ก๊าซชีวภาพจากวัสดุในท้องถิ่น


ก๊าซชีวภาพจากวัสดุใท้องถิ่น

จากเรื่องเล่าของนางสาวเรวดี  อนุรักษ์   ครูโรงเรียนโสภณคณาภรณ์  สังกัด  สพท.นศ.3   ได้ริเริ่มการทำก๊ซชีวภาพจากวัสดุในท้องถิ่น  ดังนี้
         จากการจัดการเรียนการสอนวิชาเทคโนโลยีชีวภาพกับสิ่งแวดล้อมเพื่อให้นักเรียนนำความรู้ทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพมาใช้ในด้านต่างๆให้เกิดประโยชน์ต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมโดยใช้ทักษะกระบวนการเรียนรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ ข้าพเจ้าจึงให้นักเรียนได้ร่วมกันคิดนวัตกรรมที่ใช้เทคนิคทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพมาใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อชุมชน โดยมอบหมายให้นักเรียนไปสำรวจสิ่งแวดล้อมบริเวณชุมชน ต. เกาะทวดเพื่อนำมาซึ่งการใช้เทคนิคทางเทคโนโลยีชีวภาพให้เหมาะสมกับสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นของเรา จึงได้ทำก๊าซชีวภาพขึ้นซึ่งในการทำก๊าซชีวภาพได้มีการศึกษามาแล้ว
             จากการสำรวจสิ่งแวดล้อมในชุมชน ต. เกาะทวดซึ่งเป็นเขตพื้นที่บริการของโรงเรียนโศภนคณาภรณ์ พบว่าส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม   ได้แก่   ทำนา   ปลูกผักและเลี้ยงสัตว์   เป็นอาชีพหลัก   พบเศษผัก  เศษอาหาร   ผลไม้สุกประเภทกล้วย   มะละกอ   และมูลสัตว์มีอยู่มากมายทุกครัวเรือนทิ้งกระจัดกระจายน่าจะนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้   จึงให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายว่าจะทำอย่างไรกับเศษอาหารเหลือทิ้งหรือมูลสัตว์ที่ส่งกลิ่นเน่าเหม็นมาใช้ให้เกิดประโยชน์จึงได้คิดทำก๊าซชีวภาพขึ้นจากนั้นโดยให้นักเรียนช่วยกันอภิปรายจากข้อมูลดังกล่าวเพื่อหาแนวทางในการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชนให้เกิดประโยชน์มากที่สุด ซึ่งพวกผัก ผลไม้ที่เน่าเสียและมูลสัตว์น่าจะนำมาผลิตก๊าซชีวภาพได้ ให้นักเรียนทำรายงานค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับการทำก๊าซชีวภาพ จากนั้นนำข้อมูลมาอภิปรายถึงความเป็นไปได้ที่จะเติมเศษอาหาร ผักผลไม้ ลงไปพร้อมกับมูลสัตว์โดยต้องคำนึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการผลิตก๊าซชีวภาพ และการย่อยสลายสารอินทรีย์ เช่น อุณหภูมิ ความเป็นกรด-ด่าง เป็นต้น
           
จากการศึกษาการทำก๊าซชีวภาพเช่น การศึกษาก๊าซชีวภาพจากมูลช้าง , ก๊าซชีวภาพจากมูลสุกร เป็นต้น พบว่าบ่อหมักทำด้วยคอนกรีตหรือการก่ออิฐฉาบปูนหรือทำเป็นโลหะก็ได้ให้อยู่ใต้ดินหรือบนพื้นก็ได้และการทำบ่อหมักมีขั้นตอนที่ยุ่งยากและมีค่าใช้จ่ายในการทำบ่อหมักที่แพ ในการศึกษาครั้งนี้จึงประยุกต์ใช้ถังพลาสติกมาใช้ในการทำก๊าซ 3 ถัง และมีวิธีการผลิตที่ง่ายขึ้นและลงทุนต่ำ เอื้อประโยชน์ให้ชาวบ้านสนใจที่จะนำไปประยุกต์ใช้ได้ในครัวเรือน
         
การทดลองใช้หรือการพัฒนา
         
จากการได้นำก๊าซชีวภาพไปใช้ในท้องถิ่นชาวบ้านประหยัดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนเป็นการสนับสนุนหลักเศรษฐกิจแบบพอเพียง ช่วยลดปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ส่งกลิ่นเน่าเหม็น สามารถนำกากที่ได้จากการหมักก๊าซชีวภาพไปใช้เป็นปุ๋ยได้ดีกว่ามูลสัตว์สดๆและปุ๋ยคอก และที่สำคัญนักเรียนรู้จักคิดเชิงวิทยาศาสตร์และนำวัตถุดิบใกล้ตัวนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด
         การผลิตก๊าซชีวภาพจากวัสดุในท้องถิ่น   เกิดจากแนวคิดเพื่อที่จะแก้ปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและระบบนิเวศในท้องถิ่น   โดยการร่วมมือของนักเรียน   โรงเรียนและชุมชน   เพื่อนำความรู้และประสบการณ์เผยแพร่ให้ชุมชนได้นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงที่สุด   ที่ผ่านมานักเรียนนำไปบอกกล่าวผู้ปกครอง  ซึ่งผู้ปกครองหลายท่านให้ความสนใจและเข้ามาศึกษาข้อมูลเพื่อนำไปประยุกต์ใช้   และกำลังประสานกับ   อบต.   ในเขตพื้นที่บริการของโรงเรียน  เพื่อเผยแพร่ความรู้ให้ชุมชน   ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีประจำตำบลในโอกาสต่อไป  

 

 

หมายเลขบันทึก: 129910เขียนเมื่อ 20 กันยายน 2007 12:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 01:01 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

เราสามารถผลิตก๊าซชีวภาพได้เองหรือเปล่า

พวกเราชอบอนุรักษ์สิ่งเเวดล้อม และอยากให้เพื่อนๆช่วยกันรักษาสภาพสิ่งแวดล้อม

หากสนใจเรื่องก๊าซชีวภาพฯ ขอเชิญติดต่อโดยตรงได้ที่ครูเรวดี อนุรักษ์ โรงเรียนโสภณคณาภรณ์ อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช ได้คะ

ธวัชชัย ตระกูลวณิชย์

ผมอยากได้แบบและรูปภาพบ่อผลิตก๊าซชีวภาพเพื่อใช้ในครัวเรือน ตลอดจนงบประมาณ ที่ใช้ในการก่อสร้าง เพื่อที่จะได้เผยแพร่ให้กับกลุ่มเกษตรกรในเขตพื้นที่ผมรับผิดชอบ

คุณธวัชชัย... ขอโทษคะที่ติดต่อล่าช้า เพราะช่วงนี้ไม่ค่อยมีเวลาว่าง หากคุณสนใจกรุณาติดต่อที่คุณครูเรวดี อนุรักษ์ นะคะ คุณครูได้ผลิตก๊าซชีวภาพ สามารถใช้ในการหุงต้มได้ ส่วนน้ำหมักใช้เป็นปุ๋ยบำรุงต้นไม้และขับไล่แมลง

mark เป็นชื่อเล่นของผมเองนะ ilove u

ธวัชชัย ตระกูลวณิชย์

ทำอย่างไรดี จึงจะเห็นบ่อหมักก๊าซอาจารย์ สาธุ สาธุ สาธุ สามทีก็แล้ว

อาจารย์ครับ เอาอย่างนี้ โพสภาพบ่อหมักให้ดูหน่อยครับ

อาจารย์ เรวดี อนุรักษ์ นี่ นางสาวขวัญฤดี แสนชม เองน่ะ อาจารย์เก่งจังน่ะ สามารถผลิตแก๊สชีวภาพเองได้ ขอให้อาจารย์มีความสุขน่ะค่ะ จากศิษย์เก่าโรงเรียนโศภนคณาภรณ์ (คิดถึงอาจารย์ที่นั่นทุกคนเลยน่ะค่ะ โดยเฉพาะอาจารย์ กาญจนา อ.เอื้อมเดือน )

(รักและเคารพ)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท