Language teacher metaphor_ครูสอนภาษาเปรียบได้กับอะไร


Language teacher metaphor
ครูสอนภาษาเปรียบได้กับอะไร 

สุดสัปดาห์ที่ผ่านมาคิดหาเรื่องที่จะเขียนบันทึก จะเขียนเรื่องอะไรดีนะ มีหลักการเล็กน้อยในการเขียนบันทึกค่ะ คือต้องเลือกเรื่องที่เราเข้าใจสนใจเองด้วย ทำอะไรต้องมาจากความสนใจเป็นหลัก สิ่งที่ดิฉันสนใจอยุ่ตอนนี้คงไม่พ้นเรื่องวิจัยของตัวเอง ดิฉันกำลังศึกษาเรื่องความรู้ความเข้าใจของอาจารย์มหาวิทยาลัยในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการเรียนการสอนภาษาอังกฤษโดยเฉพาะ การสอนการเขียน ปีหน้าจะได้กลับไปเก็บข้อมูลแล้ว นอกจาก ม.น. แล้วว่าจะไปเยี่ยมอาจารย์ขจิตที่ ม.สุรนารี
 
  
ระหว่างนี้อาจารย์ก็ให้อ่านๆ รวบรวมงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง นักศึกษาปริญญาเอกแบบทำวิจัยของดิฉันต้องทำให้ได้ 50 ชั่วโมงภายในหนึ่งสัปดาห์ หมายความว่า เจ็ดวันต้องทำได้ ประมาณ 7 ชั่วโมง สิบห้านาที คือไม่ต้องทำอะไรแล้วอย่างอื่น ไม่มีปิดเทอมด้วย ตกเย็นแอบเดินห้างเวลาเจออาจารย์ก็รู้สึกผิดทุกที (รู้สึกเหมือนกลับไปเป็นเด็กมัธยมซะงั้น) ทุกสัปดาห์ต้องพรีเซนต์อาจารย์ว่า อาทิตย์ที่ผ่านมาไปทำอะไรมาบ้าง เจออะไรที่น่าสนใจที่เกี่ยวกับการวิจัยของเราหรือไม่ ดิฉันไปเจอบทความหนึ่งในหนังสือ น่าสนใจดีเพราะใช้วิธี วิเคราะห์เรื่องเล่าของที่นักเรียนบรรยายครูสอนภาษาของตัวเอง

มาดูกันว่านักเรียนมองครูอย่างไร เปรียบเทียบเราเป็นอะไรกันบ้าง  แต่เป็นการเก็บข้อมูลจากนักเรียนในสหรัฐอเมริกากับอียิปต์ บ้านเรายังไม่มีใครทำ เอ ไม่แน่ เด็กสมัยใหม่กล้าคิดกล้าทำ แต่เราก็น่าจะลองดูนะ เนื่องจากมีการประเมินการเรียนการสอนอยู่แล้ว ครูต้องเปิดใจให้กว้าง หากไม่รับฟังคำวิจารณ์จะพัฒนาตัวเองได้อย่างไร
 

The metaphors derived from the student narratives as identified within the three different teaching approaches: autocratic, democratic/ participatory, and Laissez-Faire.  

Autocratic teaching approach
-         Teacher as Manufacturer   เป็นผู้ผลิต
-         Teacher as Witch  เป็น พ่อมด แม่มด
-         Teacher as Hanging Judge  เป็นผู้พิพากษา
-         Teacher as Tyrant   เป็น ผู้นำเผด็จการ
-         Teacher as Arrogant Animal or Person  เป็นคนหยิ่ง ถือตัว
-         Teacher as Preacher or Moralist เป็นนักเทศน์
-         Teacher as Patron เป็นผู้ปกครอง
-         Teacher as Gossip  เป็นแหล่งนินทา  

Democratic/ Participatory teaching approach
-         Teacher as Challenger and Catalyst มีเรื่องมาท้าทาย กระตุ้นนักเรียน
-         Teacher as Force of Nature คุ้นเคยกับนักเรียนดี เหมือน ฝนตก ฟ้าร้อง ตามธรรมชาติ
-         Teacher as Entertainer  ทำให้นักเรียนเพลิดเพลินบันเทิง
-         Teacher as Nurturer/ Inspiration/ Role Model/ Counsellor   เป็นแรงบันดาลใจ
-         Teacher as Egalitarian or Co-learner  เหมือนเพื่อนเรียน
-         Teacher as Family Member  เหมือนคนในครอบครัว
-         Teacher as Prophet of God’s Gift  เหมือนผู้แทน ของขวัญจากพระเจ้า
-         Teacher as Tool Provider เหมือนผู้ให้เครื่องมือ 

Laissez-Faire teaching approach (ครูที่มักบกพร่องในหน้าที่)
-         Teacher as Blind Eye  ละเลย ทำเป็นไม่รู้ไม่เห็น
-         Teacher as Bad Babysitter  ตามใจเหมือนนักเรียนเป็นเด็กเล็ก
-         Teacher as Whirlwind  ไม่มีระบบระเบียบ ยุ่งเหยิง
-         Teacher as Guardian of the Door  ดุ เหมือนยามเฝ้าประตู
-         Teacher as Sleep Inducer  เหมือนยากล่อมให้หลับ
-         Teacher as Absentee ขาดสอนบ่อยๆ  

ดิฉันว่า แม่แบบครูในดวงใจของบ้านเรา ที่บอกว่า ครูคือ เรือจ้าง น่าจะเข้ากับแบบที่สอง คือแบบที่เราเป็นผู้ให้ความช่วยเหลือในการเรียนแก่นักเรียน  Teacher as Vessel 

For me, I would like to be described as a ‘Teacher as Family Member’ because students will feel free to be around me and I can encourage them to reach their learning goals. 

งานนี้กระสุนนัดเดียวได้นกสองตัว ได้ทำการบ้านส่งอาจารย์แล้วเขียนบันทึกอีกตังหาก เหอๆๆ

_เอามาจาก หนังสือ

Learner Contributions to Language Learning
Breen, Michael P., Ed.



"รักในสิ่งที่ทำ ทำในสิ่งที่รัก"

หมายเลขบันทึก: 136087เขียนเมื่อ 8 ตุลาคม 2007 04:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 12:19 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

แวะเข้ามาอ่านครับ ได้ความรู้เพิ่มเติมหลายอย่างเลย เพิ่งทราบว่าเขาเปรียบเทียบครูเอาไว้หลายแบบ ผมว่าในบ้านเราก็มีให้เห็นหลายแบบเหมือนกัน

ชอบใจกับความเห็นสุดท้าย ที่ว่าครูน่าจะเป็นสมาชิกในครอบครัว แต่ว่าสมัยนี้คงหาได้ยาก ไม่ว่าด้วยเงื่อนไขของครูเอง เงื่อนไยของนักเรียน และสภาพแวดล้อมอื่นๆ เห็นครูต้นแบบที่น่านับถือแล้วซาบซึ้งน้ำตาไหลทุกที

สวัสดีค่ะ คุณธวัชชัย

บางวันครูก็กลายเป็น ยานอนหลับอย่างดี ดิฉันก็เคยว่าตัวเองให้นิสิตฟังอยู่เรื่อยๆ ว่า พอครูอ้าปากจะพูดพวกเธอก็เตรียมฟุบหลับโดย อัตโนมัติ อิอิ

  • อาจารย์มาผมก็อยู่ Oregon State University
  • พอดีครับอาจารย์
  • ถ้าอาจารย์มาตอนเดือนสิงหาคม ปีหน้า ผมอยู่ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสนครับ คงกำลังเก็บข้อมูลเหมือนกัน
  • เคยอ่านพบงานวิจัยของไทย
  • จำได้ว่าของ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
  • แต่อันนี้เขียนไว้นานแล้วครับ
  • ของอีตา Jack C.
  • ที่นี่ครับ
  • ขอบคุณครับ

เรียนอาจารย์ขจิต

  • ได้ไปอเมริกาด้วย น่าสนุกนะคะ
  • งั้นคงไปเจอน้องนิจแทน
  • ขอบพระคุณค่ะที่มาตอบและกรุณาให้ลิงค์เรื่องที่เกี่ยวข้องกัน

 

ขอขอบพระคุณอาจารย์อ้อม...

  • ผมชอบคุณครูที่ทำหน้าที่เสมือน "คนปลูกต้นไม้" + "คนรดน้ำต้นไม้"
  • เพราะคุณครูคือท่านผู้ส่งเสริมให้ "คนที่ดีได้" มีโอกาส "ได้ดี" 
  • แวะมาขอบคุณครับ
มาอ่านโดยไม่ได้ทักทายหลายหนแล้วค่ะ มาสวัสดีกันสักที ชื่นชมวิธีเขียนของอ.อ้อมมาเสมอค่ะ ขอให้ทำงานได้คืบหน้าไวๆ กลับมาเป็นอาจารย์คุณภาพให้ลูกศิษย์ชาวไทยได้ในเร็ววันนะคะ

กราบขอบพระคุณ

คุณหมอวัลลภ

และ คุณโอ๋-อโณ

มีเพื่อนครูเข้ามาอ่านแล้วบอกว่า บางวันก็เป็นแบบนึง อีกวันก็เป็นแบบนึง ก็ครูเป็นมนุษย์เหมือนกันน่ะค่ะ แต่ควรเป็นมนุษย์ที่มีความสามารถแนะนำผู้อื่นได้

เรื่องต่อไปเป็นการเปรียบเทียบผู้เรียน ว่าเป็นเหมือนอะไรค่ะ หากมีเวลาแวะมาอ่านหน่อยนะคะ

เรื่อง Teacher metaphor น่าสนใจมากเลยค่ะ

อยากทราบว่าจะหาอ่านข้อมูลได้จากที่ไหนคะ

สนใจเรื่องนี้อยุพอดีค่ะ

ขอบพระคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท