วิถีปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาที่เข็มแข็ง


การพัฒนาสถานศึกษา
วิถีปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการเสริมสร้างสถานศึกษาที่เข็มแข็ง                  ตลอดระยะเวลาในการเป็นผู้บริหารในโรงเรียนมา 30 ปี  กระผมเฝ้าถามตัวเองเสมอว่าเราได้สร้างโรงเรียนประสบความสำเร็จสู่ความเป็นเลิศตามที่มุ่งหวังได้หรือยัง  แม้ว่าโรงเรียนที่เคยบริหารมา 7 โรงเรียน  จะมีความสำเร็จในระดับหนึ่งสามารถเข้ารับการประเมินได้รับรางวัลย์ในระดับโรงเรียนพระราชทาน  โรงเรียนดีเด่นในระดับจังหวัด  มีคุณภาพของผู้เรียนผ่านการประเมินของ สมศ.  หรือได้รับรางวัลย์ในระดับจังหวัดหรือระดับประเทศ  แต่ก็มีความรู้สึกว่ายังไม่ใช่โรงเรียนที่คิด  แม้ที่ผ่านมามีความสุขอยู่มากแต่ก็ยังไม่โล่งหัวใจ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งเราเหลือลาการทำงานเพียง 10 ปี ยิ่งทำให้เกิดความกดดันหัวใจ  แต่วันหนึ่งที่ได้รับฟังกระแสพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรง พระราชทานแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  ทำให้เกิดความหลุดพ้นจากความรู้สึกที่เป็นพันธนาการว่า  โรงเรียนที่เรามุ่งหวังอาจเกิดขึ้นไม่ได้ในช่วงชีวิตราชการ  แต่ผมสามารถสร้างโรงเรียนที่มีความเข้มแข็งและมีการพัฒนาได้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแลงของทุกยุคทุกสมัยได้  ความพอเหมาะ  ความสมเหตุผล  และการมีภูมิคุ้มกันให้สถานศึกษา  ย่อมเป็นทางสายกลางที่เหมาะสม  และเราเองน่าจะได้ชื่นใจเต็มหัวใจว่าเราทำหน้าที่ได้อย่างสมบูรณ์แล้ว  ดังนั้น  การคิดวิถีปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่การเสริมสร้างสถานศึกษาที่เข็มแข็งจึงเกิดขึ้น  แม้ว่าเรื่องนี้อาจมีคนได้พยามคิดไว้เช่นกัน  แต่ในบริบทของโรงเรียนแต่ละแห่งคงไม่เหมือนกัน  ดังนั้น วิถีการพัฒนางานตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงจึงเกิดขึ้น มีองค์ประกอบ 3 ประการ คือ  วิถีการบริหาร  วิถีวิชาการ  วิถีปฏิบัติ  วิถีการบริหารใช้หลักการบริหารแบบใจถึงใจเสริมสร้างพลังสร้างสรรค์ในการทำงาน หลักความพอประมาณ และหลักเหตุผล              วิถีวิชาการใช้หลักการบูรณาการเสริมสร้างคุณธรรมนำความรู้  วิถีปฏิบัติใช้หลักกิจกรรมนำสู่การเสริมสร้างคุณลักษณะ  ผลจากการใช้แนวทางดังกล่าวมา  จากการใช้การบริหารผ่านแนวคิดวิถีทั้ง 3  ทำให้สถานศึกษามีความเข็มแข็งทางด้านงบประมาณ  ด้านความรู้ความสามารถและจิตวิญญาณการทำงานของครู  และนักเรียนมีคุณลักษณะเด่นในด้านคุณธรรม  คุณลักษณะตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง  ซึ่งเป็นผลจากการประเมินทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ  แต่อย่างไรก็ตามนวัตกรรมนี้ยังคงต้องพัฒนาต่อไป  และหวังว่าท่านที่เข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้จะช่วยพัฒนานวัตกรรมนี้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อสถานศึกษา  ครู และผู้เรียนต่อไป 
หมายเลขบันทึก: 133517เขียนเมื่อ 1 ตุลาคม 2007 13:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 20:43 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

วันนี้ ศน.ไพรวัลย์ มาเป็นวิทยากรอบรมปฏิบัติการเรื่อง การพัฒนาระบบ e-Learning ด้วยโปรแกรม Moodle:LMS ให้แก่โรงเรียนในฝัน 14 โรงเรียน ที่โนนสูงศรีธานี เลยถือโอกาส "แว็บบบบ...." ยาวๆ มาเยี่ยมและแสดงความชื่นชมยินดีคุณครูและผู้บริหารที่สร้างบล๊อคเล่าเรื่องนวัตกรรมไว้ และเสริมคู่มือการเพิ่มบันทึก และการแก้ไขบันทึกไว้ให้ศึกษา ...ที่ http://www.korat1.info/sup/pdf/using%20blog.pdf

(คลิกเข้าไปได้เลยครับ)

...แล้วจะแวะมาชมใหม่นะครับ...
ปล. ท่าน ผอ. เจียดเวลามาเล่าเรื่อง สิ่งละอันพันละน้อยเรื่อยๆนะครับ...ผมรออ่านอยู่

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท