การแก้ไขปัญหาความยากจน ต้องมีการเรียนรู้และพัฒนาบนฐานการปฏิบัติ ข้อมูล ความรู้ และความดี


            (28 ม.ค. 49) ไปร่วม “ประชุมแก้ไขปัญหาความยากจน” ที่ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ผู้ร่วมประชุมประกอบด้วย พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ (ผู้อำนวยการ ศูนย์ต่อสู้เพื่อเอาชนะความยากจน/ศตจ.) คณะรัฐมนตรี ปลัดกระทรวง หัวหน้าส่วนราชการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
            ได้ให้ความเห็นไปว่า หัวใจของการแก้ไขปัญหาความยากจนน่าจะอยู่ที่การเรียนรู้และพัฒนาร่วมกันโดยทุกฝ่ายอย่างต่อเนื่อง และควรเป็นการเรียนรู้และพัฒนาบนฐานของการปฏิบติ การใช้ข้อมูล การใช้ความรู้ และการใช้ความดี (รวมถึงคุณธรรมจริยธรรม) ซึ่งประการสุดท้ายนี้ถือเป็นเรื่องสำคัญที่มักถูกละเลยหรือไม่ได้รับการมุ่งเน้นเท่าที่ควร
            และสนับสนุนข้อเสนอของสภาพัฒน์ ที่จะใช้ “กรณีศึกษา อำเภออาจสามารถ” ในการจัดฝึกอบรมให้กับนายอำเภอทั่วประเทศ เพื่อการแก้ไขปัญหาความยากจน
            อนึ่ง เห็นว่าในการแก้ปัญหาความยากจนโดยนายอำเภอนั้น นายอำเภอควรจะมีบทบาทเสมือนเป็น “ผู้บริหารระบบโรงพยาบาล” มากกว่าที่จะมีบทบาทเป็น “แพทย์” หรือ “พยาบาล” หรือแม้แต่เป็น “ผู้อำนวยการโรงพยาบาล” (ซึ่งบทบาท “ผู้อำนวยการโรงพยาบาล” ควรเป็นของนายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมากกว่า)

ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม
29 ม.ค. 49

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 14045เขียนเมื่อ 31 มกราคม 2006 18:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 เมษายน 2012 17:18 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท