีพงษ์ ประธานกลุ่มเกษตรปลอดภัยจากสารพิษ ต.ไผ่รอบ อ.โพธิ์ประทับช้าง จ.พิจิตร  โทร.081-8908184</p><p>นางสมบัติ แสงโสด รองประธานฯ โทร.087-8403893  </p><p style="text-justify: inter-cluster; margin: 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal" align="justify"></p>

หมายเลขบันทึก: 137853เขียนเมื่อ 12 ตุลาคม 2007 17:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 20:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท