บำนาญสำหรับผู้สูงอายุไทย


จัดตั้งกองทุนบำนาญแห่งชาติโดยความสมัครใจ/จูงใจผ่านกองทุนสวัสดิการภาคประชาชนทดแทนเบี้ยยังชีพ

ผมเข้าร่วมประชุมเรื่องบำนาญสำหรับผู้สูงอายุจัดโดยมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ โดยการสนับสนุนของสกว. เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2550 

ที่ผมเข้ามาเกี่ยวข้องในเรื่องนี้ก็เพราะการบริหารจัดการกองทุนบำนาญแห่งชาติซึ่งนักวิชาการเสนอให้จัดตั้งขึ้นรองรับคนไทยอย่างถ้วนทั่วนั้นมีกรณีศึกษาเรื่องระบบสวัสดิการภาคประชาชนโดยขบวนสัจจะลดรายจ่ายวันละ1บาทของครูชบ ยอดแก้วที่สงขลาและเครือข่ายออมบุญวันละ1บาทจ.ลำปาง
ทั้ง2กลุ่มเป็นพื้นที่วิจัยในโครงการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาองค์กร  การเงินชุมชนที่ผมเป็นผู้ประสาน/หัวหน้าโครงการในปี2549

จากงานวิจัยและข้อเสนอแนะของนักวิจัย 3 ท่านคือรศ.ดร.มัทนา พนานิรามัย รศ.ดร.ศุภวัฒนากร วงศ์ธนาวุส และผศ.ดร.วรเวศม์ สุวรรณระดา รวมทั้งการระดมความคิดเห็นจากผู้เข้าร่วมประชุม ผสมผสานกับข้อเสนอในรายงานการวิจัยของผม รวมทั้งงานเคลื่อนไหวที่ผมเกี่ยวข้องอยู่ด้วย ได้ก่อรูปความคิดที่เป็นข้อเสนอของผมต่อเรื่องนี้ ดังนี้

1)      สวัสดิการบำนาญของผู้สูงอายุ1.1)สถานะภาพ

-เบี้ยยังชีพคนชรา รัฐกลางกระจายอำนาจให้ท้องถิ่น
ปี 2536 จำนวน 20,000คน งบประมาณ12ล้านบาท ปี2550เพิ่มขึ้น87เท่าจำนวน1,755266คน งบประมาณ10,532ล้านบาท ครอบคลุมประชากร1ใน3ของผู้สูงวัย

            -กองทุนบำนาญครูและครูใหญ่ร.ร.เอกชน

            -กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ/ท้องถิ่น

-กองทุนประกันสังคม

*ประเทศไทยเข้าสู่สังคมวัยชรา มีผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น

1.2)แนวคิดและการดำเนินงานขยายบำนาญเพื่อให้ครอบคลุมประชาชนทั้งประเทศ
 -แนวคิดขยายเบี้ยยังชีพให้ครบทุกคน

-แนวคิดขยายกองทุนประกันสังคมให้ครอบคลุม  
-กองทุนทวีสุขของธกส.

-กองทุนสวัสดิการภาคประชาชน

       2)  ข้อเสนอ

            2.1)ขยายกองทุนประกันสังคมให้ครอบคลุมกลุ่มอาชีพต่างๆ (จะเกี่ยวข้องกับสวัสดิการในเรื่องอื่นๆด้วย)

            2.2)จัดตั้งกองทุนบำนาญแห่งชาติโดยความสมัครใจ/จูงใจผ่านกองทุนสวัสดิการภาคประชาชนทดแทนเบี้ยยังชีพ ซึ่งหากให้ครอบคลุมประชากรสูงวัยทั้งหมดต้องใช้งบประมาณ 31,596 ล้านบาทต่อปี (เดือนละ500บาทปีละ6,000บาทต่อคน คิดจากตัวเลขในปี2550)โดยมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นตามสัดส่วนประชากรสูงวัยที่เพิ่มขึ้น

           หลักคิด

            -สวัสดิการบำนาญที่มีอยู่และที่จะขยายเพิ่มเติมเป็นสวัสดิการบนฐานอาชีพ /ลูกจ้าง-นายจ้าง  ผู้ซื้อ-ผู้ขาย           

           -สวัสดิการบำนาญแห่งชาติโดยความสมัครใจ/จูงใจผ่านกองทุนสวัสดิการภาคประชาชนเป็นสวัสดิการบนฐานของความเป็นประชาชนชาวไทยที่มีภูมิลำเนาในท้องถิ่นและในอาณาเขตของรัฐไทยที่มาจากการพึ่งตนเองและพึ่งพากันของประชาชน ก่อรูปเป็นกลุ่มองค์กรชุมชนเพื่อเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคน พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมเพื่อความยั่งยืนในระยะยาว
โดยใช้งบประมาณของรัฐปีละ 67,200 ล้านบาท (ฐานคิดจากประชากรจำนวน 65 ล้านคน)
            จะดำเนินการอย่างไร ?            1)รัฐเป็นหุ้นส่วนร่วมสมทบ

            ขบวนสัจจะลดรายจ่ายวันละ1บาททำสวัสดิการภาคประชาชนจังหวัดสงขลาเสนอให้รัฐจัดสวัสดิการให้กับประชาชนโดยการสมทบการจัดสวัสดิการของภาคประชาชนในอัตรา1ต่อ1ใน3ระดับ คือ
1.ท้องถิ่นระดับตำบล/เทศบาล
2.ท้องถิ่นระดับจังหวัด และ
3.ระดับชาติ

            2)ประชาชนดำเนินการจัดตั้งกลุ่มสัจจะลดรายจ่ายวันละ1บาททำสวัสดิการภาคประชาชน

            ประชาชน50คนเลือกผู้จัดการ1คนรวมตัวให้ได้อย่างน้อย100คนจัดตั้งกลุ่มระดับตำบลขึ้นตั้งสัจจะลดรายจ่ายวันละ1บาท สิ้นเดือนนำเงินมารวมกัน ครบ6เดือนจัดสวัสดิการ9เรื่องครอบคลุมการเกิดแก่เจ็บตายของสมาชิก

การดำเนินงานสวัสดิการภาคประชาชนด้วยรูปแบบสัจจะลดรายจ่ายวันละ1บาทเป็นนวัตกรรมที่ต่างจากกลุ่มออมทรัพย์เพื่อสวัสดิการทั่วๆไปคือ

-ไม่มีการปล่อยกู้ให้กับสมาชิก

-จัดสวัสดิการบำนาญให้สมาชิก 
            ครบ15ปีขึ้นไปอายุ60ปีได้บำนาญตั้งแต่เดือนละ300บาทถึง1,200บาทเมื่อเป็นสมาชิกครบ60ปี

3)รัฐบาลทำได้เลย ด้วยนโยบายให้การสนับสนุนผ่านกองทุนส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมภายใต้พรบ.ส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมพ.ศ.2546 เป็นรายปีตามจำนวนประชากรในแต่ละจังหวัด     

3.1)อุดหนุนผ่านอบต.กึ่งหนึ่ง อีกกึ่งหนึ่งเป็นงบเบี้ยยังชีพ  (ทยอยยุบเลิกเบี้ยยังชีพโดยเชื่อมโยงเข้าหากัน)

3.2)อุดหนุนผ่านอบจ.กึ่งหนึ่ง อีกกึ่งหนึ่งเป็นงบของอบจ.เอง

3.3)สำหรับการสมทบระดับชาติให้กองทุนสวัสดิการสังคมสมทบตามจำนวนของสมาชิกในแต่ละปี

ตัวอย่าง

จังหวัดนครศรีธรรมราชมีประชากรประมาณ1.6ล้านคนจะได้รับเงินกองทุนเพื่อการนี้ปีละจำนวน 584 ล้านบาท เงินจำนวนนี้จะจ่ายสมทบให้กับกลุ่มที่ได้จัดตั้งขึ้นอย่างน้อย 6 เดือน

คณะอนุกรรมการบริหารกองทุนส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมจะเป็นผู้กำหนดแนวทางในการสนับสนุน เช่น การสนับสนุนให้กลุ่มเกิดการรวมตัวเป็นสมาคมระดับจังหวัดเพื่อเป็นกลไกในการจัดการกันเอง ดังตัวอย่างของจังหวัดสงขลาผลที่เกิดขึ้น1)ระดมเงินสัจจะจากการลดรายจ่ายของประชาชนวันละ65ล้านบาทเดือนละ1,950ล้านบาทปีละ22,400ล้านบาท สามารถจัดตั้งเป็นธนาคารพัฒนาชุมชนของแต่ละจังหวัด

2)ร่วมจัดสวัสดิการให้กับประชาชน 9 เรื่องด้วยงบประมาณ   เพียงปีละ67,200 ล้านบาทโดยอาศัยกลไกของชุมชนซึ่งมีต้นทุนต่ำสุด

3)ก่อให้เกิดกระบวนการทางสังคมเพื่อการช่วยเหลือพึ่งพากันเสริมสร้างความเป็นชุมชนอย่างขนานใหญ่ซึ่งจะเชื่อมโยงไปสู่เรื่องอื่นๆต่อไป

4)เงินสมทบมาจากภาษีของรัฐ เป็นการเฉลี่ยจากคนมีมาช่วยคนจน โดยที่เงินบำนาญสำหรับคนมีอาจจะน้อยนิดซึ่งสามารถบริจาคเข้ากองทุนเพื่อช่วยคนยากจน ตามแนวคิดกองบุญเมตตาธรรม        ทำบุญวันละ1บาทของพระอาจารย์สุบิน ปณีโต

กองทุนครูและครูใหญ่ ร.ร.เอกชน

กองทุนบำเหน็จบำนาญ

ขรก./ท้องถิ่น
ขยายกองทุนประกันสังคม 
 

กองทุน

สำรองเลี้ยงชีพ
 กองทุนประกันสังคม 
กองทุนสวัสดิการภาคประชาชน (บนฐานสมาชิก ตำบล/จังหวัด/ประเทศ)
กองทุนบำนาญแห่งชาติ
เบี้ยยังชีพ (บนฐานสิทธิ ตำบล/จังหวัด/ประเทศ) ทยอยลดจำนวนลง
 
หมายเลขบันทึก: 134139เขียนเมื่อ 2 ตุลาคม 2007 15:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 มิถุนายน 2012 18:18 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สวัสดีครับ อ.ภีม

  • ยินดีด้วยครับผมกับผลกระทบในทิศทางที่น่ายินดี
  • สบายดีนะครับ

 

สวัสดีครับอ.เอก
ผมสบายดีครับ

ทราบว่าอาจารย์สนใจงานสวัสดิการชุมชนอยู่เช่นกัน แต่ไม่แน่ใจว่าจะมีเวลาหรือไม่ จึงไม่ได้ชวนมาร่วมวง

  • ช่วงปิดภาคการศึกษานี้น่าจะมีเวลาครับ :-)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท