นักเรียนสำคัญที่สุด: ปัญหาที่น่าวิจัย


“การจัดการเรียนรู้ที่ดีต้องจัดการเชิงระบบ และระบบดังกล่าวต้องถือว่านักเรียนสำคัญที่สุด”

 

การจัดการเรียนรู้ที่ดีต้องจัดการเชิงระบบและระบบดังกล่าวต้องถือว่านักเรียนสำคัญที่สุด

เป็นคำกล่าวที่ได้ยินกันอยู่เสมอ ตั้งแต่การปฏิรูปการศึกษาเกิดขึ้นมากว่า 7 ปีแล้ว แต่ผลที่เกิดขึ้นกลับทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอย่างต่อเนื่อง  ความสามารถในการแข่งขันของนักเรียนไทยลดลงทุกปี   มีนักเรียนติด 0 เป็นแสนคน มีโรงเรียนคุณภาพต่ำจำนวนมาก  ขณะที่งบประมาณในการจัดการศึกษา เพิ่มขึ้น ครูเป็นโรคเครียดเพิ่มขึ้น และมีจำนวนมากที่ละทิ้งอุดมการณ์ของตนเพราะทนกับสภาพกดดันจากระบบไม่ไหว ดังนั้น แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าระบบการศึกษาของชาติกำลังมีปัญญาที่ยากจะแก้ไข
  แต่ในฐานะที่เราเป็นครูมาช่วยกันแก้ไขระบบเล็กๆ ที่เรารับผิดชอบอยู่น่าจะดีกว่า

 

      ในปัจจุบัน ระบนการเรียนรู้กลายเป็นความทุกข์ น่าเบื่อหน่ายยึดหลักสูตรเนื้อหาสาระและคะแนนสอบเป็นสิ่งพิพากษาความสำเร็จ  ทุกคนจึงเครียด ขาดความสุขในการเรียน ครูไม่สามารถสอนให้บรรลุเป้าหมายของหลักสูตร นักเรียนไม่ตั้งใจเรียนอย่างจริงจัง อีกทั้งหลักสูตรไม่ตอบสนองกับความต้องการของท้องถิ่น มีเนื้อหามากเกินไป  จึงขาดศักยภาพในการพัฒนาคน ดังนั้น จึงจำเป็นต้องปฏิรูปวัฒนธรรมการเรียนรู้ของนักเรียน(คณะอนุกรรมการปฎิรูปการเรียนรู้, 2543:2-4; บุญชม,2544 อ้างถึงใน เกษม,2545:16-17)

          เมื่อกล่าวถึงระบบการเรียนรู้ที่เน้นนักเรียนก็ต้องนึกถึงกลุ่มองค์ประกอบไปที่ตัวนักเรียนเป็นสำคัญ มิใช่นึกถึงหลักสูตรวิธีสอน เทคนิคการถ่ายทอด หรือการบริหารจัดการ สิ่งเหล่านี้จะมาภายหลัง ระบบการเรียนรู้ที่เน้นนักเรียน               มีองค์ประกอบที่สำคัญอยู่ 5 องค์ประกอบที่อยู่ในตัวนักเรียนแต่ละคนคือ

                 1.   ฐานความรู้ ( The knowledge base )

                2.   การใช้กระบวนการคิดเชิงกลยุทธ์หรือการควบคุมความคิดระดับสูง (  Strategic processing or executive  control  )

                 3.   แรงจูงใจและอารมณ์ ( Motivation and affect )

                4.   พัฒนาการและความแตกต่างระหว่างบุคล ( Development and    individual  differences )

                5.   สถานการณ์หรือบริบท ( Situation หรือ Context )

 ปัญหาต่างๆเหล่านี้ถ้าเราทบทวนให้ดีคงพอที่จะจุดประกายความคิดให้ครูได้ทำผลงานวิจัยในชั้นเรียนได้บ้างโดยพิจารณาองค์ประกอบของระบบว่ามีจุดใดบกพร่อง ไม่สมบูรณ์แล้วคิดหาทางพัฒนาให้ตรงจุดตรงประเด็น ตรงตามความต้องการของนักเรียน งานนี้น่าจะพัฒนาเป็นผลงานวิชาการของครูได้หรือไม่  ลองพิจารณาดูเองนะครับ

 

เอกสารอ้างอิง

 เกษม  วัฒนชัย.  2545.  การปฎิรูปการศึกษา.  กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์การศาสนา.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. อ้างถึง บุญชม  ศรีสะอาด และคณะ.  2544.  ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐานในระบบโรงเรียนของเขตการศึกษา 11.  วารสารสภาวิจัยแห่งชาติ.  33(1): 91-106.

คณะอนุกรรมการปฎิรูปการเรียนรู้.  2543.  ปฏิรูปการเรียนรู้ นักเรียนสำคัญที่สุด.  

กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

Klausmerier, H. J.  1985.  Education Psychology. (5th ed.) New York: Harper and Row 

            Publishers.

 

หมายเลขบันทึก: 128223เขียนเมื่อ 15 กันยายน 2007 00:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:20 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

อ่านเรื่องปัญหาที่น่าวิจัยจบ ก็เลยได้ความคิดที่จะลองทำวิจัยเกี่ยวกับเจตคติในการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียน ม.ต้นโรงเรียนวัดแสงสรรค์ เพราะแก้ปัญหานักเรียนมีคะแนน NT ต่ำมากไม่ได้ซะที่ สอนไปก็กลุ้มไป แต่ยังไม่ถึงกับเครียด

ปัญหาน่าสนใจ ถ้าติดขัดตรงไหนคงต้องรบกวนท่านรองช่วยชี้แนะ

ยินดีครับ พี่

นักเรียนสำคัญที่สุด ถูกต้องแล้วคร๊าบ......ท่านดร. เป็นไงคะลูกศิษย์คนนี้ใช้ได้ไม๊คะ

ครูมีงานอื่นเยอะมาก  แต่นักเรียนสำคัญที่สุด  และนักเรียนก็มีปัญหาหลากหลายที่ครูต้องช่วยเหลือ  สิ่งที่เราช่วยเหลือและแก้ปัญหาสามารถนำมาทำวิจัยได้ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท