Gutjang
อ. สุดารัตน์ [กั๊ต] เสาวโค

ฮั่นแน่..??กับดักอุปสรรคของเกษตรอินทรีย์ (ภูเขาอีกลูกที่ต้องข้าม)


เส้นทางเดินของแกลบเปลี่ยนไปแล้ว จากเดิมแกลบจะกลับคืนสู่ทุ่งนาได้ง่าย เดี๋ยวนี้แกลบสดหน้ามุ่งหน้าไปหาโรงไฟฟ้าที่เดียว (หนูแกลบลืมกลิ่นอายของท้องทุ่งนาเสียแล้ว กลิ่นโรงงานอุตสาหกรรมช่างหอมหวานนี่กระไร) ฮือฮือ...คิดถึงแกลบจัง

ในมุมมองของการทำเกษตรอินทรีย์ ส่วนใหญ่เราจะโฟกัสไปที่กิจกรรมที่ทำเพื่อสนองตอบ/สนับสนุนกิจกรรมทางการเกษตรที่เป็นกิจกรรมหลักของเกษตรกรทั่วไป โดยกิจกรรมที่เราดำเนินการกันส่วนใหญ่ เช่น ทำปุ๋ยหมักชีวภาพ ทำน้ำหมักชีวภาพ (สูตรต่างๆ แล้วแต่ว่าจะได้วัตถุดิบจากอะไรมาเป็นส่วนผสม เช่น มะเฟือง มะกรูด ผลไม้ตามฤดูกาล>>>น่ากินนะ หรือแม้แต่น้ำหมักชีวภาพจากสัตว์)

ในแรกเริ่มเดิมที ที่เริ่มกระทำกิจกรรมต่างๆ ที่พูดถึงเนี่ย ยังไม่เจอปัญหามากนัก เนื่องจากวัตถุดิบมีมากมายเหลือเฟือ จะเอามาใช้เท่าไหร่ก็ไม่มีปัญหา ไม่ว่าจะเป็นวัตถุดิบมาทำน้ำหมักชีวภาพ หรือปุ๋ยหมักยกตัวอย่างเช่น แกลบสด (แกลบดิบ) และแกลบเผา ซึ่งจังหวัดสุรินทร์เป็นจังหวัดต้นต้น ที่มีโรงสีไฟจำนวนมากที่สุดในประเทศไทย จึงมีปริมาณแกลบสด (ส่วนเหลือจากการสีข้าว) มากมายมหาศาล และเกษตรกรทั่วไปสามารถขอมาใช้ประโยชน์ได้ทันที (แถมมีรถบริการตักให้ฟรีอีกต่างหาก)

แต่...หลังจากนโยบายส่งเสริมการสร้างโรงงานผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานธรรมชาติ (โรงไฟฟ้าพลังแกลบ) ได้เกิดขึ้น จ.สุรินทร์ก็ทันสมัยกะเขาเหมือนกัน มีโรงไฟฟ้าเป็นของตนเองแล้ว

ทีนี้...ปัญหาการทำปุ๋ยหมักชีวภาพเริ่มเกิดขึ้นแล้ว โดยเฉพาะปุ๋ยหมักชีวภาพที่ใช้วัตถุดิบจากแกลบสดแกลบดิบทั้งหลาย เนื่องจากโรงไฟฟ้าพลังแกลบ ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าใช้พลังงานจากแกลบ การแย่งชิงวัตถุดิบเริ่มเกิดขึ้นแล้ว ราคาแกลบเริ่มแพงขึ้นในเบื้องต้น จาก กก.ละ 20-60 ตังค์ เดี๋ยวนี้แกลบสดเริ่มหายากขึ้น แพงขึ้น>>>>และไม่ขายแล้วค่ะ

เส้นทางเดินของแกลบเปลี่ยนไปแล้ว  จากเดิมแกลบจะเดินกลับคืนสู่ทุ่งนาได้ง่าย เดี๋ยวนี้แกลบสดหน้ามุ่งหน้าไปหาโรงไฟฟ้าที่เดียว (หนูแกลบลืมกลิ่นอายของท้องทุ่งนาเสียแล้ว กลิ่นโรงงานอุตสาหกรรมช่างหอมหวานนี่กระไร) ฮือฮือ...คิดถึงแกลบจัง

นี่เป็นเพียงอุปสรรคเบื้องต้นเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ยังมีอีกหลายอย่างที่ผู้ทำกิจกรรมเกษตรอินทรีย์ต้องปรับตัว...เพื่อการอยู่รอด และเราเริ่มปรับตัวแล้ว โดยการนำน้ำหมักชีวภาพไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ (มีอะไรบ้างนั้น...จะกลับมาเล่าในลำดับถัดไป)

อย่างไรก็ตาม การรักษาใจให้คงอยู่กับแนวทางการดำเนินชีวิตตามแนวเกษตรอินทรีย์ (หรือเกษตรทางเลือกอื่นๆ) ยังคงเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด การลังเลสงสัยจะนำไปสู่ความไม่มั่นคงและการเปลี่ยนแปลง

สู้ต่อไปเหอะ......ไอ้มดแดง

หมายเลขบันทึก: 127985เขียนเมื่อ 14 กันยายน 2007 10:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 10:34 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
  • ซักประมาณสิบกว่าปีถึงยี่สิบปีก่อน ช่วงที่ผมสอนอยู่แถวๆสังขะ (และก่อนหน้านั้นด้วย) ผมจะมีโอกาสผ่านเส้นทางสังขะ-สุรินทร์บ่อยๆ สิ่งที่เห็นแล้วมันเขี้ยวทุกครั้งที่ผ่านก็คือ "แกลบ" ที่กองเป็นภูเขาเลากาในทุกๆโรงสีที่อยู่ข้างถนนสายนั้น 
  • ที่มันเขี้ยวเพราะเห็นคุณค่าของมันมาตั้งแต่จำความได้  เพราะแม่จะพาไปกรอกแกลบจากโรงสีเล็กๆในหมู่บ้านเกือบๆจะทุกวัน  เพื่อเอาไปเทใส่ในคอกควายให้เจ้าควาย(โรงงานผลิตปุ๋ยประจำบ้าน) ทำการเหยียบย่ำผสมกับมูลและปัสสาวะของเขา อันเป็นวิธีการช่วยเพิ่มปริมาณของป๋ยคอกให้พอต่อการใช้ในไร่นาและการปลูกพืชผักต่างๆ  รวมทั้งการปลูกแตงโมหลังเก็บเกี่ยวข้าว  ซึ่งพอโตขึ้นมาหน่อยก็จะเป็นหน้าที่ของเราโดยลำพัง  ต่อมาก็มีน้องๆช่วยและโอนถ่ายภารกิจต่อๆกันจากรุ่นสู่รุ่นต่อไปเรื่อยๆ (ซื้อ-ขายนะครับไม่ใช่เอาฟรี)  หลังๆมาเริ่มหาไม่ได้เพราะไม่พอกัน  จึงต้องออกไปหาซื้อยังต่างถิ่นมาใช้
  • แต่ที่โรงสีแถวที่ว่าสมัยนั้น  แกลบกลับไม่มีใครสนใจ  คิดอยากหารถมาใส่ไปขายก็ไกลจากบ้านเกินไปไม่คุ้มค่าน้ำมัน
  • แต่เดี๋ยวนี้ไม่พอกัน  โรงไฟฟ้าพลังแกลบเจ้าประจำทำสัญญาซื้อไปหมด  ทำให้เกิดปัญหากับการผลิตปุ๋ยหมักชีวภาพที่จันรม.... นี่แหละครับ  ถ้าเราทำอะไรแล้วยังต้องพึ่งคนอื่นเนี่ย  มันมีตัวแปรที่เราควบคุมยากแบบนี้แหละ
  • อาจารย์ครับ  เราพึ่งตนเองแบบอิงธรรมชาติกันดีไหม?  ที่โคกเพชรใช้ใบไม้แห้ง ใบไม้สด(มีเครื่องย่อยก็ดี) ฟางแห้ง ผักตบชวา รวมทั้งปุ๋ยพืชสดเป็นวัตถุดิบตั้งต้น แล้วปล่อยให้ธรรมชาติเขาจัดการกันเองเป็นส่วนใหญ่ครับ 
  • ถ้าเป็นชาวบ้าน  มีคอกวัวคอกควายอยู่แล้ว  ก็ประยุกต์ใช้แบบที่ผมใช้เมื่อตอนเป็นเด็กก็น่าจะได้ผลพอๆกัน  แถมประหยัดแรงการกลับปุ๋ยอีกต่างหาก (ใช้ EM ร่วมด้วยก็น่าจะได้นะครับ)
  • สวัสดีครับ
สวัสดีค่ะ ผอ.P
  • ทางเดินในเส้นทางเดิมเริ่มตีบตัน...เราต้องหาเส้นทางใหม่ค่ะ...สุดท้ายไปพบกันที่ปลายทาง
  • โรงเรียนของเรามีป่าเป็นของตนเองค่ะ (โปรดฟังอีกครั้งหนึ่ง..ป่าค่ะ..ไม่ใช่ต้นไม้หลายต้น) ฤดูใบไม้ร่วง ปลาย พ.ย. ของทุกปี จะมีศึกชิงใบไม้ โดยเฉพาะใบฉำฉา (ก้ามปู) ต้นใหญ่เพียงต้นเดียวเป็นที่หมายปองของหลายคนค่ะ เอาใส่กระสอบไปใส่โคนต้นไม้ (ไม้กระถาง)
  • ชาวบ้านมีทางออกเหมือนกันค่ะ...ตั้งโรงสีขนาดเล็ก..สีข้าวเอง...กินเอง..ขายเอง...มีแกลบใช้เอง......

ขอบคุณค่ะ

  • โรงเรียนของเรามีป่าเป็นของตนเองค่ะ (โปรดฟังอีกครั้งหนึ่ง..ป่าค่ะ..ไม่ใช่ต้นไม้หลายต้น)ป่าที่จันรม  ผมหาเห็ดมาก่อนแล้ว  3-4 เดือนที่อยู่ที่นั่น นอนก็นอนข้างๆป่านั่นแหละ  (อาคารอเนกประสงค์ไง)  นั่นแหละครับโรงงานผลิตวัตถุดิบตั้งต้นของปุ๋ยชีวภาพที่ดีที่สุด หาง่าย จัดการง่ายด้วย
  •  ฤดูใบไม้ร่วง ปลาย พ.ย. ของทุกปี จะมีศึกชิงใบไม้ โดยเฉพาะใบฉำฉา (ก้ามปู) ต้นใหญ่เพียงต้นเดียวเป็นที่หมายปองของหลายคนค่ะ  นี่ยิ่งมีประโยชน์หลากหลายมาก  อยากให้ช่วยกันปลูกเยอะๆ ที่ว่างข้างถนนหรือตรงไหนก็ได้  ที่โคกเพชรลุยแล้ว ดูได้ที่ จามจุรีที่โคกเพชร ครับ
ผอ.คะ P ครูวุฒิ
  • ถ้า ผอ. ไปจันรมตอนนี้...ชาวบ้านก็อดออกไปเก็บเห็ดซิคะ
  • เพราะ ผอ.เล่นนอนเฝ้าเห็ดอยู่อย่างนั้นน่ะ (555)
  • ตอนนี้ป่า รร.บ้านจันรม ถูกชาวบ้านยึดแล้วละค่ะ ออกไปส่องไฟฉายเก็บเห็ดกันตั้งแต่ตี 2 ตี 3
  • ครูก็เลยอดลิ้มรสเห็ดกันซะ.....
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท