กลุ่มออมทรัพย์อำเภอพระสมุทรเจดีย์ (ตอนที่ ๓)


เมื่อมีกองทุนหมู่บ้านมาคณะกรรมการบางกลุ่มไม่อยากรับไว้เนื่องจากไม่อยากมีปัญหาเรื่องความแตกแยก

การดำเนินการของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต (กลุ่มสัจจะออมทรัพย์เพื่อการผลิต)มีการเรียนรู้เรื่อยมาตั้งแต่ปี ๒๕๔๑

๑) เรื่องของกฎระเบียบมีการเรียนรู้จากประสบการณ์เดิมที่เคยผ่านมาของคณะกรรมการ ทั้งจากการเรียนรู้โดยอ่านเอกสาร การสอบถาม การศึกษาดูงาน มีการปรับปรุงเรื่อยๆเมื่อ ความผิดพลาดเกิดขึ้น

๒) เรื่องของการบริหารงาน อาศัยความไว้เนื้อเชื่อใจอย่างมาก เพราะเงินเป็นของทุกคน และไม่มีหลักฐานที่เป็นเอกสารสำคัญทางราชการ (ทำให้คณะกรรมการชุดนี้บางคนเป็นมาตั้งแต่ปี ๔๑ จนถึงปัจจุบัน) คณะกรรมการบาคนบ่นว่าไม่มีใครมาแทนเลยบางครั้งก็เหนื่อยเหมือนกัน แสดงว่าเริ่มนึกถึงอนาคตว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป

๓)เรื่องการดำเนินงานนอกจากการปล่อยกู้แล้วยังต้องจัดการเรื่องของร้านค้ากลุ่มเนื่องจากมีการสนับสนุนจึงต้องมีการดำเนินการต่อ จากเดิมมีการเปิดร้านค้า แต่ล้มเหลวเมื่อมีร้าน เซเว่นอีเลเว่นมาเปิดที่บริเวณปากซอย อีกทั้งมีห้างใหญ่ๆมาเปิดระยะไม่ห่างมากประมาณ 12 กิโลเมตร อีกทั้งกระแสสังคมบริโภคเข้ามามากทำให้ร้านสู้ไม่ไหวต้องปิดตัวลง เปลี่ยนมาทำธุรกิจอื่นคือรับจ่ายค่าน้ำ ค่าไฟ ให้โดยคิดฉบับละ 10 บาท ต่อมาเด็กที่รับก็ไม่สุจริต จึงล้มเลิก เปลี่ยนมาทำกิจการโทรศัพท์ให้เช่าเป็นนาที แต่เมื่อเกิดกระแสการแข่งขีนตลาดใหญ่เรื่องมือถือจึงขาดทุนทำให้ต้องล้มเลิกกิจการไป เลยนำเงินที่เหลือไปปล่อยกู้ให้กับพ่อค้าแม่ค้าที่ดำเนินกิจการค้าขายอยู่แล้ว (ของกลุ่มอื่นเงินไม่เหลือยังไม่มีคนว่าอะไรเลย แค่ขอให้เกิดกระบวนการก็พอแล้ว)

หมายเลขบันทึก: 13083เขียนเมื่อ 23 มกราคม 2006 15:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 พฤษภาคม 2012 23:48 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

อ.เบียร์สะสมความรู้เรื่องความเป็นมาและสถานภาพของกลุ่มที่พัฒนาล้มลุกคลุกคลานมาตลอดช่วงเวลาของการจัดตั้งกลุ่มจนถึงปัจจุบัน ถ้าทำได้ทุกกลุ่มเป้าหมาย ก็จะเป็นฐานความรู้ที่จะช่วยให้ทีมวิจัยสามารถจัดกระบวนการเรียนรู้โดยตั้งประเด็น เพิ่มแหล่งเรียนรู้ที่สอดรับกับการเติบโตของกลุ่ม ฯลฯ เพื่อให้กลุ่มเข้มแข็งขึ้นซึ่งเป็นเป้าหมายของการจัดการความรู้ได้เป็นอย่างดี

เข้มแข็งขึ้นเป็นนามธรรม การจัดการความรู้จะช่วยทำให้เป็นรูปธรรมคือมีตัวชี้วัดอะไรบ้าง

เครือข่ายบางปลากดยังไม่เกาะกันเป็นขบวนเท่าไรนักและเข้าใจว่าโดยโครงสร้างที่เป็นการสนับสนุนทางนโยบายและกฏหมายของภาครัฐ จะทำให้เครือข่ายเป็นได้เพียงเวทีเรียนรู้ซึ่งไม่เป็นขบวนการของชุมชนอย่างลำปางและสงขลา รวมทั้งของตราดด้วย(กะหรอเองก็เช่นเดียวกับบางปลากด แม้จะรวมตัวกันในระดับเครือข่ายค่อนข้างเหนียวแน่น แต่ดูจากการดำเนินงาน  กองทุนสัจจะวันละ1บาทที่เครือข่ายขอแยกมาตั้งกรรมการอีกชุดดูแล เพื่อไม่ให้อยู่ในโครงสร้างของเครือข่ายโดยมีความเห็นว่าเครือข่ายถูกควบคุมโดยระเบียบของกองทุนชาติ ทำให้แกนนำเครือข่ายรู้สึกลึกๆว่ามีอำนาจจัดการไม่เต็มที่)

การพัฒนากลุ่มให้เข้มแข็งซึ่งโยงไปถึงสมาชิกด้วยจึงเป็นเป้าหมายสำคัญของการจัดการความรู้ของตำบลในคลองบางปลากด สมุทรปราการ โดยการเรียนรู้อย่างเข้มข้นภายในกลุ่มเครือข่ายซึ่งอยู่ใกล้กันและเรียนรู้จากภายนอก เช่นหมู่13ของผญ.เทพมีการเชื่อมโยงกับกลุ่มออมทรัพย์อย่างไร การขยายเป็นธนาคารหมู่บ้านอย่างไร ล้วนเป็นประเด็นในการขับเคลื่อนกองทุนหมู่บ้าน1ล้านบาท

สรุปคือ ผมคิดว่า ควรเน้นจัดการความรู้ระดับหมู่บ้านโดยมีกองทุนหมู่บ้านเป็นฐานดำเนินการสำคัญ ศึกษาดูว่ากองทุนหมู่บ้านสัมพันธ์เชื่อมโยงกับกลุ่ม/กิจกรรมอื่นๆอย่างไรบ้างทั้งภายใน  หมู่บ้านและระดับตำบล ถ้ามีความสัมพันธ์แต่ไม่ขึ้นต่อกันถือเป็นเครือข่ายเรียนรู้ ถ้าสัมพันธ์แต่ขึ้นต่อกันอย่างใดอย่างหนึ่งถือเป็นเครือข่ายจัดการ (ระดับลึกซึ้งต่างๆกัน เช่นกะหรอมีระบบหลายอย่างร่วมกันในระดับเครือข่าย ลองนึกเปรียบเทียบ        สหประชาชาติ สหรัฐ และสหภาพยุโรปก็ได้ครับ) บางปลากดเท่าที่สัมผัสมารู้สึกว่าร่วมเป็นเครือข่ายระดับตำบลแบบสหประชาชาติ ในระดับหมู่บ้านของตัวอย่างหมู่13 จะร่วมกับออมทรัพย์มากพอสมควร ระดับไหน ทีมวิจัยลองถอดดูนะครับ

ถ้าจะพัฒนากองทุนหมู่13 ก็เริ่มจากความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในความเป็นมาสถานะภาพและความสัมพันธ์ต่างๆ ศึกษาระบบการจัดการของกรรมการ ถ้าชัดเจนที่สุดคือดูจากระเบียบซึ่งเป็นตัวกำหนดตัวตนและความสัมพันธ์(คล้ายกับรัฐธรรมนูญเป็นตัวกำหนดความเป็นรัฐชาติ) การจัดการความรู้อิงอยู่บนความเข้าใจ 3 องค์ประกอบของกลุ่มคือ ระเบียบ สมาชิก และกรรมการ โดยที่การจัดการความรู้หรือการพัฒนาจะกระทำผ่านกรรมการโดยเชื่อมโยงกับสมาชิกเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ตั้งไว้ตามที่เขียนไว้ในกรอบระเบียบ และเพื่อปรับเปลี่ยนระเบียบให้เอื้อประโยชน์ต่อสมาชิกและชุมชนมากยิ่งขึ้น หมุนเวียนพัฒนาให้ดียิ่งๆขึ้น

การบริหารจัดการของกรรมการเป็นหัวใจสำคัญ ทีมวิจัยจะเข้าไปช่วยพัฒนา(จัดการความรู้)โดยใช้ความรู้เป็นหัวใจสำคัญในการทำงาน ดังนั้นทีมวิจัยต้องเข้าใจเรื่องราวต่างๆข้างต้น รวมทั้งหน่วยงานสนับสนุนที่เกี่ยวข้องทั้งราชการและอบต.ด้วยก็จะทำหน้าที่สนับสนุนการเรียนรู้ให้กับกลุ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพ

จัดกระบวนการประชุม ตั้งประเด็น เชื่อมโยงความร่วมมือ     สรุปประเด็นให้เห็นภาพรวม ฯลฯ โดยร่วมงานกับหน่วยสนับสนุนที่มีภารกิจดังกล่าว เช่นพช.กศน.ธกส.ออมสินฯลฯ ถ้าสามารถเป็นกระจกเงาหรือพี่เลี้ยงให้กับหน่วยสนับสนุนและกรรมการกลุ่มให้ใช้ความรู้ในการทำงานทุกขั้นตอนเพื่อไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้  ก็จะเป็นหัวใจของงานวิจัยจัดการความรู้ในครั้งนี้ ซึ่งเป็นเรื่องที่นักวิจัยต้องเรียนรู้ไปด้วย และหลายอย่างเป็นเรื่องใหม่ที่ไม่มีพื้นฐานความรู้หรือทักษะมาก่อน จึงไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็ไม่เหลือบ่ากว่าแรงของพวกเราหรอกครับ ขอเพียงตั้งใจและจัดสรรเวลาให้เหมาะสม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท