คำนี้มีที่มา "โอม"


อะ อุ มะ

โอม           

        โอมเป็นคำที่กล่าวเพื่อชุมนุมสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เทพยดาอารักษ์ ให้คอยปกปักรักษา ทั้งในศาสนาพุทธ และศาสนาฮินดู ถ้าเอ่ยคำนี้ขึ้นมาเมื่อใดก็จะเกิดสิริมงคลแก่ตนเอง    

         คำว่า โอมเป็นคำสันสกฤต มาจากคำ 3 คำ คือ ”  “อุ”  “”  ออกเสียงว่า อะ อุ มะ สนธิกันก็เลยออกมาเป็นคำว่า โอม”  (อะ สนธิ อุ เป็น โอ แล้ว โอ ไปสมาสกับ มะ เป็น โอม)ในศาสนาฮินดู เชื่อว่าเป็นชื่อย่อของตรีมูรติ คือพระศิวะ พระวิษณุ และพระพรหมหมายถึงพระศิวะ อุหมายถึงพระวิษณุ และ หมายถึงพระพรหม (คงมาจากตัวอักษรหรือสระที่อยู่ท้ายของแต่ละคำ... อะก็พระศิวะ “อุก็วิษณุ และ ก็พระพรห) ในศาสนาพุทธได้เลียนมาเป็นพระรัตนตรัยได้อย่างลงตัวและมีความหมาย นั่นคือหมายถึง อะระหัง หรือ พระพุทธเจ้า  “อุหมายถึง อุตตมะธัมมัง หรือพระธรรม และ หมายถึง มหาสังฆะ หรือ พระสงฆ์ 

                   * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * 

คำสำคัญ (Tags): #คำ
หมายเลขบันทึก: 137219เขียนเมื่อ 10 ตุลาคม 2007 22:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มิถุนายน 2012 14:34 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สวัสดีครับคุณครูสุนันท์

                 คำว่า โอม จะเป็นคำที่ทันสมัยแห่งยุคเลยนะครับ เพราะมีการสร้างวัตถุมงคลกันมาก...หากมองเรื่องความเชื่อ ก็เฉพาะตัว  วัตถุมงคลที่ผลิตกันนั้น ต้นทุนไม่กี่บาท แต่เวลาปล่อยให้บูชา ปั่นราคาน่าดู ครั้นบูชาไว้แล้วต้องการปล่อย ราคาที่เคยบูชา กลับขาดทุน บางทีหาว่าปลอมอีก..

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท