ไหว้ครูก่อนที่จะเริ่มเรียนหนังสือ เมื่อเข้าไปอยู่ชั้น ป.1


การแสดงความเคารพและความกตัญญูต่อผู้ที่ให้ความรู้แก่เรา

 

ไหว้ครูก่อนที่จะ

เริ่มเรียนหนังสือ 

เมื่อเข้าไปอยู่ชั้น ป.1     

          เมื่อปี พ.ศ. 2501 เป็นปีที่ผมเข้าเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ณ โรงเรียนวัดเกาะ ตำบลบางงาม  อำเภอศรีประจันต์  จังหวัดสุพรรณบุรี  โรงเรียนของผมในตอนนั้นมีนักเรียนประมาณ 270 คนเศษ มีครูทั้งหมด  9 คน เปิดสอนตั้งแต่ชั้น ป.1- ป.4  ห้องเรียนไม่มีข้างฝากั้น ใช้สถานที่บนศาลาการเปรียญหลังเก่า (ปัจจุบันรื้อสร้างใหม่แล้ว) เป็นสถานที่เรียนโดยมีกระดานดำ  2 แผ่นตั้งต่อกัน เป็นผนังกั้นระหว่างห้องเรียน ส่วนในบางชั้นก็เรียนบนโรงลิเกบ้าง และเรียนกันในเพิงพักที่กรรมการวัดเขาสร้างเอาไว้ที่หน้าอุโบสถบ้างมาจนถึงปี พ.ศ.2504 จึงได้มีการสร้างอาคารเรียนขึ้น 

          ผมยังจำวันแรกที่ผมเข้าโรงเรียนได้ ในวันนั้นผมแต่งตัวเครื่องแบบนักเรียนตั้งแต่เช้า สวมเสื้อสีขาว ใส่กางเกงสีกากี นุ่งทับคาดเข็มขัดลูกเสือ ไม่มีถุงเท้ารองเท้า (สมัยนั้นไม่มีใส่) มือถือพานดอกไม้ธูปเทียนไปกับแม่คุณ (คุณยาย) ชื่อแม่คุณนิ่ม ไม่รู้โรย เป็นผู้ที่เลี้ยงผมมาตั้งแต่เด็ก ๆดอกไม้ที่ใช้ในการไหว้ครูสมัยนั้น เป็นดอกไม้ืั้ ที่มีความหมาย 3 อย่าง  ได้แก่

<p>
         หญ้าแพรก เก็บเอามาจากลานหน้าบ้าน มีความหมายว่า ขอให้คิดได้รวดเร็วเหมือนหญ้าแพรกซึ่งเจริญเติบโตได้รวดเร็วและทนต่อสภาพดินฟ้า อากาศ ทนต่อการเหยียบย่ำ ให้อดทนต่อคำดุด่าว่ากล่าวของครู
         ดอกเข็ม แม่คุณปลูกเอาไว้ที่ข้างบ้านเก็บใส่พานได้เลย มีความหมายว่า ขอให้มีสติปัญญาเฉียบแหลม ดุจดังชื่อของดอกเข็ม
         ดอกมะเขือ เก็บเอามาจากสวนครัว ที่หลังบ้าน มีความหมายว่า ดอกมะเขือนั้น จะคว่ำดอกลงเสมอเมื่อจะออกลูก เหมือนจะบ่งบอกว่า คนที่จะมีความเจริญงอกงามได้นั้นจะต้องรู้จักอ่อนน้อม ถ่อมตน เป็นคนสุภาพเรียบร้อย</p>

            

</span><p>         แต่ในปัจจุบัน บางคนแปลความหมายดอกไม้ที่นำเอาไปไหว้ครูผิด จึงมุ่งแต่ความสวยงาม อาจจะนำเอาผลผลิต ผลไม้บางชนิดมาใส่พานไหว้ครู เช่น นำเอาลูกมะเขือพวง มะเขือเทศมาใช้ในการจัดพาน การที่เราจะทำสิ่งใดได้นั้น จะต้องมีการศึกษาให้รู้จริงเสียก่อน  เพราะถ้าหากทำไปโดยที่ไม่รู้ถึงคุณค่าและความหมายแล้ว  การกระทำนั้น ๆ ก็จะเท่ากับว่า เป็นการสูญเปล่า มิได้สร้างคุณธรรมให้เกิดขึ้นในจิตใจ  </p><p>         ผมจำได้ว่า แม่คุณพาไปเข้าโรงเรียนในวันพฤหัสบดี แต่ว่าตรงกับขึ้น แรมกี่ค่ำ นึกไม่ได้เสียแล้ว แต่ดูจะเป็นช่วงต้น ๆ เดือน 6 แม่คุณพาเดินไปโดยเดินผ่านบ้านของผู้อื่นหลายสิบหลัง แล้วก็มาถึงสะพานไม้เก่า ๆ ที่ชาวบ้านเขาสร้างเอาไว้เดินข้ามไปวัด สะพานนี้รถยนต์แล่นผ่านไม่ได้ จะวิ่งผ่านได้ก็เพียงรถจักรยานยนต์ เวลาเดินข้ามไปบนสะพาน เสาสะพานก็จะเอนไปมาเล็กน้อย เรียกว่าเวียนหัวเลยละ  เมื่อไปถึงศาลาการเปรียญ คุณครูที่ผมจะไปเรียนด้วย ท่านจะมานั่งรอลูกศิษย์อยู่ที่เก้าอี้ซึ่งทางโรงเรียนจัดเตรียมเอาไว้ ท่านชื่อ ครูชุบ  สังข์ทอง ผมถือพานดอกไม้ ธูป เทียน โดยคลานเข่าเข้าไปหาครู ก้มกราบลงและส่งพานให้ครู ครูชุบรับพานจากมือของผม แล้วท่านก็พูดว่า ครูขอรับเธอมาเป็นลูกศิษย์ของครูแล้วนะ  จงตั้งใจเรียนรู้และเรียนให้เก่ง ๆ (ความจริงท่านพูดอีกหลายคำ ผมจำได้ไม่หมด)  เพื่อนคนอื่น ๆ ก็ถือพานเข้าไปส่งให้ครูตาม ๆ กันมาจนหมด แต่ก็มีบางคนที่ไปเข้าโรงเรียนก่อนผม และไปเข้าทีหลังผมก็มี แต่ว่าจะอยู่ในช่วงระยะเวลาไล่เลี่ยกัน</p><p>           </p><p>           ผมมองว่าการไหว้ครูเมื่อ 50 ปีก่อน ไม่เหมือนกันกับการไหว้ครูหรือพิธีไหว้ครูในวันนี้ เพราะในสมัยก่อน เป็นการนำเอาลูกหลานไปฝากให้อยู่กับครูเพื่อศึกษา เรียนรู้อยู่กับครู 4 ปี การนำลูกเข้าโรงเรียนในวันนั้นจึงมีความสำคัญต่อจิตใจของผมและเป็นภาระที่หนักของครูมาก (ใน 1 ห้องเรียนหรือ 1 ชั้นเรียนมีครูสอนเพียงคนเดียว) ความผูกพันของครูกับศิษย์จึงมีมาก   </p><p>          ในชีวิตของเด็กคนหนึ่ง นอกเหนือไปจากพ่อแม่แล้ว ครู คือ ผู้ที่จะให้อนาคตในการดำรงชีพต่อไปได้ในสังคม ครูจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งที่จะประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้ หรือปูพื้นฐานไปสู่หนทางทำมาหากินในอนาคตด้วย  ครูจึงเป็นบุคคลสำคัญเป็นที่สอง รองไปจากบิดามารดาที่เราทุกคนควรจะได้แสดงความกตัญญูกตเวทิตาต่อท่าน</p><p>                                  </p><p>          การไหว้ครู จึงเป็นการที่ศิษย์จะแสดงความเคารพ ยอมรับนับถือครูบาอาจารย์อย่างจริงใจว่า ท่านเป็นผู้เพียบพร้อมด้วยคุณธรรมความรู้ ศิษย์ในฐานะผู้สืบทอดความรู้เพื่อให้บรรลุเป้าหมายปลายทางแห่งการศึกษาตามที่ตั้งใจเอาไว้  การไหว้ครู จึงเป็นขนบธรรมเนียมอันดีงาม มีส่วนโน้มน้าวจิตใจคนให้รักษาคุณความดี  การที่ศิษย์แสดงความเคารพยอมรับนับถือครูตั้งแต่เบื้องต้น มีส่วนทำให้ครูเกิดความรัก ความเมตตา มีความรู้สึกผูกพันใกล้ชิด  เกิดความมั่นใจว่า มีผู้คุ้มครองดูแลสั่งสอนให้เราไปสู่หนทางแห่งความเจริญก้าวหน้าได้แน่นอน </p><p>          ถึงแม้ว่า ในวันนี้พานไหว้ครูของเด็ก ๆ ที่นำเอามาไหว้ครู  ผมมองเห็นว่า ผิดไปจากเดิม จะด้วยเหตุผลใดก็ตาม อาจจะเป็นเพราะว่า ดอกเข็ม ดอกมะเขือ และหญ้าแพรก เป็นสิ่งที่หายากขึ้น  เครื่องบูชาครูจึงมีการประยุกต์ใช้เป็นพานพุ่ม หรือดอกไม้อื่น ๆ แทน ซึ่งก็มิใช่เรื่องแปลก เพียงแต่เป็นการประยุกต์ไปตามยุคสมัย  ขอให้มองที่เจตนา เป็นสาระสำคัญ  การไหว้ครูก็คือ การแสดงถึงความเคารพและความกตัญญูต่อครูบาอาจารย์ผู้ให้ความรู้แก่เรานั่นเอง           </p><p></p><p>(ชำเลือง  มณีวงษ์. ไหว้ครูก่อนที่เรียนหนังสือเมื่อเข้าไปอยู่ชั้น ป.1) </p><p> </p>

หมายเลขบันทึก: 135997เขียนเมื่อ 7 ตุลาคม 2007 20:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:26 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท