ระบบศูนย์ส่งต่อ


การพัฒนาระบบบริการฉุกเฉินและการส่งต่อ
มีการจัดตั้งศูนย์ส่งต่อระดับเขต อยู่ที่ ร.พ.หาดใหญ่ โดยสามารถจัดหาเตียงรับผู้ป่วยส่งต่อ ตามระบบปกติ และกรณีส่งต่อตามปกติไม่ได้ สามารถจัดหาเตียงภายใน 1 ชั่วโมง และได้ประสานสถาบันประสาท/โรงพยาบาลเอกชน ในการแก้ไขปัญหา ซึ่งรพ.เอกชน ได้ส่งแพทย์ศัลยกรรมประสาทมาทำการผ่าตัดที่ รพ. หาดใหญ่ มีการจัดตั้งเครือข่ายแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยดำเนินการจัดทำทำเนียบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญไว้สำหรับประสานการส่งต่อแก่ ทุกโรงพยาบาลในเครือข่ายเขต18,19 นอกจากนี้ ได้พัฒนาศักยภาพบุคลากรอย่างต่อเนื่องและจัด reference conference case ประเด็นสำคัญและมีการจัดประชุมเตรียมความพร้อม เพื่อรองรับการเกิดอุบัติเหตุและการเคลื่อนย้ายลำเลียงผู้ป่วยทางอากาศ ใน 14 จังหวัดภาคใต้
หมายเลขบันทึก: 135206เขียนเมื่อ 5 ตุลาคม 2007 12:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 22:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

 

  ในปัจจุบัน  ระบบหลักประกันสุขภาพ ได้แยกการชดเชยการรักษากรณีผู้ป่วยในทั้งหมด  และกรณีอุบัติเหตุฉุกเฉินข้ามเขตให้เบิกได้จากกองทุนระดับเขตและระดับประเทศ  จึงไม่เป็นภาระการตามจ่ายของหน่วยบริการ   ในปีนี้ทาง สปสช เขตสงขลาจึงได้ของบสนับสนุนให้ทางโรงพยาบาลหาดใหญ่ได้พัฒนาศูนย์ประสานการส่งต่อ  ต่อเนื่อง  โดยสามารถที่จะพัฒนาเป็นต้นแบบและสามารถเป็นตัวกลางให้ช่วยในประสานกับ มอ.หรือเอกชน กรณีมี Cases ยากข้ามเขตหรือมีปัญหาที่ต้องเกื้อหนุนกันในระดับภาค

   ทีมงานตั้งแต่ ผอ.กมล  คุณหมอภควัต คุณสหัทยาและทีมงาน  ได้ช่วยแบกรับและบรรเทาปัญหาให้อย่างต่อเนื่อง   ซึ่งต้องช่วยกันสนับสนุนและเป็นกำลังใจกันต่อไป

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท