วิจารณ์เหตุการณ์แผ่นดินไหวรุนแรงในอินโดนีเซีย


เมื่อเวลา 18:10:26 ตามเวลาในประเทศไทย เกิดแผ่นดินไหวรุนแรงขนาด 8.4 ริกเตอร์ทางตอนใต้ของเกาะสุมาตรา ด้วยความรุนแรงขนาดนี้ จะมีการเตือนภัยสึนามิโดยอัตโนมัติ

ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ อยู่ในฐานะเตรียมพร้อมสูงสุด ผมคิดว่านี่เป็นสัญญาณที่ดีมาก ที่ส่วนราชการไม่ยอมเอาชีวิตของประชาชนไปเสี่ยงกับความไม่แน่นอน

โดยส่วนตัว ได้รับการเตือนจากระบบ gdacs.org ผ่านทาง SMS และอีเมล เมื่อดูแผนที่แล้ว ผมกลับไปกินข้าวต่ออย่างไม่ตื่นเต้น ฟันธงได้เลยว่าไม่มีผลกระทบต่อประเทศไทย -- อย่างไรก็ตาม ในขณะนี้ ทราบว่าในอินโดนีเซีย มีความเสียหายจากแผ่นดินไหว แต่ยังไม่มีรายงานการเกิดสึนามิ

วิจารณ์สื่อโทรทัศน์

โทรทัศน์ทุกช่องรายงานข่าวนี้ โดยรับข่าวเบื้องต้นจากสถานีโทรทัศน์ระหว่างประเทศ

  • ข่าวเต็มไปด้วยความตื่นเต้น
  • ข่าวเต็มไปด้วยความไม่รู้
  • ข่าวเต็มไปด้วยเหตุการณ์ (เกิดอะไรขึ้น ที่ไหน -- ตอบคำถาม what when) แต่ไม่มีความหมาย (ไม่รู้ว่าจะต้องทำอะไร ไม่มีข้อมูลให้ตัดสินใจ ทำได้แต่รอไปเรื่อยๆ -- ไม่ได้ตอบคำถาม how why)
  • ที่สำคัญที่สุด คือไม่มีสักช่อง ที่เอาแผนที่ศูนย์กลางแผ่นดินไหว (epicenter) ขึ้นมาแสดงจนเวลาประมาณ 20น. -- เป็นเรื่องที่น่าเสียดายมาก ความแตกตื่นก่อนหน้านั้น ไม่น่าที่จะเกิดขึ้น เนื่องจากรู้ตำแหน่ง epicenter ตั้งแต่เวลาประมาณ 18:20น.
  • การเตือนภัยพิบัติของไทย ใช้สื่อเป็นช่องทางเตือน ผมคิดว่าสื่อมีสิทธิ์ที่จะแสดงข้อมูลประกอบอย่างเช่นแผนที่ ซึ่งจะช่วยให้ประชาชนตัดสินใจได้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์มากขึ้น
  • เว็บของศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ก็ไม่มีแผนที่ครับ ของกรมอุตุนิยมวิทยา ในขณะที่เขียนนี้ แสดงแผนที่จุดเกิด aftershock แล้ว ไม่เห็น main shock ส่วนของกระทรวงไอซีที ไม่แสดงอะไรครับ
  • ถือเสียว่าเป็นข้อเสนอแนะก็แล้วกันครับ ถ้าเจ้าหน้าที่มาอ่านเจอก็ขอให้พิจารณาด้วย อย่าปล่อยผ่านไปเฉยๆ เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้นเลยครับ

รอยแยกนี้เป็นความเสี่ยงจริงๆ

จากการวิเคราะห์การเกิดสึนามิเมื่อปลายปี 2547 พบว่ามีอีกสองที่ ที่มีภูมิศาสตร์แบบเดียวกับหัวเกาะสุมาตรา คือเมืองปาดังในอินโดนีเซีย และ Cascadia subduction zone (ข้อมูล)

เมืองปาดังเป็นเมืองหลวงของเกาะสุมาตรา เป็นจังหวัดที่อยู่ทางตอนใต้ของเกาะสุมาตรา ติดกับจังหวัดเบงกูลูที่เกิดแผ่นดินไหวในครั้งนี้ รอยแยกนี้มีชื่อว่า Sumatran subduction zone ตัวรอยแยกอยู่ในทะเล ห่างฝั่งร้อยกว่ากิโลเมตร มีเกาะน้อยใหญ่บังอยู่ แต่คลื่นสึนามิ วิ่งอ้อมเกาะได้

ส่วน Cascadia subduction zone เป็นส่วนต่อของ San Andreas Fault อันมีชื่อเสียง ที่วิ่งลงไปในทะเลทางเหนือ อยู่ตรงกับคาลิฟอร์เนียเหนือ โอเรกอน และวอชิงตัน

หมายเลขบันทึก: 127436เขียนเมื่อ 12 กันยายน 2007 19:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 เมษายน 2012 18:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

ขอบคุณอาจารย์ที่แวะมาครับ

อยากจะแก้ไขเพิ่มเติมบันทึก แต่ก็จะละเมิดความตั้งใจของตัวเอง ที่ว่าจะไม่แก้ไขหลังจากมีความคิดเห็นเกิดขึ้นแล้ว จึงขอเขียนเอาไว้ตรงนี้ครับ

การจัดการเหตุแผ่นดินไหวของไทย มีลักษณะ reactive (ทำไมผมไม่แปลกใจนะ)

การกำหนดตำแหน่งจุดศูนย์กลายของแผ่นดินไหว ใช้การคำนวณอันซับซ้อนเพื่อหา moment tensor solution -- จะแปลว่าอะไรก็ช่างเถิดครับ ท่านที่อยากรู้มากกว่านี้ ก็หาเอาได้จาก Google

Moment tensor solution ให้คำตอบสำคัญสองอย่าง คือจุดศูนย์กลายแผ่นดินไหว เป็นเวคเตอร์ซึ่งประกอบด้วยพิกัดและความลึก พร้อมทั้งความแรงของแผ่นดินไหว

เนื่องจากต้องใช้การคำนวณอันซับซ้อน ประกอบกับถ้าจะหาคำตอบละเอียด จะต้องรับข้อมูลจากสถานีวัดแผ่นดินไหวทั่วโลกมาประมวลด้วยซุปเปอร์ คอมพิวเตอร์ จึงใช้เวลานาน

ในการประเมินข้อมูลเบื้องต้น ไม่มีความจำเป็นต้องหาผลลัพท์ละเอียด ดังนั้นแทนที่จะหา full solution ศูนย์วิจัยแผ่นดินไหวหลายๆ แห่งจึงนิยมหา fast moment solution ก่อน ซึ่ง NEIC ของสหรัฐจะคำนวณผลได้ภายใน 7 นาที ซึ่งในขณะนี้ เป็นคำตอบที่เร็วที่สุดเท่าที่หาได้จากแหล่งข้อมูลสาธารณะ

ตัวเลขความแรงจาก fast moment solution อาจจะไม่ถูกต้องนัก ซึ่งอันนี้เราเห็นได้อยู่ตลอดว่าความแรงเปลี่ยนไปเรื่อยๆ -- อย่างแผ่นดินไหวคราวนี้ ตัวเลขแรก (fast moment solution) บอกว่าแรง 7.9 ริกเตอร์ แต่ต่อมาเมื่อเอาผลการวัดจากสถานีแผ่นดินไหวทั่วโลกใส่ลงไปทั้งหมด (moment tensor solution) ความแรงเปลี่ยนเป็น 8.4 ริกเตอร์

แต่ตัวเลขความแรงจะเป็นเท่าไหร่ก็ไม่สำคัญครับ ที่สำคัญคือมันเกิดที่ไหน เกี่ยวข้องกับเราหรือเปล่า ต้องทำอะไรเป็นพิเศษหรือเปล่า

ถ้าใช้ initial solution ซึ่งได้มาใน 7 นาที มาประเมินผลกระทบก่อน แทนที่จะรอผู้เชี่ยวชาญยืนยันผล ซึ่งอาจจะใช้เวลาถึงครึ่งชั่วโมง เวลาที่ได้เพิ่มมาประมาณยี่สิบนาที อาจจะหมายถึงชีวิตนับพันที่จะไม่ต้องเสียไปหากเกิดสึนามินะครับ

แล้วจะรู้ได้อย่างไร -- ก็หาดูจากลิงก์ที่ให้ไว้ข้างบนซิครับ เค้ามีการเตือนผ่าน RSS XML CAP หรือแม้แต่อีเมล

ตามมาอ่านเรื่องนี้ด้วยคน ตอนที่ดูข่าวกับน้องชายพอเห็นจุดด้านที่เกิดแผ่นดินไหว ก็ฟันธงกันอย่างเดียวกันกับคุณ conductor ว่าไม่มีทางเกิดสึนามิมาทางฝั่งไทยแน่นอน

เข้ามาลองอ่านดู เห็นด้วยเลยครับ ดีๆ

คืนนี้ เมื่อเวลา 02:56 เกิดแผ่นดินไหวรุนแรง 80 กม.ห่างจากเมืองปาดังในสุมาตราครับ 6.1 ตามสเกลริกเตอร์

  • Source: World Data Centre for Seismology, Denver (NEIC) M
  • Magnitude: 6.1 M
  • Depth: 81 km
  • Location (Lat/Long): -1.661 | 100.495
  • Country: Indonesia
  • Province: Sumatera Barat
  • Region: Indonesia
  • UTC/GMT (Greenwich time): 10/23/2007 7:56:56 PM
  • Source: World Data Centre for Seismology, Denver (NEIC) M
  • Magnitude: 7.1 M 
  • Depth: 33 km 
  • Location (Lat/Long): -4.08 | 100.8
  • Country: Indonesia
  • Province: Sumatera Barat
  • Region: Indonesia
  • UTC/GMT (Greenwich time): 10/24/2007 9:02:49 PM

เป็นเว็บที่น่าสนใจ แล้ว เราก็ควรจะเข้ามาศึกษาบ่อยๆ จะได้รับข้อมูลใหม่ๆ ดีๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท