การเสริมสร้างคุณธรรม จริยรรมครู


การเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม
เป็นภารกิจหลักของสถาบันการศึกษา
******************
        
             
ปัญหาการขาดคุณธรรม จริยธรรมของบุคคล ซึ่งส่งผลให้เกิดปัญหาสังคมจนกลายเป็นปัญหาของชาติบ้านเมือง และกลายเป็นปัญหาของสังคม นับวันทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ ปัญหาทางด้านสังคมดังกล่าว เป็นส่วนหนึ่งที่ถูกมองว่าเกิดความล้มเหลวด้านการจัดการศึกษา เสียงสะท้อนจากองค์กรต่าง ๆ ในสังคม ที่มีต่อการแก้ไขปัญหาหรือภาวะวิกฤติที่เกิดขึ้นในสังคมไทย อันเนื่องมาจากบุคคลขาดคุณธรรม จริยธรรม ต่างมีความเห็นสอดคล้องต้องกันว่า ภาระหน้าที่ในการสร้างสมดุลทางด้านคุณธรรม จริยธรรม ให้แก่บุคคลและสังคม กระทำได้โดยกระบวนการทางการศึกษา ซึ่งปรากฏให้เห็นจากกฎหมายหรือระเบียบที่สำคัญดังต่อไปนี้
             
๑. รัฐธรรมนูญ
             
๒. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
             
๓. ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติกับการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม             พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งถือได้ว่าเป็นกฎหมายแม่บทด้านการศึกษาของชาติ ได้ให้ความสำคัญเกี่ยวกับการพัฒนาบุคคลในแง่ของการสร้างความงดงาม ซึ่งปรากฏดังการให้ความหมายของการศึกษาเอาไว้ในมาตรา ๔ วรรคแรกว่า             "การศึกษา หมายความว่า กระบวนการเรียนรู้เพื่อความเจริญงอกงามของบุคลากร และสังคม โดยการถ่ายทอดความรู้ การฝึก การอบรม การสืบสานทางวัฒนธรรม การสร้างสรรค์จรรโลงความก้าวหน้าทางด้านวิชาการ การสร้างองค์ความรู้อันเกิดจากการจัดสภาพแวดล้อม สังคมการเรียนรู้ และปัจจัยเกื้อหนุนให้บุคคลเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต"              ในการสร้างความเจริญงอกงามของบุคคล และสังคมตามเจตนารมณ์ ของ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติฉบับนี้ คือ การเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม นั่นเอง ซึ่งเห็นได้จากการกล่าวถึงการจัดการศึกษา ในลักษณะของกระบวนการเรียนการสอน ในการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม เอาไว้อย่างเป็นระบบเริมจากความมุ่งหมายและหลักการ แนวทางการจัดการศึกษา การจัดกระบวนการเรียนรู้ สาระสำคัญของหลักสูตร และการประเมินผล โดยได้บัญญัติประเด็นดังกล่าวเอาไว้ในแต่ละมาตราไว้ ดังต่อไปนี้
             
๑. ความมุ่งหมายและหลักการได้บัญญัติเอาไว้ในมาตรา
             
๒. แนวการจัดการศึกษาได้บัญญัติเอาไว้ในมาตรา ๒๓ วรรคแรก
             
๓. การจัดกระบวนการเรียนรู้ ได้บัญญัติเอาไว้ในมาตรา ๒๔( ๔ )
             
๔. สาระสำคัญของหลักสูตร ได้บัญญัติเอาไว้ในมาตรา ๒๘ วรรคสอง
             
๕. การประเมินผล ได้บัญญัติเอาไว้ในมาตรา ๒๕คุณธรรม จริยธรรม : สาระที่ควรทราบ             คุณธรรม จริยธรรม คือ ประมวลการประพฤติปฏิบัติที่ดีงามทั้งกาย วาจา และจิตใจ โดยถือประพฤติปฏิบัติเป็นนิสัยทั้งต่อตัวเอง ต่อผู้อื่น และต่อสังคม
             ผู้ที่มีคุณธรรม จริยธรรม ย่อมเป็นที่พึงประสงค์ของบุคคลและหน่วยงานต่าง ๆ บุคคลที่มีคุณธรรม จริยธรรมดีงามมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้
             ๑. เป็นผู้ที่มีความพอดี ไม่ขาด ไม่เกินความพอดี คือ ปฏิบัติตนอยู่ในทางสายกลาง ไม่ขาด ไม่เกิน ไม่มาก ไม่น้อย
             ๒. เป็นผู้กระทำด้วยเจตนาดี ด้วยความบริสุทธิ์ใจ และทำไปเพื่อสิ่งที่ดีงาม ไม่ใช่ทำด้วยการถูกบังคับ หรือด้วยผลประโยชน์ใด ๆ
             ๓. เป็นผู้ที่มีเหตุผล พอใจที่ได้ปฏิบัติต่อผู้อื่น และเห็นประโยชน์ต่อผู้อื่นเป็นสำคัญ
             ๔. เป็นผู้ที่มุ่งสันติสุขหรือความสงบ ไม่ใช่มุ่งความสมบูรณ์พูนสุขเป็นที่ตั้ง
             ๕. เป็นผู้ที่มีความพอ รู้จักสละสิทธิทางธรรมชาติ เพื่อเห็นแก่ส่วนรวม และปฏิบัติตามข้อผูกพันและหน้าที่ด้วยความพอเหมาะพอควร
             ๖. เป็นผู้ที่มีนิสัยอันดีงามในการทำหน้าที่ รับผิดชอบต่อหน้าที่ และทำหน้าที่อย่างดีที่สุด
             ๗. เป็นผู้สามารถควบคุมแรงกระตุ้นและความยากต่าง ๆ เอาไว้ได้ด้วยเหตุผล
             ๘. เป็นผู้ที่ปฏิบัติตามกฎ หรือมาตรการทางจริยธรรม ได้เหมาะสมกับกาลเทศะอยู่เสมอคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักเรียน นักศึกษา
      ๑. ทางด้านร่างกาย
             - ให้มีสุขภาพสมบูรณ์เติบโตสมวัย
             - เข้าใจสาธารณสุขพื้นฐาน รู้จักป้องกันโรค
             - ปลอดจากสิ่งเสพติด
      ๒. ทางด้านจิตใจ
             - มีความสุข สงบ รู้จักพักผ่อน และสันทนาการในทางที่เหมาะสม
             - มีคุณธรรม จริยธรรม มีวินัย ภาคภูมิใจในตนเอง
             - มีจิตใจเป็นประชาธิปไตยเข้าใจคนอื่น
             - มีสุนทรี สำนึกในความเป็นไทย
             - มีจิตใจที่จะสู้สิ่งยาก เห็นคุณค่าและภาคภูมิใจในงานสุจริต
      ๓. ทางด้านความรู้
             - รู้จักคิด วิเคราะห์ แก้ปัญหา
             - ใฝ่เรียน ใฝ่รู้ด้วยตนเองตลอดชีวิต
             - สามารถปรับปรุงวิถีชีวิตและการทำงานให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี
             - รู้ภาษาไทย ภาษาต่างประเทศ เพื่อการสื่อสาร
             - รู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีพื้นฐาน
             - มีความสามารถในการจัดการ
             - รู้จักตนเอง ประเทศของตน ประเทศเพื่อนบ้าน รู้เท่าทันโลก
             - รู้และมีความสามารถที่จะทำให้ตนและผู้อื่นมีความสุข
             - รู้จักในพุทธปรัชญาในศาสนาที่ตนนับถือ
             - ไม่ยึดติดกับรูปแบบหรือคำตอบใดคำตอบเดียว
      ๔. ทางด้านทักษะการประกอบอาชีพ
             - มีทักษะเพียงพอที่จะประกอบอาชีพเฉพาะทาง
             - มีนิสัยในการทำงานที่ดี
             - สามารถพัฒนาสัมมาชีพจนสามารถแข่งขันกับตลาดโลกได้
             - สามารถพัฒนาอาชีพในท้องถิ่นแนวทางการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์
             ๑. ให้เรียนวิชาทางสังคมศาสตร์ และพฤติกรรมศาสตร์ ช่วยให้เกิดการพัฒนาจิตใจ
             ๒. การเน้นย้ำให้ครู อาจารย์ และเพื่อนช่วยกระตุ้นความตระหนักต่อสังคม ทั้งในและนอกวิชาเรียน
             ๓. ครู อาจารย์ เป็นแบบอย่างที่ดี
             ๔. เพื่อนเป็นตัวอย่างที่ดี
             ๕. การจัดโครงการหรือกิจกรรมเสริมหลักสูตร เพื่อพัฒนาจิตใจโดยตรง
             ๖. การสอดแทรกการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม เข้าไปในเนื้อหา และกระบวนการเรียนการสอนทุกวิชา
 
หมายเลขบันทึก: 133150เขียนเมื่อ 30 กันยายน 2007 09:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มิถุนายน 2012 11:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท