ระดมความคิดแนวทางแก้ปัญหาเรื่องการกระจายอำนาจเขตพื้นที่การศึกษา


ลดภาระงานอื่นๆที่ไม่ใช่งานสอนของครู (เช่นงานธุรการ) ให้ครูได้อยู่ในห้องเรียนให้มากที่สุด รวมทั้งลดจำนวนนักเรียนต่อห้องให้น้อยลงด้วย
     ผมหายไปหลายวันเนื่องจาก 8-15 ก.ย.ไปศึกษาดูงานด้านการศึกษาที่ประเทศนิวซีแลนด์ กลับมาก็มีงานต้องทำเร่งด่วนหลายเรื่อง  ตั้งใจจะเล่าเรื่องการศึกษาที่นิวซีแลนด์ก็ยังไม่มีโอกาสเล่าตอนนี้ อีกไมกี่วันจะนำมาเล่ากันยาวทีเดียว
     เมื่อวานนี้(17 ก.ย.) ได้รับเชิญไปร่วมประชุมระดมความคิดแนวทางแก้ปัญหาคุณภาพการศึกษา เรื่องการกระจายอำนาจเขตพื้นที่การศึกษา  ที่ห้องกำแหงพลางกูร สกศ. เพื่อนำเสนอกระทรวงฯ มีผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้รับเชิญมาจากหลายสาขามาให้ทรรศนะกันหลายคน  โดยมี ดร.ดิเรก  พรสีมา เป็นประธาน
     สาระสำคัญที่ผู้ทรงคุณวุฒิเสนอแนะไว้มีหลายประการ  ผมจะยกเฉพาะประเด็นที่มีความเห็นร่วมกันมาก และเป็นเรื่องที่ต้องทำเร่งด่วนในเรื่องการกระจายอำนาจฯ ซึ่งมักจะมาลงที่ส่วนกลาง(ศธ.และสพฐ.) ว่าต้องเร่งทำในเรื่องต่อไปนี้
      1.เร่งทบทวน/ปรับแก้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการกระจายอำนาจ ให้เกิดความคล่องตัวขต่อผู้ปฏิบัติในทุกเรี่อง
      2.กำหนดกรอบนโยบาย/ดำเนินการในเรื่องที่เป็นปัญหาความต้องการจำเป็น เพื่อเป็นตัวช่วยให้แก่สถานศึกษาและเขตพื้นที่การศึกษา แต่ไม่ใช่คิดงานให้โรงเรียนทำมากมายเหมือนปัจจุบัน(คุณพ่อคุณแม่รู้ดี) เรื่องสำคัญที่ต้องหาทางช่วยเช่น
          - ลดภาระงานอื่นๆที่ไม่ใช่งานสอนของครู (เช่นงานธุรการ) ให้ครูได้อยู่ในห้องเรียนให้มากที่สุด รวมทั้งลดจำนวนนักเรียนต่อห้องให้น้อยลงด้วย
          -มีหน่วยงานผลิตสื่อ/นวัตกรรม/เครื่องมือประเมินผลสนับสนุนช่วยเหลือครู เพื่อครูจะได้มีเวลาว่างเตรียมการสอนมากขึ้น         
          -สนับสนุนทรัพยากรที่เป็นงบประมาณลักษณะเงินอุดหนุนให้หน่วยปฏิบัติ ที่มีฐานข้อมูลตามความต้องการจำเป็น อย่างพอเพียงและเป็นธรรม ให้เขาสามารถบริหารให้เกิดความคล่องตัว
         - การพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาต้องเป็นไปตามความต้องการจำเป็นจริงๆ และต้องไม่พยายามดึงครูออกจากโรงเรียนไปอบรม(เช่นเรื่องเลื่อนวิทยฐานะที่ผ่านมา เสียหายมาก)
         -พัฒนาระบบนิเทศติดตามประเมินผลให้มีประสิทธิภาพ โดยต้องจัดกระบวนทัพใหม่ พัฒนาศน.ให้เป็นที่ยอมรับมากกว่านี้
         -ปรับระบบประเมินเลื่อนวิทยฐานะที่มุ่งเน้นผลที่เกิดกับผู้เรียนเป็นสำคัญ ที่เกิดจากการปฏิบัติจริง ไม่ใช่ดูจากการเขียนผลงานทางวิชาการ หรือดูหลักฐานที่ทำขึ้นมาภายหลังที่ไม่ใช่ชีวิตจริง
        -คัดเลือกคนที่มาเป็นผู้บริหารที่ฝีมือเยี่ยมจริงๆ(เร่งด่วน) เพราะผู้บริหารจะเป็นหัวใจสำคัญในการกระจายอำนาจ  รวมทั่งเร่งผลิตครูมืออาชีพ เช่นคุรุทายาท ฯลฯ ให้มากขึ้น เพราะครูต้องเก่งจึงจะพัฒนาผู้เรียนได้ดี
        -บอกให้ชัดถึงบทบาทกรรมการสถานศึกษาว่าจะให้เขาทำอะไร เป็นโค๊ช หรือเป็นไลน์แมน หรือเป็นอะไร ในท่ามกลางบริบทที่หลากหลายของสถานศึกษาปัจจุบัน
       -การประเมินผลการปฏิบัติงาน ขอให้ประเมินที่ผลสัมฤทธิ์ โดยดูจากมูลค่าเพิ่ม ไม่ต้องไปยุ่งกับเขาในเรื่องกระบวนการทำงาน
                               ฯลฯ
        ในส่วนของเขตพื้นที่การศึกษา ก็ต้องปรับวัฒนธรรมการทำงานเสียใหม่ เช่น พัฒนาบุคลากรในสำนักงานให้เป็นนักจัดการที่มีประสิทธิภาพ  เป็นหน่วยบริการช่วยเหลือสนับสนุนโรงเรียนอย่างแท้จริง(เซเว่นอีเลพเว่น)  สนับสนุนให้มีเครือข่ายวิชาชีพที่เข้มแข็ง  จัดระบบกำกับติดตามประเมินผลที่มีประสิทธิภาพ  ไม่สร้างภาระและปัญหาให้โรงเรียน ยืดหยุ่นพร้อมรับปรับกระบวนการทำงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์  เลิกวัฒนธรรมการประเมินที่ให้ครูต้องจัดแฟ้มมากมาย  รวมทั้งควรจัดให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ทำงาน ฯลฯ
        ในส่วนของโรงเรียนก็ต้องมีการทำงานที่เป็นระบบ  ผู้บริหารต้องเป็นผู้นำที่มีประสิทธิภาพ กำหนดทิศทางที่แน่ชัด  สร้างวิสัยทัศน์ร่วมกัน  และฝ่าฟันให้ถึงจุดหมาย ด้วยวิธีการที่หลากหลายอย่างเป็นเอกภาพ   มีระบบกำกับติดตามประเมินผล และนิเทศภายในอย่างมีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง 
                              
        
หมายเลขบันทึก: 129175เขียนเมื่อ 18 กันยายน 2007 09:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 20:28 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  • อยากให้ดูแลขวัญและกำลังใจในการทำงานของครูในระดับล่างด้วยคะ...หากปากท้องยังไม่อิ่ม...แบบนี้
  • มีข้อสงสัยด้วยคะ...ภาระงานที่เพิ่มขึ้นมหาศาล..นอกเหนือจากการสอน..จะเอาเวลาที่ไหนมาทำ...เพราะครูหลายคน ต้องสอน วันละ 7 คาบ ทุกวันอยู่แล้ว...
  • แถมงานบางงานเป็นการเพิ่มรายจ่ายให้ครูต้องควักเนื้อจากรายได้ส่วนตัวที่แสนจะน้อยนิดอยู่แล้วด้วย...แค่นี้ครูก็หนี้บานแล้วคะ...อย่าผลักภาระรับผิดชอบที่เกินเงินเดือนมาอีกเลย
  • น่าคิดคะ...ว่าเกณฑ์ที่ตั้งกันสวยหรูทุกวันนี้เกินขีดความสามารถของครูบ้านนอกหรือเปล่า
  • ถ้าทำได้ทุกอย่างที่กำหนดต้องเรียกว่ายอดมนุษย์แล้วคะ...ฝันกลางวันหรือปล่าวคะ...ลืมไปแล้วหรือคะว่าที่นี่คือประเทศไทยที่ไม่มีความเท่าเทียมกันทั้งระบบ...
     ถ้าอ่านให้ดีจะเห็นว่าข้อเสนอของผู้ทรงคุณวุฒิ(ที่มาจากครูและผู้บริหารหลายคน) ล้วนหาทางช่วยเหลือครูเพื่อให้ครูได้ทำงานตามภารกิจหลักของตน ไม่ใช่หัวไม่วางหางไม่เว้นเหมือนทุกวันนี้ รวมทั้งขอให้ส่วนกลางกระจายอำนาจมาที่หน่วยปฏิบัติอย่างแท้จริงด้วย พร้อมทั้งมีตัวช่วยไม่ใช่หางานมาเพิ่มที่โรงเรียน ถ้าทำได้น่าจะส่งผลต่อขวัญกำลังใจครูนะ

 "ลดภาระงานอื่นๆที่ไม่ใช่งานสอนของครู (เช่นงานธุรการ) ให้ครูได้อยู่ในห้องเรียนให้มากที่สุด รวมทั้งลดจำนวนนักเรียนต่อห้องให้น้อยลงด้วย"

   ขอให้ทำเรื่องที่ยกมานี้อย่างเร่งด่วนก่อนได้ไหมเพราะคุณภาพการศึกษาที่สำคัญที่สุดคือคุณภาพของนักเรียน ตราบใดที่ครูต้องไปทำงานอย่างอื่นไม่ได้อยู่กับนักเรียน แล้วจะเอาคุณภาพของนักเรียนมาจากไหน ถ้านักเรียนไทยไม่มีคุณภาพ  ถามว่าจะมีคำถามอะไรขึ้นบ้าง ?

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท