ประเมินเท้าเบาหวาน ที่ สอ.ฝั่งแดง และ สอ.นาหนาด


สนุกมาก ขบขัน เมื่อนักกายภาพ สอนบริหารเท้า และพบว่าเท้ากับนิ้วเท้าก็สามารถออกกำลังบริหารได้ คือกัน(เหมือนกัน)

          วันก่อน( 25 มกราคม 49) ผมกับทีมดูแลผู้ป่วยเบาหวานของโรงพยาบาล อีก 3 คนคือ คุณมณีวัชราภรณ์ ตังควนิช คุณพเยาว์  ปิยไพร และคุณอัญชุลี  อึ้งอุปละชัย ได้ลงประเมินเท้ากันในสถานีอนามัย  ตามแผนที่จะประเมินเท้าผู้ป่วยเบาหวานใน อ.ธาตุพนมทุกคน ในปีงบประมาณ 2549 นี้ หลังจากได้เริ่มทำกิจกรรมเมื่อเดือธันวาคมแล้ว ใน PCU ในโรงพยาบาล คลิก วันนีจึงเป็นการไปสู่ สอ.ครั้งแรก(ทั้งหมด15 สอ.) 

          ช่วงเช้าเราไปที่ สอ. นาหนาด  และบ่าย 13.00 น. ไปที่สอ.ผั่งแดง ที่มีผู้ป่วยในเขตรับผิดชอบทั้ง2 สอ. ทั้งหมด 159 คน มาประเมินเท้า 119 คน (75%)  ทั้ง2 สอ. พอมาถึงก็ยิ้มได้เลยครับ ทั้งเจ้าหน้าที่ สอ. และ อสม. อีก3 คน กำลังช่วยกันลงทะเบียนจัดคิวให้กับผู้ป่วยอย่างขมักเขม้น(คนไข้มาก่อนเวลานัดเป็นส่วนใหญ่)  เราก็ไม่รอช้า อย่าง สอ.แรก รีบบอกให้คนไข้หยิบเก้าอี้คนละตัว แล้วออกไปนั่งตรงที่มีแดดหน่อย เพราะอากาศวันนี้หนาวมาก เราเริ่มต้นกิจกรรมแรกคือก้มดูเท้า ดูรองเท้า และสอนผู้ป่วยดูแลเท้าด้วยบัญัติ 10 ประการทันที แถมด้วยการให้ทุกคนโชว์รองเท้าที่ใส่มา และเล่าให้ฟังว่าแต่ละแบบที่ใส่มาเหมาะสม หรือไม่อย่างไร ตอนนี้สนุกมากครับ เพราะแต่ละคน ทั้งอาย ทั้งตลก ที่ต้องโชว์สิ่งที่เรียกว่าอยู่กับตีนโดยไม่รู้ตัวมาก่อน แต่ที่สังเกตได้ กลับไม่มีการอายกันครับ เพราะไม่มีใครใส่หรูหรือเด่นกว่ากัน ส่วนใหญ่จะเป็นแบบคีบครับ  หลังจากนั้นจึงเริ่มประเมินเท้าทีละคนจนครบซึ่งก็อีกเช่นกัน ผู้ป่วยก็สนใจกันมากๆ แม้ต้องรอตามคิว (ตรวจกันกลางแจ้ง โล่งๆเลยครับ) 

สรุปกิจกรรมวันนี้นะครับ

1.สิ่งที่บรรลุวัตถุประสงค์

     - ประเมินเท้าผู้ป่วยเบาหวานได้ 75 % พบผู้ป่วยกลุ่ม very high risk ที่ต้องส่งพบแพทย์ทันที 3 คน กลุ่ม hight risk 4 คน เพื่อส่งประเมินเท้าในโรงพยาบาล กลุ่ม moderate risk 33 คน และกลุ่ม low risk 109 คน

     - เยียมการทำงานของเจ้าหน้าที่ และแลกเปลี่ยนปัญหาที่พบเกี่ยวกับการทำงานระดับอำเภอ เกียวกับการดูแลผู้ป่วยเบาหวานใน สอ.

2.สิ่งที่ได้เกินความคาดหมาย(วัตถุประสงค์)

       - ผู้ป่วยให้ความสนใจเกี่ยวกับเท้าดีเกินคาด มีคำถามมากมาย และดูกระตือรือล้นที่จะดูแลเท้าตนเอง

       - ทีมเจ้าหน้าที่ สอ. เห็นการทำงานตรวจเท้าของทีม จากโรงพยาบาล แล้วเกิดความแปลกใจ สงสัย และก็เกิดสนใจที่จะเรียนรู้ร่วม

       - ทีมงาน ได้ประเมินเท้ามากขึ้น เป็นการเพิ่มทักษะการประเมิน และเสริมควมมั่นใจ (โดยเฉพาะตัวผมเอง)

        - ทีม อสม. เข้มแข็งมาก  มาช่วยเตรียมงานก่อนเวาลา ทำให้การตรวจเป็นระเบียบ และเสร็จตามเวลา

3.สิ่งที่ยังไม่บรรลุวัตถุประสงค์

       - จำนวนค้นไข้ยังไม่สามารถตรวจได้ทั้งหมด  ต้องให้ สอ.ช่วยตรวจ เป็นอีกกิจกรรมหนึ่งเมื่อออกเยี่ยมบ้านผู้ป่วย

     - ยังกำหนดรูปแบบไม่ได้ว่า จะทำ annual check up อย่างไร รวมทั้งการ fowlow up ให้ครอบคลุมทั้งหมด ในครั้งต่อไป จึงไม่ได้นัดคนไข้ได้ชัดเจน

4.สิ่งที่ต้องปรับปรุงสำหรับการทำกิจกรรมครั้งต่อไป

       - เตรียมตัวอย่างรองเท้า หรือรูปภาพ เกี่ยวกับการดูแลเท้าที่เหมาะสม ไปแนะนำให้ผู้ป่วยเห็นภาพชัดเจนขึ้น  และเตรียมแผ่นพับไปแจกเอาไว้อ่านกันลืม

       - ต้องบอกกับผู้ป่วยแต่ละราย ตอนประเมินเท้าว่าผลการตรวจเป็นอย่างไร และต้องทำอย่างไรต่อ  และย้ำพิเศษประเด็นไหน

      - ใช้เวลาเฉลี่ย 10 นาที ต่อราย จึงต้องกำหนดทีมออกประเมินให้พอ เมื่อไป สอ. อื่น ที่จำนวนผู้ป่วยมากน้อยต่างกัน

        - ในการตามคนไข้มาร่วมกิจกรรมการประสานงานผ่าน อสม. จะได้ผลดี และรวดเร็วที่สุด

        - นำข้อมูลที่ได้ ให้ทีมช่วยพิจารณา ว่าน่าจะเปิดเป็นคลินิกพิเศษอีกหนึ่งอย่าง เป็นคลินิกสุขภาพเท้า เพื่อนัดผู้ป่วยที่มีปัญหาเข้าคลินิกที่มีวันให้บริการชัดเจน

        - นำเรื่องให้ทีมช่วยคิดว่า จะทำอย่างไรกับเท้าผู้ป่วยทั่วไป(low risk)  โดยเฉพาะเรื่องรองเท้า เพื่อที่จะได้ป้องกันปัญหาในผู้ป่วยกลุ่มส่วนใหญ่ แต่เนิ่นๆ

 

ภก.เอนก ทนงหาญ  ผู้เล่าเรื่อง 

   

 บรรยากาศอบอุ่น

ผู้ป่วย ที่ สอ.นาหนาด ต้องนั่งกลางแดดฟัง เพราะวันนี้อากาศหนาวมาก แต่พวกเราอุ่นใจที่ผู้ป่วยมารอเราตั้งแต่เช้า

   

 ก้มดูเท้า

ลองดูเท้าตนเอง รวมทั้งรองเท้าว่าเป็นอย่างไร

   

 สนุกมาก

ตลกขบขัน เมื่อนักกายภาพ สอนบริหารเท้า  และพบว่าเท้ากับนิ้วเท้าก็สามารถออกกำลังบริหารได้ คือกัน(เหมือนกัน)

   

 ตรวจกันโล่งๆ กลางแจ้ง

ตั้งโต๊ะ จัดคิวตรวจกัน แบบนี้เลยครับ

     บริการตรวจทุกรูปแบบ อย่างคนนี้มีขาข้างเดียว (จากอุบัติเหตุ) แต่ก็สามารถขับรถมา ตวจได้
   

 เท้าแท้ๆ ของชาวบ้าน

เท้านี้หนา หยาบด้าน แตก แต่กลับไม่พบแผล หรือ พบ sensory      neuropathy

 

พบเท้าทีรุนแรงหลบซ่อน 

ไม่น่าเชื่อนะครับ ว่าเท้านี้ไม่เคยไปหาหมอเพื่อรักษา

     
     
     
คำสำคัญ (Tags): #dm#foot#care#ชุมชน#assessment
หมายเลขบันทึก: 13367เขียนเมื่อ 31 มกราคม 2006 18:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:15 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เยี่ยมมากค่ะ ทั้งงานที่ไปทำและการเขียนบล็อกที่อ่านแล้วนึกสนุกไปด้วย

อ่านแล้วเหมือนว่าได้เข้าร่วมกิจกรรมในวันนั้นด้วยเลยครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท