สำนวนเหนือ


สำนวนเหนือ

วันนี้กลุ่ม  5  ศูนย์รวมน้ำใจเอาสำนวนเหนือมาฝากทุกท่านอีก 1 สำนวน จะได้เรียนรู้ภาษาถิ่นเหนือด้วย

    วันนี้เสนอคำว่า

ตัดก้อม เฉือนเบียง

                    ก้อม  แปลว่า  สั้น ,ไม่ยืดยาว

                    เบียง  แปลว่า   พอดี ,ไม่เผื่อไม่เหลือ,ตรง

     หมายความว่า

                 การทำอะไรไม่เผื่อไม่เหลือให้ใคร เด็ดขาด ไม่เห็นแก่ใคร ตัดสัมพันธ์เหมือนว่าจะให้ขาด เป็นการแสดงออกของคนที่ค่อนข้างไม่มีน้ำใจ ส่วนใหญ่แสดงออกในลักษณะการพูดแบบไม่เห็นแก่ไมตรี

คำสำคัญ (Tags): #สำนวนถิ่นเหนือ
หมายเลขบันทึก: 136910เขียนเมื่อ 10 ตุลาคม 2007 10:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 09:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เคยได้ยินแต่ "ตัดก้อมสินเปียง" ภาษาเหนือไม่่น่ามีคำว่า "เฉือน" นะครับ ถ้าจะใช้คงใช้ว่า "ปาด" มากกว่า

ถ้าเทียบกับสุภาษิตไทย น่าจะได้ประมาณ "ตัดช่องน้อยแต่พอตัว"

ปล. ทางเชียงใหม่ว่า "เปียง" นะครับ ไม่ทราบว่าทางพะเยาใช้ "บ" เพราะเห็นปรากฏอยู่ 2 ที่

กลุ่ม 5 ศุนย์รวมน้ำใจ

ขอบคุณมากนะคะที่ให้ความสนใจ และต้องขออภัยด้วยนะคะ ข้าพเจ้าสะกดผิด ยังมีเรื่องอื่นอีกมากมายนะคะที่พวกเรากลุ่ม 5 บันทึกลงในบล็อคนี้โปรดติดตามและติชมด้วยจะขอบคุณเป็นอย่างยิ่ง เพราะพวกเราถือว่าเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

ข้อแก้ไข  พะเยา ก็ออกสำนวนแบบที่ว่าก็คือ "ตัดก้อมฉินเปียง"  เหมือนกัน แต่พวกเราไม่ได้ตรวจทานให้รอบคอบ ขออภัยมานะที่นี่ด้วย ขอบคุณคะ

โรงเรียนเทพพิทักษ์วิทยา อ.เมือง จ.แพร่
ได้รู้สำนวนที่เราช่วยกันอนุรักษ์ไว้ เพื่อให้รุ่นหลังได้รู้
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท