กลุ่มที่ ๖(รุ่งอรุณ)ศูนย์การเรียนรู้เชียงใหม่ ๑
กลุ่มที่ ๖ (รุ่งอรุณ) ศูนย์การเรียนรู้เชียงใหม่ ๑(ดอยสะเก็ด) ด.ต.ธีรกานต์ กลุ่มที่ ๖(รุ่งอรุณ)ศูนย์การเรียนรู้เชียงใหม่ ๑

สิ่งที่กลุ่มที่ ๖ (รุ่งอรุณ) ได้จากการทำสมุดบันทึกออนไลน์


เราชาวรุ่งอรุณได้ความเชื่อมั่นกลับคืนมา

สิ่งที่ได้จากการทำสมุดบันทึกออนไลน์ ของกลุ่มรุ่งอรุณ ประมาณค่ามิได้  เนื่องจากเป็นการค้นพบทุนของตนเอง ที่เขาเรียกกันว่า องค์ความรู้ที่มีในตัวตน (Tacit Knowledge)  ที่เป็นศักยภาพของนักศึกษากลุ่มที่ ๖ รุ่งอรุณ ทั้ง ๑๑ ชีวิต   ได้ร่วมกันศึกษาค้นคว้าทุกรูปแบบ ทั้งเอกสาร องค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาสากล  (Explicit Knowledge) จนได้พบองค์ความรู้ใหม่  การปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice)  อันเกิดจากการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ ทำให้เห็นคุณค่าขององค์ความรู้ต่าง ๆ เปลี่ยนความคิด  เปลี่ยนแนวทางการปฏิบัติตน  ทำให้เห็นคุณค่าขององค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น  ประยุกต์ใช้เพื่อการอยู่รอดท่ามกลางกระแสโลกาภิวัตน์  มีความสุข  มีศักดิ์ศรี  ยกตัวอย่างเช่น ช้างไถนา ที่บ้านนาเกียน อมก๋อย เชียงใหม่  แสดงให้เห็นว่า พี่น้องชาวปะกากะญอที่นั่นได้ใช้องค์ความรู้ภูมิปัญญา ของบรรพบุรุษ สร้างสรรค์นาข้าวของตน เพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน สร้างรายได้จากการท่องเที่ยว  จนสามารถพึ่งตนเองได้อย่างมีศักดิ์ศรี มีความสุข  ไม่ต้องทิ้งถิ่นฐาน บุกป่าใหม่ หนีเข้าเมือง ไปรับจ้างขายแรงงานราคาถูก อีกต่อไป%e0%b8%8a%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b9%84%e0%b8%96%e0%b8%99%e0%b8%b2

ด.ต. ธีรกานต์  เทพขาว   ประธานกลุ่มที่ ๖ รุ่งอรุณ /รายงาน

หมายเลขบันทึก: 133144เขียนเมื่อ 30 กันยายน 2007 08:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 03:41 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ทำให้ชีวิตดีขึ้นระหว่างเรียน รู้จักการจัดการเวลา  จัดการความรู้  ไม่ปล่อยเวลาให้ทิ้งไปเหมือนดังเช่นก่อนมาเรียน  ทั้งความคิด วิธีปฏิบัติเปลี่ยนไป  ครองครัวมีความสุขดีครับ

อำนวย ทิพย์จักร์/ รายงาน

เรียนรู้เข้าถึง  ชุมชนอย่างแท้จริง    เยี่ยมเจ้าค่ะ

 

การปฏิบัติตนอยู่อย่างพอดี    แต่กาลเวลา  และธรรมชาติไม่เคยปราณีใคร 

 Red_billed_blue_magpiePict0691

ความหลากหลายทางชีวภาพของชุมชนเรายังมีอีกมากมาย ค้นให้พบใช้ให้เป็น  ต้นทุนชีวิตต้องมี ชีวิตต้องมีแผน  แม้ชุมชนก็ต้องมีแผนแม่บทเป็นของตนเอง อันเกิดจากการเรียนรู้ร่วมกัน อย่างสร้างสรรค์ ให้คุณค่ากับภูมิปัญญาท้องถิ่น ประยุกต์ให้เหมาะสมกับภูมิปัญญาสากล  จนเกิดองค์ความรู้ใหม่ ที่บ่งชี้ถึงความเป็นเลิศทางปัญญา โดยเฉพาะธรรมชาติ  ต้องอยู่ร่วมกันอย่างเคารพรักษา คือที่มาของความสุขอย่างยั่งยืน  ณ วันนี้ บ้านของกระผมถูกน้ำป่าไหลหลากท่วม (ไม่ท่วมขัง แต่ท่วมแบบไหลหลาก) ตั้งแต่วันที่ ๒๘ ก.ย.๒๕๕๐ - ถึงวันนี้ก็ยังไม่ลด ยังมีแนวโน้มว่าจะมาอย่างหนักอีกระรอกหนึ่ง ในฐานะผู้ใหญ่บ้าน ก็ต้องเฝ้าฝัง เตรียมความพร้อมที่จะประกาศเพื่ออพยพชาวบ้านไปอยู่ที่ปลอดภัย 

ขอบคุณในน้ำใจของ ป้อดาบธีรกานต์ฯ  และเพื่อนกลุ่มที่ ๖ (รุ่งอรุณ)  ทุกท่านที่ไปเยี่ยมเยือนให้กำลังใจกันถึงแม่วาง  หวังว่ามหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร คือแห่งสุดท้ายของพวกเราที่จะรับพระราชทานปริญญาตรี ร่วมกัน ขอบคุณอีกครั้งครับ

สายฟ้าแลบเก่งจริง ๆ ช้างเชือกนี้ เป็นภาพที่ประทับใจที่สุดเลย เห็นภาพแล้วอยากจะเห็นที่เขาไถนาจริง ๆ ฤดูไถนาที่อมก๋อยมีเมื่อไหร่ป้าเยาว์จะขอพากลุ่มสานฝันไปดูให้เป็นบุญตาจะได้ก่อเจ้า (ให้ประธานและสมาชิกกลุ่มรุ่งอรุณนำขบวน..)
การพึ่งตนเองในป่า
น่าชื่นชมกับการประยุกต์ให้องค์ความรู้ภูมิปัญญา เพื่อความอยู่รอดของชุมชนจริง ๆ บนฐานการพึ่งตนเองระดับหนึ่ง  ช้างที่ผูกพันเป็นสายใยชีวิตของชาวกะเหรี่ยง (ปะกากะญอ) ชื่อพังแม่งาดี บ้านสบอมแฮด สะท้อนภาพชีวิตบนหลักการเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างชัดเจน  เชือกที่ผ่านการฝึกฝน จนรู้ใจกันและกัน ฝนตกฟ้าร้องมไปนไร แต่ถ้าร้อน กินไม่อิ่ม เท้าเจ็บ ก็จะไม่นำไปไถนาเด็ดขาด  โดยเอาตัวคนเป็นที่ตั้งของความรู้สึก  คุณลุงทีแฮ วัย ๗๓ ขวบปี เล่าว่า เมื่ออยู่ป่า ควรดำเนินชีวิตให้กลมกลืนกับธรรมชาติ อยู่ร่วมกันอย่างเคารพรักษา ป่าจะให้ชีวิต อาหาร ยารักษาโรค ไม่ควรใช้เครื่องยนต์เข้ามาทำลายสิ่งแวดล้อม
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท