เมื่อฝันของผมตอนเด็กๆเป็นจริงขึ้นมา....คนทำพันธุ์ (๒)


ห่างหายจากการเล่าเรื่อง คนทำพันธุ์ (๑) ไปซะนาน ซึ่งเป็นการเล่าถึงลักษณะของงานปรับปรุงพันธุ์พืช ทำอย่างไรจึงจะได้เมล็ด รวมถึงข้อดีของพันธุ์ลูกผสม

บางท่านอ่านบันทึกแล้วเห็นคำว่า คนทำพันธุ์ ก็จินตนาการไปกว้างไกล แต่จะไกลถึงไหน คงต้องไปสอบถามเจ้าตัวกันเองครับ ฮ่าๆๆ

จริงๆแล้วคำนี้มีที่มาที่ไปครับ ตอนนั้นเราคิดจะทำเสื้อทีมของฝ่ายปรับปรุงพันธุ์กันเพื่อสวมใส่ไปร่วมงานปีใหม่ของบริษัทฯซึ่งจัดขึ้นที่ต่างจังหวัด

คอนเซ็ปของงานในปีนั้น ผมจำได้เพียงว่า เน้นให้ทุกคนพร้อมพรึบด้วยสีเหลือง เราจึงช่วยกันคิดและออกแบบเสื้อนี้ขึ้นมา ซึ่งทุกคนเห็นพ้องต้องกันว่า คนทำพันธุ์ เป็นคำที่น่าจะปักไว้ด้านหลังเสื้อแทนคำว่าฝ่ายปรับปรุงพันธุ์ นอกจากจะดูไม่เป็นทางการแล้ว ยังสามารถสื่อถึงงานที่พวกเราทำได้เป็นอย่างดี แถมช่วยเสริมสร้างจินตนาการและรอยยิ้มให้แก่ผู้พบเห็นอีกด้วย

พอถึงวันงาน สิ่งที่พวกเราจินตนาการกันไว้นั้นก็เป็นจริงครับ ทุกคนถูกอกถูกใจกันยกใหญ่กับคำว่า  คนทำพันธุ์ พี่บางคนถึงขั้นขอแลกเสื้อเลยครับ

บางครั้งการใช้สัญลักษณ์เพื่อประโยชน์บางอย่างก็มีความจำเป็นครับ อย่างเรื่อง เสื้อคนทำพันธุ์นี้ ผมยังจำได้ดีว่า กว่าที่จะได้เสื้อตัวนี้มา น้องๆเขาถกแถลงกันพอสมควรครับ ผมอดทนรอปล่อยให้เขาถกกันให้หนำใจ จนกว่าจะพอใจกันทุกฝ่าย เพราะเป้าหมายของผม ไม่ใช่ได้เสื้อที่สวยงามและมีคำสวยๆติดอยู่บนเสื้อ แต่สิ่งที่ผมต้องการคือ ใจที่รักงาน ผมหวังว่าเมื่อพวกเขาสวมใส่เสื้อแล้ว เขาจะระลึกได้ และรู้สึกรัก+ภูมิใจในงานที่เขาทำ สิ่งนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่พยายามเชื่อมโยงสัญลักษณ์เล็กๆน้อยๆจากภายนอกเข้าไปสู่จิตวิญญาณของคนทำงาน เพราะผมเชื่อว่าหากเราเริ่มต้นทำงานด้วยใจที่รักงานที่ทำ งานนั้นถึงแม้จะมีปัญหาหรืออุปสรรคบ้าง แต่ย่อมได้รับผลสำเร็จดีกว่าการทำงานแบบไร้หัวใจแน่นอน สุดท้ายใครได้ล่ะครับ ก็ Win-Win กันทุกฝ่าย...งานได้ผล คนทำงานก็เป็นสุข...นี่คือภาพองค์กรในอุดมคติของผมและอีกหลายๆคนใช่ไหมครับ?

เล่ามาตั้งนานเกือบลืมเล่าจุดสำคัญของ คนทำพันธุ์ (๒) ก็สืบเนื่องมาจากชื่อบันทึกเมื่อฝันของผมตอนเด็กๆ เป็นจริงขึ้นมา....คนทำพันธุ์ (๑) นั่นแหละครับ

ตอนเด็กๆ จำได้ว่าข้างๆบ้านมีผักสวนครัวหลายชนิด มีทั้งขึ้นเองและตั้งใจปลูก ที่จำได้ก็มีฟักทอง บวบเหลี่ยม กระเจี๊ยบเขียว และมะเขือเทศครับ มีอยู่วันหนึ่งผมเห็นกิจกรรมของสโมสรผึ้งน้อยบินไป-มา เพื่อเก็บเกสรจากดอกฟักทอง ดอกโน้นที ดอกนี้ที แล้วก็แวะพักเหนื่อยดูดน้ำหวานจากดอกตัวเมีย ก็เลยเกิดคำถามขึ้นในใจว่า...ถ้าเรานำดอกฟักทองของต้นนี้ไปผสมกับต้นโน้นเหมือนอย่างที่พวกผึ้งเขาทำบ้างผลลัพธ์จะเป็นยังไงน้า ก็เลยลองเล่นๆไปตามประสาเด็กๆ จะเป็นความบังเอิญ หรืออะไรก็ไม่ทราบได้ ทำให้มีโอกาสสัมผัสกับงานปรับปรุงพันธุ์พืชในที่สุด

 

หมายเลขบันทึก: 137621เขียนเมื่อ 11 ตุลาคม 2007 22:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 20:57 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)
  • บางท่านอ่านบันทึกแล้วเห็นคำว่า คนทำพันธุ์ ก็จินตนาการไปกว้างไกล แต่จะไกลถึงไหน คงต้องไปสอบถามเจ้าตัวกันเอง
  • ใครหว่า ????? อิอิอิ...
  • เอ...คืนนี้มีแต่หนุ่มช่างฝัน....
  • ยินดีด้วยค่ะ  ที่ฝันนั้นเป็นจริง
  • พี่เองก็เคยฝันว่า...จะทำงานเกี่ยวกับเรื่องเงินๆทองๆ  ครั้งนึงก็เคยทำงานการเงินตามความฝันเหมือนกันจ้ะ

สวัสดีครับอ.ลูกหว้า P

ฮ่าๆๆ เจ้าตัวมาเอง

ผมก็ยินดีกับพี่ด้วยเช่นกันครับที่เคยตามล่าหาฝันจนพบ

ตอนนี้เปลี่ยนเป็นครูลูกหว้า ผมดีใจแทนลูกศิษย์ของพี่ครับ

สวัสดีครับคุณกบ

             เรื่องการเชื่อมโยงนี่เด่นมาก ๆ ครับ เป็นไปได้แบบแนบเนียนจริง ๆ เพื่อให้ผู้คนได้ซึมซับเอาเป็นการตั้งใจทำงาน  ถกกันไปไม่รู้ตัวว่าเรากำลังหลงรักงานของเราแบบเงียบ ๆ  แล้วมีใครคนหนึ่งแอบยิ้ม ๆ

             เคยมีหลาย ๆ คนถามใคร ๆ แรง ๆ ว่า หาคนทำพันธุ์ได้รึยัง  

              นี่ไงเหล่าบรรดาคนทำพันธุ์เขาอยู่ที่นี่เองครับ

              ขอบคุณครับ   เหมาะมาก  "คนทำพันธุ์"

สวัสดีครับคุณสุมิตรชัยP

หลังจากความฝันของผมเป็นจริงแล้ว และผมก็เห็นประโยชน์ของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพราะเคยรู้ซึ้งถึงความยากลำบากกว่าจะเข้าใจการถ่ายทอดทางพันธุกรรมที่ไม่มีอธิบายไว้ในตำรา และการเข้าถึงจิตวิญญาณของนักปรับปรุงพันธุ์ (Breeder eyes & Breeder mind) ผมจึงหันมาสนใจเรื่องราวเกี่ยวกับ LO, KM และ HRD เพราะเห็นบ่อยๆว่า...ทุกครั้งที่คนทำพันธุ์ออกไปจากองค์กร ความรู้ที่ฝังลึกก็จะออกไปกับเขาด้วย

ผมคิดว่า...คนทำพันธุ์สำคัญต่อองค์กรก็จริง แต่การสร้างคนทำพันธุ์นั้นสำคัญกว่า จึงเริ่มหาวิธีขุดคุ้ยความรู้ฝังลึกที่แต่ละคนเห็นออกมากองไว้ให้องค์กรเพื่อประกันความเสี่ยง และเน้นการทำงานด้วยการสอน Learn how to learn (ขอยืมคำนี้ของท่านคนไร้กรอบ)

ขอบคุณครับที่แวะมาแลกเปลี่ยนอย่างเป็นกันเองทุกครา

มาเยี่ยม  คุณข้ามสีทันดร

งานได้ผลคนทำงานก็สุขใจจริง ๆ

มาชมความงามใต้ท้องทะเลลึกด้วยครับผม

สวยงามน่าชม...

สวัสดีค่ะ

รออ่านตอนต่อจากภาคหนึ่งนานนะคะ

คนทำพันธุ์ ในความหมายนี้ เป็นเหมือน สถาปนิกออกแบบบ้านค่ะ

และตามที่ได้ใกล้ชิดกับคนทำพันธุ์บางคนมา ไม่ใช่เรื่องง่าย มีขั้นตอนหลายขั้นตอน มีปัจจัยหลายอย่างมาร่วมด้วย ซึ่งอาจให้พันธุ์ที่ได้ใหม่เบี่ยงเบนไป

คุณสาธิต ลองเขียนต่อซีคะ น่าสนใจนะ รู้สึกเรื่องนี้ ไม่ค่อยมีคนทราบค่ะ 

สวัสดีครับ ดร.อุทัย P ที่เคารพ

ขอบพระคุณครับที่กรุณาแวะมาเยี่ยม

ครับ...ผมไม่ชอบอยู่ในสภาพที่อึมครึม เลยคิดเอาเองว่าคนอื่นก็คงไม่ชอบสภาพเช่นนี้เช่นกัน

สวัสดีครับพี่ศศินันท์P

"ตามที่ได้ใกล้ชิดกับคนทำพันธุ์บางคนมา ไม่ใช่เรื่องง่าย มีขั้นตอนหลายขั้นตอน มีปัจจัยหลายอย่างมาร่วมด้วย ซึ่งอาจให้พันธุ์ที่ได้ใหม่เบี่ยงเบนไป"

ครับ...มีปัจจัยที่ทำให้พันธุ์ที่ได้เบี่ยงเบนไป แต่ถ้าสรุปสาเหตุหลักๆ อาจเกิดจาก

*การปลอมปนจากละลองเกสรภายนอกหรือจากสายพันธุ์นั้นๆเองระหว่างกระบวนการผลิตเมล็ดพันธุ์ หรือ

*การปลอมปนของเมล็ดพันธุ์ที่มีพันธุ์กรรมต่างกัน ซึ่งเป็นความผิดพลาดจากการทำงาน หรือ

*เกิดจากการถดถอยทางพันธุกรรม (Inbreeding depression)

โดยสรุปแล้ว ผมเชื่อว่าหากมีมาตรฐานในการประกันคุณภาพและควบคุมคุณภาพที่ดีแล้ว ปัญหาดังกล่าวก็จะไม่เกิดขึ้น

ขอบคุณครับสำหรับประเด็นที่ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้

  • สวัสดีค่ะ
  • แวะตามมาขอบคุณค่ะ
  • แสดงว่ามีแวว เป็นนักเกษตรกรรมตั้งแต่เด็ก ๆ จริง ๆ
  • เพราะคิดค้นได้ตั้งแต่เด็ก ๆ เก่งจัง

ยังจำวันที่ออกความเห็นเรื่องเสื้อได้ครับ ตอนนี้เสื้อก็ยังอยู่ คิดถึงพี่ๆ เพื่อนๆทุกคนจัง"คนทำพันธุ์" ^-^

คุณอ้อยควั้นP และน้องชายป้อมแมวเหมียว P

  • ต้องขอโทษด้วยครับที่ตอบช้ามากๆ
  • นี่ไงครับ...ด้านหลังของเสื้อ คนทำพันธุ์

%e0%b8%84%e0%b8%99%e0%b8%97%e0%b8%b3%e0%b8%9e%e0%b8%b1%e0%b8%99%e0%b8%98%e0%b8%b8%e0%b9%8c

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท