ศักราช
อาจารย์ ศักราช ลุงปั๋น ฟ้าขาว

จบกันแล้วที่วัดพู


อำนาจสูงสุดย่อมมีกาลแห่งจุดจบ

              จากการศึกษาคติความเชื่อ และอิทธิพลในการสร้างสรรค์งานศิลปกรรมในวัดพู ที่ส่งผลต่อการเป็นมรดกโลกทางภูมิทัศน์วัฒนธรรม นั้น ทำให้ได้เห็นการเชื่อมโยงระหว่างวิถีชีวิตของชาวบ้าน ความเชื่อที่แสดงถ่ายทอดออกมาทางศิลปกรรม ตลอดถึงพัฒนาการทางประวัติศาสตร์จากอดีตจนถึงปัจจุบันได้เป็นอย่างดี  การสร้างศิลปกรรมในวัดพู ได้รับอิทธิพลพื้นฐานจากความเชื่อในศาสนาฮินดู ซึ่งเป็นศาสนาหลักและเป็นระบบความเชื่อเก่าแก่ที่สุดของโลก แนวคิดของศาสนาฮินดูถือได้ว่าเป็นรากฐานอารยธธรมของภูมิภาคที่ส่งผลกระทบยังทุก ๆ ส่วนของวัฒนธรรมพื้นที่จำปาศักดิ์ ถือว่าเป็นเอกลักษณ์โดยประยุกต์เอาลักษณะทางกายภาพของธรรมชาติ แนวความเชื่อทางศาสนา แรงบันดาลใจของคนดั้งเดิมในพื้นที่ และเทคนิควิทยา จนกลายเป็นมาตรฐานทางศิลปกรรมแห่งศตวรรษและพัฒนาคุณค่าทางสุนทรียศาสตร์ของภูมิภาค คุณค่าที่สำคัญที่สุดของวัดพูคือเป็นพื้นที่ทางจิตวิญญาณที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของชุมชน และมีความสัมพันธ์กันอย่างเป็นระบบแสดงให้เห็นถึงภูมิปัญญาอันสูงส่งของคนในยุคนั้น มีการวางผังเมืองที่แสดงให้เห็นการผสมผสานแนวความคิดทางศาสนาฮินดูและศรัทธาของพื้นที่เกี่ยวกับการนับถือน้ำและภูเขาด้วย การใช้พื้นที่ที่สะท้อนให้เห็นความเชื่อทางศาสนา และการใช้พื้นที่เพื่อการเกษตรกรรม การดำรงชีวิตของชาวเมืองเชื่อมโยงสัมพันธ์กันอย่างเป็นระบบ        <p style="text-justify: inter-ideograph; margin: 0in 0in 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">                  นอกจากนั้น สิ่งที่ได้ค้นพบจากการศึกษา วัฎจักรของความเป็นไปในโลก เป็นอนิจจัง    ทุกขัง อนัตตา  คือ เปลี่ยนไปตามกาลเวลา จากสูงสุดสู่ต่ำสุด และจากการมีอำนาจสูงสุดก็แปรเปลี่ยนเป็นอำนาจที่หายไป เฉกเช่นมีให้เห็นในปัจจุบันก็มากมายหลายเรื่อง </p><p style="text-justify: inter-ideograph; margin: 0in 0in 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p>โปรดอ่านเพิ่มเติมจาก   <p style="text-justify: inter-ideograph; margin: 0in 0in 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">เกรียงไกร  เกิดศิริ.วัดพูมรดกโลกทางภูมิทัศน์วัฒนธรรมแห่งเมืองจำปาสัก </p>

               สปป.ลาว :คุณค่า  และแนวความคิดในการจัดการทางพื้นที่,

                คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยศิลปากร. : มปท. <p style="text-justify: inter-ideograph; margin: 0in 0in 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal"> </p></span><p> </p>

หมายเลขบันทึก: 128999เขียนเมื่อ 17 กันยายน 2007 16:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 20:28 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท