การพัฒนาการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นหลัก ที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กระบวนการกลุ่ม และคุณลักษณะที่พึงประสงค์


การพัฒนาการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นหลัก ที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กระบวนการกลุ่ม และคุณลักษณะที่พึงประสงค์

 

การพัฒนาการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นหลัก ที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กระบวนการกลุ่ม  และคุณลักษณะที่พึงประสงค์กลยุทธที่3 พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับดร. จันทร์  ติยะวงศ์  โรงเรียนสุรนารีวิทยา อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ..2542 หมวด 4 มาตราที่ 24และมาตรฐานของสพฐ.  ที่เกี่ยวข้องกับการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญจึงสร้างรูปแบบการสอนที่สร้างขึ้นใหม่ไม่ได้ลอกเลียนแบบใคร  ที่ไม่เคยใช้ที่อื่นมาก่อน และใช้ได้กับทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ ประกอบด้วยขั้นการสอน 7 ขั้นคือ1)ขั้นนำเสนอปัญหา  2)ขั้นไตร่ตรองรายบุคคล  3)ขั้นไตร่ตรองรายกลุ่ม 4)ขั้นนำเสนอ 5)ขั้นสรุป6)ขั้นขยายปัญหา 7)ขั้นประเมินและสะท้อนผลโดยได้สังเคราะห์รูปแบบการสอนจาก   1. การเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นหลัก(Problem –Based Learning)  2.ทฤษฎีการสร้างสรรค์ความรู้ (Constructivist Learning Theory)  และ3.ทฤษฎีการเรียนแบบร่วมมือ (Cooperative Learning Theory) มีวัตถุประสงค์ของการพัฒนานวัตกรรม พื่อพัฒนาการเรียนการสอนที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญโดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem-  Based  Approach) พื่อพัฒนาและส่งเสริมการคิดของนักเรียน  เพื่อให้นักเรียนมีทักษะกระบวนการกลุ่ม  เพื่อให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น  เกิดกระบวนการและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้   การพัฒนา ขยายผลให้ครูใน8กลุ่มสาระฯในภาคเรียนที่2/2547 จำนวน14 คน ภาคเรียนที่1/2548 จำนวน32 คนภาคเรียนที่2/2548 จำนวน27 คน มีประโยชน์คือครูได้รับความรู้และสามารถคิดปัญหาปลายเปิดที่เป็นปัญหาหลักสำหรับนำกิจกรรมการเรียนการสอนได้   สามารถนำขั้นการสอน ทั้ง 7ขั้นนำสู่บริบทการสอนจริงได้ ซึ่งบทบาทในการทำกิจกรรมมากกว่าครู   เป็นผู้อำนวยความสะดวก ต้องวางแผน เตรียมอุปกรณ์แบ่งกลุ่มแบบคละความสามารถ  ได้คิดย้อนกลับ( Backward Design ) ว่าจะต้องประเมินอะไร และประเมินอย่างไร จะได้เกิดการประเมินที่ตรงสภาพจริงที่สุด ในส่วนของนักเรียนได้พัฒนาการคิด ได้รับโอกาสในการคิด แสวงหาความรู้ ไม่ยึดติดกรอบเดิม มีปฏิสัมพันธ์กับกลุ่มเพื่อน รู้จักทำงานเป็นทีม เกิดความรักใคร่ในหมู่คณะเละความเอื้ออาทร กล้าคิดกล้าแสดงออกสามารถเป็นได้ทั้งผู้นำและผู้ตามได้  เป็นการ เปลี่ยนวิธีการเรียนของนักเรียนจากผู้รับเป็นผู้แสวงหาและสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง  ทำให้ นักเรียนเป็นผู้มีความรับผิดชอบในการทำงานทั้งงานเดี่ยวและงานกลุ่ม เป็นคนตรงเวลามากขึ้น และมีความรักที่จะเรียนมากขึ้น  และ ผู้บริหารได้นิเทศ กำกับติดตามให้แรงเสริมด้านกำลังใจและสื่อฯที่ใช้สอนทำให้โรงเรียนมีภาพของการสอนโดยเน้นนักเรียนเป็นสำคัญเด่นชัดขึ้น

หมายเลขบันทึก: 133513เขียนเมื่อ 1 ตุลาคม 2007 13:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 20:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

วันนี้ ศน.ไพรวัลย์ มาเป็นวิทยากรอบรมปฏิบัติการเรื่อง การพัฒนาระบบ e-Learning ด้วยโปรแกรม Moodle:LMS ให้แก่โรงเรียนในฝัน 14 โรงเรียน ที่โนนสูงศรีธานี เลยถือโอกาส "แว็บบบบ...." ยาวๆ มาเยี่ยมและแสดงความชื่นชมยินดีคุณครูและผู้บริหารที่สร้างบล๊อคเล่าเรื่องนวัตกรรมไว้ และเสริมคู่มือการเพิ่มบันทึก และการแก้ไขบันทึกไว้ให้ศึกษา ...ที่ http://www.korat1.info/sup/pdf/using%20blog.pdf

(คลิกเข้าไปได้เลยครับ)

...แล้วจะแวะมาชมใหม่นะครับ...

นรินทร์ทิพย์ วังคะฮาต

ลองนำไปใช้แล้ว ดีจริงด้วย แต่ครูเหนื่อยนะ ขอบคุณอีกครั้ง

ศิษย์มุกดาหาร

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท