ล้มโรงเรียนในระบบทิ้งสะ Deschooling


น่าเป็นหัวข้อวิจัยว่า ระบบโรงเรียน ทำลาย ทำร้าย ป่นปี้ อะไรไปบ้าง ?

สืบเนื่อง  จากเรื่อง DeSchooling   การยกเลิกโรงเรียนในระบบ  แล้ว การเรียนรู้จะเกิดขึ้น 

 http://reactor-core.org/deschooling.html

 จะแปลทั้งหมดคงไม่ไหวแน่ๆ  ...... ผมขอคัดเอาเฉพาะ ที่กระแทกๆ ตัวผมก็แล้วกัน ..... แปลแบบสุกี้ ชาบู   และ  ใส่ไข่เองอีกต่างหาก  นะครับ   

ผมไม่ได้ว่าการศึกษาที่ประเทศไทยนะครับ  เพราะ เป็นกันแทบทั่วโลก !!! ของประเทศไทย ผมขอ ไม่แตะต้อง ก็แล้วกัน !!! ยกไว้ในฐานที่ ไม่เข้าใจ 

เริ่ม บทที่ 1 ก่อนนะ

1. WHY WE MUST DISESTABLISH SCHOOL ทำไมเราต้อง จัดตั้งโรงเรียนกันใหม่  

  •  Universal education through schooling is not feasible  การศึกษาแบบเหมาโหล  โดยการผ่านระบบโรงเรียนไม่เวอร์ค
  • new educational funnels must be reversed into the search for their institutional inverse: educational webs which heighten the opportunity for each one to transform each moment of his living into one of learning, sharing, and caring  เน้นทุกเวลาของชีวิตประจำวัน ....  เราสามารถผันเอามาเป็นการเรียนรู้ได้  แบ่งปันได้  และ ห่วงใยกันด้ว
  •  Many students, especially those who are poor, intuitively know what the schools do for them .    They school them to confuse process and substance   นักเรียนจนๆจะรู้ดีว่า โรงเรียนทำอะไรลงไปกับพวกเขาบ้าง  ทำให้สับสนทั้งกระบวนการ (เรียนรู้) และ สาระเนื้อหา !!!
  •  ผมชอบคำว่า School ที่เป็น verb   มันทำให้เห็นภาพ  ว่า เด็กโดน school อย่างไร   ....  โดนครอบนั่นเอง และ  พ้องกับคำว่า Screw up คือ ทำให้ป่นปี้  ไปหมด  ในทุกวงการ   เช่น
    • Medical treatment is mistaken for health care   การแพทย์เป็นไปแบบรักษา มากกว่าดูแล  .... นึกถึงแพทย์หิวเงิน  เภสัชรับเงินคนขายยา  ฟันค่ารักษาพยาบาล   การรักษาแบบแยกส่วน การรักษาแบบไม่ได้ แคร์  (จิตใจคนไข้)  นึกถึง ที่ NASA ใช้ หุ่นยนต์  มาทำงานแทนแพทย์ครับ .
    • the rat race for productive work  ทำงานยังกะหนู (ถีบจักร) แข่ง  แทนที่จะทำเพื่อผลิตภาพ
    • คำว่า พัฒนา คือ สร้างตึก สร้างอาคาร   เอาตำแหน่ง เอาชื่อเสียง  
  •  global degradation and modernized misery  โลกย่อยยับเสื่อมสลาย (ทรัพยากรต่างๆโดนทำลาย) และ  โศกนาฏกรรมสมัยใหม่   ( น้ำท่วมโลกแน่ๆ) .....  เศร้าครับ !!!   ยากเกินแก้ไขแล้ว 
  • We need counterfoil research to current futurology.  เราน่าวิจัยแบบ สวนความเชื่อ  นอกกรอบ โจมตีตนเอง ( เช่น ยกเลิกโรงเรียนในระบบให้หมด)  สำหรับอนาคตศึกษา   เช่น ผลกระทบของการเรียนแบบในระบบ    การโดน school จนบางคืน ตื่นผวา ว่าไปสอบ ทั้งๆเรียนจบนานแล้ว !  เป็นกันบ้างไหมครับ  ..... การเอาแต่ผลงานราชการของตน ไม่สนใจ Outcome mapping เลย   (ทำลายจิตใจใครบ้าง  ทำลายสังคม ทำลายธรรมชาติ ทำลายวิธึคิด  ทำลายสถาบันครอบครัว  ฯลฯ) ผลิตคน งกๆ เค็มๆ  ประสาทๆ ออกมามากมาย รวมทั้ง ผมและตัวท่านด้วยหรือเปล่าเนี่ย ?   พ่อแม่ลูกขาดเวลาให้กันและกัน    เมาเสพนิยม  ฯลฯ
  • Everywhere not only education but society as a whole needs "deschooling."   ที่ล้มเหลวนี่  ไม่ใช่ แค่การศึกษา แต่ สังคมก็ป่นปี้ไปด้วย   สังคมก็น่าจะ deschooling เช่นกัน
  • monopoly is at the root of the modernization of poverty นายทุนผูกขาด  เป็นรากหญ้าที่แท้จริง ..... การศึกษาที่เพื่อคนรวย ไม่ใช่เพื่อคนจนเลย  .....  ลองเอาข้อสอบ Entrance มาดูสิครับ 
  • the poorer student will generally fall behind so long as he depends on school for advancement or learning  คนจนยังไง ก็ล้าหลัง  ไล่ตามคนรวยไม่ได้ .....ถ้ายังเป็นระบบโรงเรียนแบบนี้ มหาวิทยาลัยแบบนี้  
  • citizens have learned to think rich and live poor.   ประชาชนถูกสอนให้คิดรวย แต่จริงๆแล้วยังยากจน    ..... คิดแบบนี้ ก็บรรลัยแน่นอน   คือ  ไม่รู้จักคำว่าพอเพียง  ไม่มี "ภูมิคุ้มกัน" ต่อกิเลสทั้งหลาย 
  • In the United States the per capita costs of schooling have risen almost as fast as the cost of medical treatment...... The increase in educational expenditures has produced even stranger results   งบประมาณการศึกษาเพิ่ม พอๆ กับงบสาธารณะสุข  (  ยิ่งเรียนมาก ก็ป่วยมาก  และ โง่มากขึ้นด้วย)  ......  งบประมาณการศึกษาเพิ่มขึ้นทุกปี แต่ ผลออกมา แปลกๆ เลวร้าย   .....  เพราะ อะไร ?  นี่แสดงว่า "หลงทาง" กันเต็ม  .....   เราต้องการ Change management กับ คนที่บริหารงบ ฯ นี้ มาตลอดหลายปีที่ผ่านมานะเนี่ย 
  • This paradox must be made a public issue.  เรื่องประหลาดทางการศึกษานี้  ควรเอาทำ ประชาพิจารณ์    เป็นวิกฤติ แห่งชาติ  นะครับ  ...   ให้คนชุดใหม่  คิดใหม่ มาทำบ้าง   คนเก่า คิดแบบเก่า.....  "ตนเองเป็นคนสร้างปัญหาแล้ว จะมองเห็นปัญหาได้ไง"  ..... แบบ "หลง" เนี่ย น่ากลัวนะครับ  เขามองไม่เห็นตนเอง !!!! .....  ขนาดโดนคนแซวกันทั้งชาติ   พวกเขาก็ยังเฉยๆ  ทำแบบเดิม คิดแบบเดิม พฤติกรรมเดิมๆ  ..... 
  • schooling is to confuse salvation with the Church  ระบบโณงเรียน  ไปป่วนศาสนาด้วยนะเนี่ย  เละทุกวงการเลย 
  • School has become the world religion of a modernized proletariat  โรงเรียนกลายเป็น ศาสนาใหม่  ..... ตอบสนองเสพนิยม    (เอาคนที่คิดแบบเสพนิยม ไปบริหาร มันก็ออกมาแบบเสพนิยม แน่ๆ อยู่แล้ว !!!
  • Neither learning nor justice is promoted by schooling because educators insist on packaging instruction with certification  เจ็บปวดครับ กับคำว่า Packaging  ....   มันทำให้นึกถึงการศึกษาแบบ fast food   พวกสอน MBA นี่  ตั้งใจสอน หรือ โลภสอนกันแน่   หลายๆคณะ เปิดหลักสูตร เพื่อใคร    จะเอาเงินเค้าหรือเปล่าเนี่ย !!
  •   Curriculum has always been used to assign social rank หลักสูตรทำให้เกิดการแบ่งชั้นทางสังคม  ..... ว้าว ใช่เลย  ใครจบที่ไหน  จบสูง จะดูดีมีชาติตระกูล .....  เดี๋ยวนี้  ไม่มีใครเรียน ช่างกล  หนีไปต่อ วิศวะ    ไม่มีใครหยุดแค่ ปริญญาตรี หนีไป ต่อโท  ที่เกลื่อนเมือง !!!   .....  คนงานต่างด้าว มาทำงานกันเพียบ เพราะ พี่ไทยเราหนี ไปต่อปริญญาตรี โท กันหมด   ...  พวกเสพนิยม จะเน้น งานเบาๆ สบายๆ
  • most learning is the result of teaching.  ผู้บริหาร ผู้ยิ่งใหญ่ทางการศึกษาต่างๆ คิดแต่ว่า  "การสอน = การเรียนรู้"  ....  ท่านเข้าใจเรื่อง "เรียนรู้" แค่ไหนเนี่ย  ...ท่านเรียนจบ "การสอน"  ไม่ได้จบ "การเรียนรู้"  แน่ๆ.....  เพราะ ยังไม่ "รู้"จักตัวเอง  
  •  most people acquire most of their knowledge outside school  คนเราได้ความรู้จาก นอกโรงเรียนมากที่สุด    ...  ในโรงเรียนสอนเยอะ แต่ ไม่ได้ใช้สะเป็นส่วนมาก    ผมทำงาน NASA หลายปี มารดูข้อสอบ Entrance ถึงกับมึน .... เรื่องบางเรื่อง จะให้เด็กทั้งประเทศรู้ไปทำไมเนี่ย   ปริญญาเอกอย่าง ผมยังไม่ได้ใช้มันเลย
  • Most learning happens casually, and even most intentional learning is not the result of programmed instruction  การเรียนรู้เกิดขึ้นในสภาพสบายๆ (casual)   ไม่ได้จากในหลักสูตร  ....   วางหลักสูตรให้ตาย ก็ไม่มีทางไล่ทันโลกครับ  ต้องสอนให้คิดเป็น เรียนเป็น ใฝ่รู้  ฯลฯ ต่างหาก ....  คนในระบบโรงเรียน ถ้าเปลี่ยนแปลตนเองไมได้  ไม่เข้าใจการเรียนรู้ เปลี่ยนพฤติกรรม และทัศนคติไมได้   การล้มระบบโรงเรียน ก็น่าจะเกิดขึ้น
  • Progress in learning skills is measurable  กระบวนการเรียนรู้วัดผลได้ครับ   อย่าห่วงแต่ ออกข้อสอบ มาทดสอบความจำกันอีกเลย   
  • Potential skill teachers are never scarce for long   ครูดีๆ หามาทดแทนได้ไม่ยาก .....   ก็ไม่ลองปล่อยเสรี สักที    ...... กฏหมายเปิดให้ทำการสอนแบบเสรีได้แล้ว   ผู้บริหารต่างหาก ที่ กลัว   โดยเฉพาะ สังคมเสพนิยม จะมาด่า ว่า สอนแบบนี้ จะสอบเข้าอะไรได้    กลุ่มผู้ปกครองติดเสพนิยมมีเยอะครับ  
  • Skill teachers are made scarce by the belief in the value of licenses   ครูมีทักษะหายาก เพราะ ไปบ้า "ใบอณุญาติครู" นี่เอง   Most teachers of arts and trades are less skillful, less inventive, and less communicative than the best craftsmen and tradesmen  คนเก่งจริง มีทักษะ  ไม่ได้มาเป็นครู   คนเป็นครูก็ไม่เก่งจริง   ...  ว้าว  ระบบอะไรเนี่ย  พังแน่ๆ
  • matching the right teacher with the right student when he is highly motivated in an intelligent program, without the constraint of curriculum  จับคู่ความต้องการมาเจอกัน   ..  สงสัยต้องใช้ Net ช่วย  เป็น "ตลาดเรียนรู้" ....  ทำให้นึกถึง สมัยโบราณ   คนเก่งจริง (ปั้นหม้อ ตีดาบ) ได้เป็นครู   แต่ นี่ อะไรกัน  ปั้นไม่ได้เรื่อง แต่ จบครู 
  • นึกถึง KTC  ที่  รับเด็กฝึกงาน (ยังเรียนอยู่)   มาทำแบบ Earn & learn    ทำให้ได้ดูโอกาส  ดู "จิตอาสา" ของพวกเขา ตั้งแต่เนิ่น   และ แนะนำได้ด้วยว่า ควรเรียนรู้อะไรบ้าง .....  จะมี องค์กรแบบ KTC อีกไหมเนี่ย
  • Creative, exploratory learning requires peers  การเรียนแบบเป็นทีมครับ ....  นึกถึงเด็ก รร เพลินพัฒนา  ไปสอบเทียบ  พอครูคุมสอบแจก ข้อสอบ  เด็กทั้งห้อง เดินจับกลุ่มกันทันที  ตามนิสัย เรียนรู้เป็นทีม  .... 
    • ครูในระบบ ช็อคโลก !!!  "เฮ้ย  ผิดกติกา  เธอต้องทำคนเดียว"  ....  เด็กนอกระบบงง    "อ้าวในชีวิตจริง คนเรามีเพื่อนไม่ใช่หรือ  ไม่ได้ติดเกาะร้างนี่ครับ"  
  • Matching people according to their interest    จัดคนเรียนให้ตรงกับที่เขาสนใจ   ....   พวกจีน  พวกลาว  พวกเกาหลี เขาทำแล้ว   เรียนตอนเช้านิดหน่อย บ่ายๆ เรียนตามอัธยาศัย   เข้า ค่ายที่ตนชอบ  เช่น อยากเป็นหมอ   ก็เข้าค่ายหมอตั้งแต่เด็กๆ จะได้ "ค้นหาตนเอง"  ชอบไม่ชอบเปลี่ยนได้ทัน  สอนแบบแพทย์แผนตะวันออกกันตั้งแต่เล็กๆเลย   จะได้ ไม่เป็นทาสบริษัทยาต่างชาติ
  • Both the exchange of skills and matching of partners are based on the assumption that education for all means education by all   การศึกษาเพื่อทุกคน  โดยทุกคน  ....  ใช้การจับคู่  " คนเรียน กับ ผู้เรียน"
  • นึกถึง   อาจารย์ที่โหดๆ   อารมณ์รุนแรง  บ้าอำนาจ  บ้าปริยัติ  อวดเก่ง  ฯลฯ   นักเรียน มิอาจหลบได้  ต้องทนทรมานไปทั้งปี   หรือ บางวิชาที่ไม่ชอบมากๆ  ก็ต้องเรียน   เพราะ ครูบอกว่า "ฝึกความอดทน"   .... ผมว่าตอบมั่วๆกับเด็กแบบนี้ ไม่ดีนะ     ระบบเราไม่เหมาะต่างหาก 
  • A deschooled society implies a new approach to incidental or informal education.  การเรียนรู้ นอกระบบ  น่าจะเป็นคำตอบที่ควรทำมากๆ .... เรียนกันทั้งหมู่บ้าน   ทั้งชุมชนไปเลย   ก็ไม่โรงเรียนในระบบแล้วนี่  !!! 
  • Almost all education was complex, lifelong, and unplanned การศึกษา เป็นเรื่องซับซ้อน (คิดแบบเหมารวม แบบคลุมถุงชน แบบแบ่งส่วน แยกส่วน ฯลฯ ไมได้)   ตลอดชีวิต และ ไม่มีแบบแผน .....   ผมชอบ ที่ เม็กดำ คือ  โรงเรียนหลากหลายอายุ   มาเรียนเพราะอยากจะเรียน  !!!  ใช่เลย
  • our imagination was "all schooled up  พ้องเสียงกับ Screw  up คือ  โรงเรียนทำลายจินตนาการจนย่อยยับ

.

จบบทที่ ๑   ....   หมดแรง   เอาแค่นี้ไปก่อน 

 

 

หมายเลขบันทึก: 134984เขียนเมื่อ 4 ตุลาคม 2007 22:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 13:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (16)

"มหาวิทยาลัยตั้งที่ไหน สังคมที่นั่นพัง" เพราะมหาวิทยาลัย และสถานศึกษา ขาด "ครู" ที่เป็นเซียนในวิชาที่สอน มีแต่ความรู้ที่ไปจำเอาของคนอื่นมาสอน และ ไม่เน้นพัฒนากาย พัฒนาใจ ให้กับนักเรียน จึงทำให้สังคมต้องถอยหลังอย่างที่เห็นนี่แหละครับ

  • ขอบคุณมากครับที่สรรหาบทความดีๆมาให้อ่าน  ผมโชคดีที่เป็นคนโง่ที่ยังเอะใจ  อิอิ
  • เพิ่มเงินเดือนครู พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สอน จะได้เอาแรงไปสอนเยอะๆ
  • พัฒนาสื่อการศึกษา
  • มีระบบการศึกษาที่เรียนรู้แล้วก็เข้าใจง่ายๆ
  • สังคมการเรียนรู้ที่เท่าเทียมกัน ไม่ว่าอยู่ที่ไหนของประเทศ ก้าวหน้าก็ก้าวไปด้วยกัน แต่ถ้าจะล้มเหลวก็......อีกเรื่อง
  • คิดได้แต่ก็ทำไม่ได้ .... สักที !!

ขอขอบคุณอาจารย์คนไร้กรอบ...

  • ขอขอบคุณครับ...
  • ผมเองถ้ามีบุญพอ มีโอกาสย้ายไปก็คงจะได้ไปเริ่มต้นเรียนรู้ใหม่ที่สถานีอนามัยป่าเหียงเหมือนกัน
  • ในวงสนทนาเฮฮาศาสตร์ที่พิษณุโลกคืนวันที่ 29 กันยายน 2550  นอกจากพูดเรื่องการศึกษานอกระบบ  ยังพูดกันเรื่อง  ใบไม้กำมือเดียว 
  • เลยขอนำตอนหนึ่งของ

    ธรรมกถาในโอกาสพิเศษ ณ ชุมนุมศึกษาพุทธธรรม (ศิริราช)
    ในอุปการะของคณะแพทย์ศาสตร์และศิริราชพยาบาล
    มหาวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์ ๑๗ ธันวาคม ๒๕o๔

  • โดยท่าน  พระราชชัยกวี (ภิกขุ พุทธทาส อินทปัญโญ)

  • " ที่ว่าหลักมูลฐานนั้น มิส่วนที่เป็นหลักอยู่ไม่มากมาย จนถึงกับพระพุทธเจ้าท่านเรียกของท่านว่า "มันกำมือเดียว" มันมีเรื่องเพียงกำมือเดียว ไม่มากมายเต็มไปทั้งบ้านทั้งเมืองหรือทั้งป่า ซึ่งในสูตรที่มีอยู่ในสังยุตนิกายเล่าเรื่องนี้ไว้ชัดว่า ; เมื่อกำลังเดินกันอยู่ในป่า พระพุทธเจ้าท่านกำใบไม้ที่เรี่ยราดอยู่ขึ้นมากำมือหนึ่ง แล้วถามภิกษุทั้งทลายในที่นั้นว่า ใบไม้ที่กำขึ้นมานี้กับใบไม้หมดทั้งป่ามันมากน้อยกว่ากันกี่มากน้อย ทุกคนก็เห็นได้ว่า มันมากกว่ากันมาก จนเปรียบกันไม่ไหว ถึงแม้พวกเราที่นี่ เดี๋ยวนี้ก็ลองทำมโนภาพถึงของจริงในเรื่องนี้ดูให้เห็นชัดว่ามัน มากมายยิ่งกว่ากันเสียทีหนึ่งก่อน พระพุทธเจ้าจึงบอกว่านี่มันอย่างนี้ คือว่าเรื่องที่ตรัสรู้และรู้นั้นมันมาก เท่ากับใบไม้ทั้งป่า แต่เรื่องจำเป็นที่ควรรู้ ควรนำมาสอนและนำมาปฏิบัตินั้นเท่ากับ ใบไม้กำมือเดียว "

 

ขอบคุณครับอาจารย์ครับ ผมอ่านและสรุปเพื่อความชัดเจนของผมเอง ดังนี้

  1. จัดการศึกษาให้แตกต่างเหมาะกับบุคคล                                                             (ถ้าไม่เอาตามระบบ เด็กเรียนไม่เก่งอาจดีกว่า เช่น อาจปลูกข้าวเป็น แต่เด็กนักเรียนในเมือง ไม่รู้ว่าเขาปลูกกันอย่างไง)
  2. เรียนรู้ แบ่งปัน ห่วงใย และมาจากชีวิตประจำวัน
  3. ต้องสามารถสร้างคนดีในสังคม (เช่น การรักษาป่วยไข้ การทำงานไม่แข่งขัดขากัน ไม่มี hidden agenda ทำลายกัน เป็นผู้บริหารขัดขวางเพราะกลัวการเติบโตของผู้ใต้บังคับบังชา)
  4. การศึกษา สุดท้ายต้องเกิดมรรคผลจรรโลงโลก (อยู่ในแถบร้อน ไม่ศึกษาสถาปัตยกรรมออกแบบตึกให้เก็บความร้อนแบบเมืองหนาว เพราะต้องติดแอร์ ถ้าไม่มีเงินจ่ายค่าไฟฟ้า น้ำมัน )
  5. เราน่าวิจัยแบบ สวนความเชื่อ  นอกกรอบ โจมตีตนเอง ( เช่น ยกเลิกโรงเรียนในระบบให้หมด)  สำหรับอนาคตศึกษา   จะได้เจอความจริงอีกด้าน
  6. อย่าผลิตคน งกๆ เค็มๆ  ประสาทๆ ออกมามากมาย รวมทั้ง ผมและตัวท่านด้วยหรือเปล่าเนี่ย ?   พ่อแม่ลูกขาดเวลาให้กันและกัน    เมาเสพนิยม  ฯลฯ
  7. ถ้าระบบโรงเรียนดีแล้ว ทำไมถึงต้องมีโรงเรียนกวดวิชา ให้ดียิ่งกว่า (นึกถึง เด็กญี่ปุ่น เคยมีข่าวว่าเรียนกันหนักตั้งแต่เล็ก สงสัยระบบไทย จะเดินตาม ต้อยๆ)
  8. ต้องสอนให้คิดเป็น เรียนเป็น ใฝ่รู้

 

ความคิดเห็นเพิ่มเติม คือ

·        เห็นด้วยอย่างมาก เรื่องนี้ต้องมีผู้วิจัยมากๆ ถึงผลกระทบทุกๆด้าน เพราะประเทศไทย แตกต่างจากชนเชื้อชาติอื่น ทั้งลักษณะนิสัย พฤติกรรมแบบไทไท ขนบธรรมเนียม วัฒนธรรมการปกครอง

·        ปัญหาจริงๆแล้ว ก็คือเราเดินตามตะวันตกมาตลอด เราไม่เป็นตัวเอง ไม่ศึกษาตนเอง เขาเฮไปซ้าย ก็เฮไปทางซ้าย ไปขวาก็เฮไปขวา

·        มาคิดทำไมตะวันตกเขาอยากให้คุณตามละ อ้าวก้ระบบนายทุนไง ก็จะได้ทำธุรกิจการศึกษากับคุณยังไง เอาแค่การสอบเทียบภาษาอังกฤษ สอบกันมากมาย หลายครั้ง เป็นเงินมหาศาล (เสียดาย ถ้าเขานิยมภาษาไทย เราจะเก็บค่าสอบเทียบมาตรฐานเหมือนกัน คงต้องสอบกันหลายรอบนะ เพราะ Advanced Thai Words เนี่ยยากนะ คนไทยตกกันระนาว)

·        เรื่องนี้มีการปฏิวัติการศึกษาไปรอบหนึ่งแล้ว เกิดมีการจัดการศึกษาเฉพาะขึ้น เช่น โรงเรียนวิถีพุทธ

P ขอบคุณ ครับ .....คุณหมอชอบวิ่ง

กำมือเดียวจริงๆ    ขอยืนยัน นั่งยัน นอนยัน

แยกแยะ รู้เท่าทัน ขันธ์ ๕    ด้วย กำลังสติ ซึ่งมาดีแล้ว   นี่แหละ   สุดยอดวิชาเลย

กำลังทำอย่างคุณหมอสอนไว้ ที่ มน  เรื่อง ขี่จักรยาน  คือ  ขี่รอบแรกเบาๆ   อัดจนเหนื่อย   ผ่อนลงมาเบา   .....  ขอบคุณครับ

ไม่มีรูป  ผมชอบที่ คุณพันคำ แนะนำเพิ่มเติม   เรื่อง การค้าปนเป ลงมากับการศึกษา

ตอบสนอง เสพนิยม ทั้งนั้น

การจัดการศึกษา  ของประเทศสารขัน  ....   ส่วนใหญ่  จะ Great Idea , worst execute ทุกที ....  ครูระดับล่าง อ่วมทุกที   จ้าวโปรเจคมาอีกแล้ว !!!  ใครจะได้หน้า  ใครจะได้ตำแหน่ง  ใครจะจัดฉาก ???

น่าจะเป็นเพราะ ระดับใหญ่ๆของสารขัน ...   ยัง วนอยู่แค่  หน้าต่างสอง กับ สาม ของ โนนากะ เท่านั้น (คือ คิดเอง เออเอง)

หน้าต่างสี่ และต่อไปหน้าต่างหนึ่ง  ....   ยังเห็นไม่ชัด

ลงมือทำน้อย คุยอยู่ในห้องประชุม ไปดูงานมีสมุนล้อมรอบ .....  คบคนวงการเดียวกัน.....   อย่างมาก ก็เชิญ  อย่างครูบาฯ    และ คนในวงการธุรกิจ นิดๆหน่อย   ( พอให้ได้ชื่อว่า  พวกฉันเชิญ คนนอกมาแล้วนะ .... แจกโล่ห์ สักหน่อย  ให้ไปเจ็บใจเล่นวันหลัง  ว่า ระบบพัง ก็มีคุณ เข้าร่วมด้วยนะ)  .....ฟังแล้ว   จดๆ ไปงั้น  แต่ไม่ทำ !!!

แต่ ไม่ทราบว่า เกิดการเปลี่ยนแปลงทางความคิดและพฤติกรรม ในตัวท่านๆ ทั้งหลายหรือเปล่านะ 

หน้าต่าง ๑  ของโนนากะ  สำคัญมากๆ  ท่านๆ (ผู้ยิ่งใหญ่การศึกษา ของ สารขัน)  ฝึกกันหรือยัง   การสร้าง Ba  การฟังเชิงลึก   ....  บางที การที่อายุมากขึ้น  ไม่ได้แปลว่า หูจะปิดมากตามไปด้วยนะครับ  ....  ไม่ต้องอายครับ  ที่ จะค้นพบ "ความเปราะบาง" ในตยเอง .....  

เรื่องการศึกษาเป็นวิกฤต  ของโลก   ควรฟังกันมากๆ บ่อยๆ    ทดลองทำด้วยตนเองบ่อยๆ 

เปิดใจกว้าง ๆ   แบ่งโซน ไปคิดเอง ทำเองบ้าง   เลิก เอาความสำเร็จของ คนในวงการ  มาโยงกับ การศึกษาได้แล้ว   ...   ทำเพื่อยศ  ทำเพื่อเพื่อน  หรือ ทำไม่เป็น ก็ได้

ท่านๆ ผู้ยิ่งใหญ่  ... อยู่ในกระดานหมากรุกมานาน  .....อาจจะมึนๆ  ลองถอนตัว ออกมาดูข้างนอกบ้างดีกว่านะ

 

  

สวัสดีค่ะ อ. วรภัทร์ หนูคิดว่าการศึกษาไทยต้องเน้นที่สอนพัฒนาจิตใจ สร้างคนโดยใช้ความรัก ความเข้าใจ ความเมตตา ต้องสอนจากข้างในค่ะ
คนไทยเน้นสร้างวัตถุมากกว่าที่จะสร้างจิตใจคนให้พัฒนา เคยได้อ่านสุภาษิตจีน สิบปีปลูกต้นไม้ ร้อยปีสร้างคน สร้างคนต้องใช้เวลา ค่อยๆ อย่าเร่งรีบ แต่คนไทยโคตรละเลยในเรื่องนี้ค่ะ ขออภัยนะค่ะหากใช้คำพูดที่ไม่เหมาะสม เช่น คำว่าโคตร ขอบคุณ ค่ะ อ. วรภัทร์ ที่เอาข้อมูลมา show&share ด้วยความเคารพ

          ผมคิดว่านักการศึกษาในเมืองไทยเองก็รู้เรื่องนี้ จะเห็นได้จาก พรบ.การศึกษาแห่งชาติ ปี 42 ได้กำหนดให้ครอบครัวสามารถสอนการศึกษาให้กับบุตรหลานของตนเองได้ แต่ในทางปฏิบัติไม่มีใครจะเอาจริงเอาจังกับเรื่องนี้ เพราะลำพังจะกินเข้าไปวัน ๆ ยังแย่เลย แล้วจะเอาเวลาที่ใหนมาสอนลูก ก็ต้องฝากอนาคตไว้กับโรงเรียน และเป็นโรงเรียนที่ตายแล้วด้วย

         ที่กศน.มีการจัดการศึกษาประเภทหนึ่งน่าสนใจมาก เขาเอาประสบการณ์ของคนและความสำเร็จในการประกอบอาชีพมาประเมินเทียบระดับ ด้วยความเชื่อที่ว่าชีวิตคนเหมือนแก้วน้ำ ซึ่งมีปริมาณน้ำในแก้วไม่เท่ากัน ดังนั้นการจะทำให้น้ำเต็มแก้วก็เติมน้ำเท่าที่ยังขาดอยู่ มิใช่เทน้ำเก่าทิ้งแล้วใส่น้ำใหม่ทั้งแก้ว ผมคิดว่าวิธีการนี้เป็นวิธีการที่ถูก แต่ก็เป็นวิธีการสำหรับคนที่มีประสบการณ์ชีวิตเท่านั้น เสียดายที่เด็กค่อนข้างมีประสบการณ์น้อยมาก จึงใช้วิธีนี้ไม่ได้

ขอขอบคุณ คุณหมอวิจารณ์ ท่านน่ารักมาก

มีเมตตามายกมือสนับสนุน เรื่องนี้ด้วย 

http://gotoknow.org/blog/thaikm/131067

ประเทศไทยออกจอาภัพ ได้ผู้บริหารที่ไม่มีปัญญา ถูกโลกตะวันตกมอมเมา โลกของทุนนิยม เอาแต่เสพ หาความพอดีพอเพียงไม่ได้ หาได้รู้จักตนเองไม่ มองออกไปแต่ข้างนอก ไม่ได้มองเข้าหาตัวเอง กิเลสเลยพอกพูน ทำให้สังคมล้มเหลวโดยสิ้นเชิง มีผู้ที่แวกว่ายออกนอกกรอบได้ก็น้อยนิด โดยแรงถล่มจากกลุ่มอำนาจจนแทบล้มตายกันไปหมด  ดีใจที่ได้สัมผัสอ.วรภัทร์ตั้งแต่ปี 40 ทำให้หวนกลับเข้าสู่แนวทางที่ถูกต้อง มองตนเองให้แจ่มชัดตามแนวของระบบพุทธศาสนา จักรวาลนี้จะเป็นสุขก็ต่อเมื่อเราหันมาใช้หลักการของพุทธศาสนาเท่านั้น ดังนั้น จึงเห็นว่า ระบบการศึกษาไทยต้องยึคหลักการของระบบพุทธศาสนาเป็นพื้นฐาน ไม่เช่นนั้นสังคมไทยต้องสลายไปในไม่ช้านี้

สัสดีครับท่านคนไร้กรอบ

  • ถึงแก่นจริงๆครับ
  • ก็ไม่ทราบว่าเมื่อไหร่หนอ  ท่านผู้มีอำนาจวาสนาจะเข้าใจ มีความตระหนัก และเริ่มโยนก้อนหินถามทาง สร้างกระแสการเปลี่ยนแปลงซะที
  • ที่โคกเพชร  โยนหลักสูตรทิ้งข้างทางไปนานแล้วครับ  นอกจากวิชาการอ่านออกเขียนได้  ใช้ภาษาเป็น คิดเลขคล่องและรู้ช่องทางการแสวงหาความรู้แล้ว  เหลือแต่วิชาสอนคนให้รู้จักตนเองและเข้าใจสังคมด้วยเหตุและผลเท่านั้นครับ
  • กระดาษเปื้อนหมึกเล่มหนาๆ  ที่ชื่อว่าหลักสูตรมีค่าก็แค่ส่งขาย ก.ก.ละ 2-3 บาท  ให้เขาเอาไปไซเคิ่ลครับ
  • บันทึกนี้ของท่าน  กระผมจะขออนุญาตนำไปเผยแพร่ต่อนะครับ
  • ขอบคุณครับ
  • สวัสดีครับ

อ่านจบบทที่หนึ่งแทบจะหมดแรง แต่ก็อดไม่ได้ที่จะอ่านความคิดเห็นของแต่ละท่านโดยเฉพาะของคุณพันคำ

เหนื่อยเลยครับอ่านไปคิดไป จนลืมสิ่งที่เรียนมาว่าต้องสอบกี่ครั้งกว่าจะเรียนจบ (บางครั้งสอบตั้งหลายครั้งกว่าจะผ่าน ขนาดผ่านแล้วบางครั้งก็ยังสงสัย ว่าทำไมถึงเป็นอย่างนั้นซึ่งส่วนใหญ่ก็ไม่มีในตำรา) จนต้องมาหาความเข้าใจตอนทำงานเรียกว่ามาเรียนกันอีกครั้งจากประสบการณ์ทำให้ได้เข้าใจสามารถอธิบายคนอื่นได้อย่างมั่นใจครับ

 หลายอย่างที่คาใจเกี่ยวกับการศึกษา "ทำอย่างไรถึงจะพัฒนาคนให้พัฒนาการศึกษาให้พัฒนาคนเพื่อพัฒนาด้านต่างๆได้อย่างเหมาะสมกับยุคสมัย"

คิดเท่าไหร่ก็ยังคิดไม่ออก

คงต้องคิดแบบไม่คิด ตามแนวทางท่านอาจารย์วิจารณ์ กระมังครับ

ตอนนี้เลยถามนักเรียนว่าเรียนอย่างไรถึงจะพอดีหรือพอเพียง

อย่าลืมมาช่วยครูเ อกชนด้วยนะค่ะ งาน แฟ้ม งานกระดาษ ขยะทั้งหลาย ค่ารูปถ่าย ตามผู้ตรวจการทั้งหลายที่เป็นเจ้าหน้าทีมาตรวจมาตรฐาน ที่จะดูเอกสารฯลฯ

แค่นี้ไม่รู้จะเอาคำว่าพอเพียงไปใช้ตรงไหน สงสารเด็กนะ และอย่าลืมครูนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท