โครงงาน


โครงงานวิทยาศาสตร์

โครงงานวิทยาศาสตร์         เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้นักเรียน  นําวิธีการทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในการแก้ปัญหาอย่างมีขั้นตอน  ส่งเสริมให้นักเรียนได้คิดวิเคราะหด้วยตนเอง  มีความคิดสร้างสรรครู้จักประดิษฐ คิดค้น  หาความรู้ด้วยตนเอง ซึ่งมีความสําคัญต่อการพัฒนาบุคลากร  อันส่งผลต่อการพัฒนาเยาวชนเป็นอย่างยิ่ง  ซึ่งมีทั้งหมด  4  ประเภทด้วยกัน

 

1. ประเภทการสํารวจ      รวบรวมข้อมูลจากธรรมชาติ

2. ประเภทการทดลอง   เพื่อศึกษาปรากฎการณ์ อย่างใดอย่างหนึ่ง

3. ประเภทการประดิษฐ์    เป็นการคิดค้นวิธีการใหม่ ๆ

4.ประเภททฤษฎี  การอธิบายปรากฎการณ์ต่างๆ  ในแนวใหม่  

 

ประเภททดลอง 

เช่น

- การศึกษาอิทธิพลของแสงสีต่างๆ  ต่อการเจริญเติบโตของพืช

-การลดปริมาณคาร์บอนไดออกไซดในอากาศ

- การใช้ผักตบชวาในการกําจัดของเสีย

-การศึกษาการเจริญของพืชที่ปลูกในวัสดุต่างกัน

- การใช้พืชสมุนไพรกําจัดลูกน้ำ

- การศึกษาการใช้เส้นใยจากต้นกล้วยในการทํากระดาษ   

ประเภททฤษฎี

 

     โครงงานประเภทนี้จะต้องนําเสนอแนวคิดใหม่ๆ  โดยมีหลักการทางวิทยาศาสตร หรือการอธิบายเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างมีเหตุผล  หรือการอธิบายปรากฏการณเก่าในแนวใหม อาจเสนอในรูปคําอธิบาย สูตร สมการ โดยมีข้อมูลสนับสนุนอ้างอิง  ผู้ทําจะต้องมีความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นอย่างดี  และต้องศึกษาค้นคว้าเรื่องราวที่เกี่ยวข้องอย่างมาก

 

ประเภทสิ่งประดิษฐ์     

-   เครื่องให้อาหารสุนัขอัตโนมัติ

- เครื่องวัดความเค็มราคาถูก

-เครื่องวดความเร็วลม

-เครื่องปิด เปิดระบบให้น้ำในไร่อัตโนมัติ

-เครื่องไล่ยุง กําจัดยุง

-เครื่องปอกเปลือกมะพร้าว  ฯลฯ 

      (แต่สิ่งประดิฐษ์จะต้องมีขั้นตอนทางวิทยาศาตร์  ถ้าไม่มีการทดลองและเก็บรวบรวมข้อมูลมาศึกษาวิเคราะห์แล้วก็จะไม่ถือว่าเป็นโครงงาน  แต่จะจัดให้เป็นได้แค่สิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์เท่านั้นคนับครับ  ข้อนี้ควรระวังเป็นอย่างยิ่ง) 

ประเภทสำรวจ

 -  การสำรวจสัตว์ป่า

 -  การสำรวจชนิดของปลาในแม่น้ำ , คลอง

 

-  การสำรวจความหลากหลายของพรรณพืชในแต่ละท้องที่

 

ข้อควรคำนึงในการทำโครงงาน

1. เตรียมวัสดุ อุปกรณ์และสถานที่

2. จดบันทึกกิจกรรมประจําวันว่าทําอะไรไปบ้าง  ผลเป็นอย่างไร

3. ทําการทดลองอย่างรอบคอบ

4. บันทึกข้อมูลให้เป็นระเบียบครบถ้วน

5. ประหยัด และปลอดภัย

6. ทําตามแผน อาจเพิ่มเติมได้ถ้าคิดว่าทําให้ผลงานดีขึ้น

7. ควรทําการทดลองซ้ำ เพื่อให้ข้อมูลที่เชื่อถือได้

8. ควรทํางานเป็นขั้นตอน

9. ถ้าเป็นสิ่งประดิษฐควรคํานึงถึงความคงทน แข็งแรง     ความเหมาะสมของขนาด

10. ไม่ควรเลือกเรื่องที่คนทั่วไปเขารู้ๆกันแล้ว     

11.  ควรเลือกเรื่องที่สามารถนำมาใช้แก้ปัยหา  หรือใช้ประโยชน์ได้  ยิ่งมีประโยชน์ต่อสถานการณ์ปัจจุบันมากเท่าไร   ก็ยิ่งมีคุณค่ามากเท่านั้น 

 

ผู้เกี่ยวข้องในการทำโครงงาน

1. ครู หรืออาจารยที่ปรึกษา

2. ผู้บริหารโรงเรียน

3. นักเรียนที่ทําโครงงานวิทยาศาสตร์

4. ผู้ทรงคุณวุฒิ หรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน

5. ผู้ปกครอง

บทบาทของครูในการทำโครงงาน

1.  ครูควรกระตุ้นให้นักเรียนเกิดความสนใจในการทําโครงงานวิทยาสาสตร์

2.  แนะแนวให้นักเรียนรู้หลักการและวิธีการในการทําโครงงาน ฯ

3. จัดกิจกรรมเพื่อช่วยให้นักเรียนสัมผัสกับปัญหา     หรือมองเห็นปัญหา

4. แนะแนวทางแก่นักเรียนในการเลือกหัวข้อเรื่อง   หรือปัญหาที่จะศึกษา

5.  ให้คําปรึกษากับนักเรียนในการวางแผนดําเนินงาน

6.  อํานวยความสะดวกกับนักเรียนในการทําโครงงาน ฯ

7.  ติดตามการทําโครงงาน ฯ ทุกระยะ    คอยให้คําปรึกษา  หรือช่วยเหลือเมื่อจําเป็น

8. ให้คําปรึกษาในการเขียนโครงงาน ฯ

9. ให้โอกาสนักเรียนได้แสดงผลงานต่อผู้อื่นตามโอกาสที่เหมาะสม  ในรูปแบบต่างๆ

10.  ประเมินผลการทําโครงงานฯของนักเรียน

บทบาทของนักเรียนในการทำโครงงาน

1.  ริเริ่ม และเลือกเรื่องที่จะศึกษา

2.  ออกแบบการทดลอง

3.  ดำเนินการทดลอง

4.  สรุปผลการทดลอง

5.  เสนอผลการทดลอง

การเขียนบทคัดย่อ

           การเขียนบทคัดย่อโดยทั่วๆ ไปจะมีความยาวประมาณ 400 คํา  เขียนให้สั้น กระชับ กินความมากที่สุดเท่าที่จะทําได้ให้รวบรวมเนื้อหาทั้งเล่มนั้น  มาอยู่ใน 400 คำ  ในบทคัดย่อไม่ต้องไอ้างอิงผลงานวิจัย ไม่ต้องแสดงรายละเอียด หรือใช้คําพูดซ้ำในเรื่องที่ควรจะรู้กันอยู่แล้ว  ซึ่งมีลักษณะดังนี้ 

1. เป็นเรื่องย่อที่ถูกนําแยกส่วนไปจากบทความเรื่องเต็ม

2. เป็นเรื่องย่อหรือเรื่องสั้นที่มีความสมบูรณ์ในตัวอง

3. ไม่ช่ย่อความ ที่ย่อสรุปเฉพาะผลการศึกษา วิจัยหรือ  เรื่องในตอนใดตอนหนึ่ง

4. มีเนื้อหาครบถ้วนตั้งแต่ ความสําคัญของการศึกษา       วัตถุประสงค์   วิธีการ ผลวิจัย และสรุปผล  ผู้เขียนควรเข้าใจความสําคัญและหน้าที่ของบทคัดย่อเสียก่อน   เพื่อที่จะได้เขียนบทคัดย่อใหถูกต้อง ตรงตามบทบาทของบทคัดย่อ

โครงงาน 5 บท  เขียนอย่างไร

 

บทที่ 1  บทนำ

-  ที่มาและความสำคัญ/ปัญหา

-         จุดมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า

-         สมมุติบานของการศึกษาค้นคว้า

-         ตัวแปรที่เกี่ยวข้อง

1.  ตัวแปรต้น

2.  ตัวแปรตาม 

3.  ตัวแปรควบคุม

-         ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า

1.  สถานที่

2.  ระยะเวลา

3.  สิ่งที่จะศึกษา   เช่นชนิด,จำนวนพืชที่จะศึกษา

-       ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 

บทที่ 2  เอกสารที่เกี่ยวข้อง

บทที่ 3 อุปกรณ์และวิธีการดำเนินการ

-         อุปกรณ์และวัสดุที่ใช้ในการศึกษา

          -    ขั้นตอนการดำเนินงาน

บทที่  4  ผลการศึกษาและอภิปรายผลการศึกษา

- ผลการศึกษา     

            เป็นขั้นตอนเลือกรูปแบบวิธีการนำเสนอที่เหมาะสม  เพื่อให้เข้าใจง่ายและเป็นระเบียบเป็นระบบ  เลือกให้สอดคล้องกับรูปแบบข้อมูลที่จะนำเสนอ  ดังนี้  เช่น   

1. กราฟแท่ง    

2. กราฟเส้น   

3. ตาราง   

4. สัดส่วนวงกลม

5. อธิบายธรรมดา

- อภิปรายผลการศึกษา

บทที่ 5

สรุปผลการทดลอง/ ข้อเสนอแนะ/ ประโยชน์ที่ได้รับ

- สรุปผลการทดลอง

- ข้อเสนอแนะ

- ประโยชน์ที่ได้รับ

- บรรณานุกรม

ยังไม่จบเว็บมีปัญหากำลังแก้ไขครับ

หมายเลขบันทึก: 131729เขียนเมื่อ 25 กันยายน 2007 21:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 16:52 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท