VQ คลื่นลูกใหม่ในการพัฒนาองค์กร


IQ และ EQ ยังเน้นไปที่ความเป็นปัจเจกบุคคลมากกว่าภาพรวมขององค์กร จึงทำให้การพัฒนาทำได้เพียงการพัฒนาคน พัฒนางาน แต่ไม่ถึงการพัฒนาองค์กร
สิ่งที่ผมอยากจะเขียนไปในบล็อกของผมวันนี้ ก็คงจะเป็นการนำเสนอให้พวกเราชาววลัยลักษณ์ได้เห็นว่า สิ่งพวกเราได้ร่วมกันทำ ร่วมกันเดิน อยู่ในขณะนี้ เป็นทิศทางที่จะนำพาองค์กรของพวกเราไปสู่ความสำเร็จตามที่พวกเราได้กำหนดไว้ในวิสัยทัศน์ของวลัยลักษณ์เรา ยุคหนึ่งในแวดวงการบริหารทรัพยากรมนุษย์ เราจะให้ความสำคัญอย่างมากกับคำว่า IQ (Intelligence Quotient) ซึ่งนั่นหมายถึง ความฉลาดทางปัญญา ของพนักงานในองค์กร โดยเป็นยุคที่องค์กรต้องการบุคลากรที่เก่ง มีความรู้ความสามารถในงาน  ต่อมาสิ่งที่เราสนใจคือคำว่า EQ (Emotional Quotient) นั่นก็คือ ความฉลาดทางอารมณ์  การต้องการความฉลาดในด้านอารมณ์ของพนักงาน ก็มีจุดมุ่งหมายที่จะได้บุคลากรที่นอกเหนือจากความเก่งงานแล้ว ก็ควรที่จะต้องเป็นบุคลากรที่เก่งคนด้วย โดยพร้อมที่จะมีสติ ในการทำงานตลอดเวลาเพื่อประโยชน์ในการตัดสินใจ และประสานงานร่วมกันในการทำงาน อย่างไรก็ตาม IQ และ EQ ยังคงเน้นไปที่ปัจเจกบุคคลมากกว่าภาพรวมขององค์กร จึงทำให้การพัฒนาเกิดขึ้นแต่เพียง การพัฒนาคน พัฒนางาน แต่ไม่ถึงการพัฒนาองค์กร ดังนั้น ในเรื่องการบริหารองค์กร และทรัพยากรมนุษย์ ในองค์กรหลายแห่งที่ประสบความสำเร็จในขณะนี้ จึงให้ความสำคัญในเรื่องของ VQ (Value Quotient) นั่นคือ ความตระหนักในคุณค่าร่วม ของพนักงานหรือบุคลากรทุกคนในองค์กร หรือคนทั่วไปก็มักจะรับรู้ค่านิยมเหล่านั้นในรูปของวัฒนธรรมองค์กรนั่นเอง ผมจึงเห็นว่า การที่พวกเราได้มีการนำ KM มาเป็นเครื่องมือในการสร้างค่านิยมร่วม เพื่อการพัฒนาองค์กรหรือวลัยลักษณ์ของพวกเรา  ซึ่งนอกจากเป้าหมายสำคัญ คือการพัฒนาสู่ความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้แล้ว ยังทำให้เราสามารถใช้ KM ในการสร้าง ค่านิยมร่วมอื่น ๆ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการนำวลัยลักษณ์ของพวกเราบรรลุเป้าหมายตามวิสัยทัศน์ ช่วยกันคนละไม้คนละมือนะครับ 
หมายเลขบันทึก: 13428เขียนเมื่อ 26 มกราคม 2006 11:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 พฤษภาคม 2012 08:43 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
วันนี้(22 ก.พ.49 ผมได้ฟังท่านอาจารย์ณรงค์ศักดิ์ ตะละภัฏ บรรยายเกี่ยวกับ EQ ทำให้ได้รับความกระจ่างเพิ่มมากขึ้นว่า คำว่า EQ นั้น ควรจะใช้ในภาษาไทยว่า ความมั่นคงในอารมณ์ จึงจะถูกต้อง เพราะมั่นหมายถึง การที่คนเราสามารถที่จะมีสติอยู่ตลอดเวลา นอกจากนี้ยังได้รับความรู้อีกว่า EQ และ VQ รวมทั้ง Q อื่น ๆ นั้นแท้ที่จริงเป็นการใช้คำเรียกให้พร้องเสียงเหมือนกับ IQ เท่านั้น แต่การใช้ภาษาเขียนควรใช้คำว่า Intelligence เช่น EQ ก็คือ Emotional Intelligence   VQ ก็คือ Value Intelligence เป็นต้น ผมได้ความรู้มากขึ้นที่เดียวครับจากการที่อาจารย์มาบรรยายให้ผู้บริหารของวลัยลักษณ์ฟังในหัวข้อ จิตวิทยาการบริหาร สู่ความเป็นเลิศ ต้องขอขอบพระคุณท่านอาจารย์มากครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท