BAR : ปขมท.(เชียงใหม่)


การไปแต่ละครั้งที่ผ่านมาในคณะสหเวชศาสตร์ ไม่ได้มีการจัดทำ BAR (Before Action Review) ความจริงอาจจะมีแบบไม่เป็นลายลักษณ์อักษร คงเป็นเป้าหมายของแต่ละคนในใจ

   การไปประชุม อบรม สัมมนา หรือศึกษาดูงาน แต่ละครั้ง เป็นประโยชน์สำหรับการพัฒนาบุคลากร แต่การไปแต่ละครั้งที่ผ่านมาในคณะสหเวชศาสตร์ ไม่ได้มีการจัดทำ BAR (Before Action Review) ความจริงอาจจะมีแบบไม่เป็นลายลักษณ์อักษร คงเป็นเป้าหมายของแต่ละคนในใจ ท่านคณบดีมีแนวคิดอยากจะให้มีการจัดทำ BAR ขึ้น และที่ประชุมคณะกรรมการประจำคณะเห็นชอบ  วันนี้ในแบบฟอร์มขออนุมัติไปราชการของทางคณะฯ จึงมีข้อความเพิ่มเติมขึ้นครับ และขอนำมาแบ่งปัน เผื่อหน่วยงานไหนจะนำไปใช้บ้าง เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันครับ

  • เป้าหมายที่จะไปร่วมอบรม สัมมนา หรือดูงาน คือ
  • ประโยชนที่คาดว่าจะได้รับ คือ

     หลังจากกลับมาจากการไปประชุม อบรม สัมมนา หรือศึกษาดูงาน ในตัวแบบฟอร์มของการสรุปจะมีคำถามยอดฮิตของ AAR ด้วย เป็นการเปรียบเทียบกันด้วยว่าก่อนไปประชุมกับหลังไปประชุม ได้กำไร หรือขาดทุนจากการไปในครั้งนี้ (ก่อนกับหลัง นี้ทำให้ผมนึกถึงกิจกรรม 5 ส. ก่อนทำกิจกรรม 5 ส. จะมีการถ่ายภาพก่อนทำกับหลังทำแล้วเปรียบเทียบกัน) แต่อย่างไรก็ตามผมก็คิดว่าได้กำไรแน่นอน แต่สิ่งสำคัญคือ กำไรในที่นี้คงไม่เป็นประโยชน์สำหรับตัวเองเพียงคนเดียว คงจะต้องนำความรู้มาแบ่งปันกับบุคลากรในคณะ  ทางคณะฯ กำลังเตรียมจัดกิจกรรม Knowledge sharing Day ประจำเดือนขึ้น โดยให้รองคณบดีฝ่ายวิจัยและประกันคุณภาพเป็นเจ้าภาพในงานนี้เพื่อให้ผู้ที่ไปเข้าร่วมประชุมกลับมาถ่ายทอดความรู้ให้บุคลากรในคณะได้ทราบ แบบ storytelling และถ้าสามารถนำความรู้ดังกล่าวมาปรับใช้ในหน่วยงานได้ อย่างนี้ถือว่าคุ้มค่ากับการลงทุนในการพัฒนาบุคลากร พัฒนาหน่วยงาน

     เมื่อวานเจ้าหน้าที่บุคคลช่วยดำเนินการ FAX เรื่องประชุม ปขมท. ที่เชียงใหม่ และโอนเงินค่าลงทะเบียนให้ผมเรียบร้อย ทางคณะฯ มีไป 2 คน ผมกับเจ้าหน้าที่บุคคล (คุณนิตยา รอดเครือวัลย์) สำหรับของมน. ทราบว่ามีคุณเสริม พัดชุมพร (ประธานสภาข้าราชการและลูกจ้าง ของมน.) คุณอารมย์ จีนน้อย (หัวหน้างานการเจ้าหน้าที่) ถือว่าเป็น Keyman สำคัญ ในเรื่องบุคลากร การไปรอบนี้ต้องขอขอบคุณ คุณสมพร กรรมการสภาข้าราชการและลุกจ้าง ม.เชียงใหม่ ที่ได้แนะนำให้ข้อมูลเบื้องต้นกับผมผ่าน Blog ทำให้ผมได้มีโอกาสเตรียมตัวทำการบ้านก่อนไป

     ผมได้ดู Power Poing เกี่ยวกับ ดัชนีวัดผลการปฏิบัติงานสายสนับสนุน ของศ.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา (ผอ.รพ.ศิริราช ม.มหิดล ซึ่งเป็นวิทยากรบรรยายด้วย) ดูข้อมูลเบื้องต้นน่าสนใจ คือ การประเมินผลการปฎิบัติงาน ผู้ประเมิน และ ผู้ถูกประเมิน จะต้องมีการจัดทำข้อตกลงก่อนการประเมิน (Performance Agreement) ความจริงวันนี้ในคณะมีการทำข้อตกลงในการจัดทำ Job Description เหมือนกัน โดยให้ผู้ปฏิบัติงานตรวจสอบ JD ก่อน เมื่อตรวจเรียบร้อยแล้วจริงให้ลงนาม เมื่อลงนามแล้วก็สามารถใช้เป็นแนวทางในการประเมินการปฏิบัติงาน รายละเอียดที่น่าสนใจขอนำมาเขียนแบบย่อมีดังนี้ครับ

     ประเภทของดัชนีวัดผลการปฏิบัติงานสายสนับสนุน มี 5 ประเด็น

  • ปริมาณ (Quantity)
  • คุณภาพ (Quality)
  • เวลา (Time)
  • ค่าใช้จ่าย (Cost)
  • ความพึงพอใจของผู้รับบริการ (Customer Satisfaction)

     ดัชนีวัดผลการปฏิบัติงานที่สำคัญของบุคลากรสายสนับสนุน คือ ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ (ผู้รับบริการเป็นศูนย์กลาง) มีเกณฑ์การวัดดังนี้

  • Reliabilty - ได้ตามที่ตกลง
  • Assurance - มีความมั่นใจ เชื่อถือได้
  • Tangibles - เป็นรูปธรรมที่สัมผัสได้หรือเห็นชัดเจน
  • Empathy - ได้รับการเอาใจใส่
  • Reponsiveness - ได้รับบริการทันท่วงที

     แนวทางหรือวิธีการกำหนดตัวชี้วัด ที่ใช้มี

  • แนวทางของ Balanced Scorecard (เครื่องมือยอดฮิตในการแปลงกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติ)
  • อาศัยการกำหนด Key Responsible (Result) Areas - KRAs (ขอบเขตงานที่สำคัญ)
  • อาศัยการถาม-ตอบ (ปรับความคิดให้ตรงกันระหว่างผู้บังคับบัญชากับผู้ปฏิบัติงาน)

     บทสรุป  KPIs ของบุคลากรสายสนับสนุน คือ

  • ค้นหา Baseline Data
  • กำหนด Targets
  • เพิ่ม Targets
  • Targets สูงตามที่ต้องการและคงที่
  • ปรับเป็นงานประจำ

     การใช้ KPIs นั้นเพื่อพัฒนางาน และ KPIs เป็นเครื่องมือในการเปลี่ยนวัฒนธรรมการทำงาน   รายละเอียดที่ผมนำมาเขียนมาจาก Power Point ของ ศ.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา งานนี้คงได้เกิดการขับเคลื่อนการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุนอย่างจริงจัง การประชุม ปขมท.รอบนี้ผมดูแล้วแตกต่างกว่าทุกครั้งที่ผ่านมา เพราะมีการประชุมกลุ่มย่อยและนำเสนอด้วย ถือเป็นการปรับรูปแบบการประชุมที่น่าสนใจครับ เจ้าภาพจัดครั้งนี้เก่งมากครับ เพราะผู้เข้าร่วมประชุมค่อนข้างมาก

   BAR ของผมก่อนไปเข้าร่วมประชุมสัมมนาวิชาการในครั้งนี้ ตอบแบบสั้น ๆ เรียงข้อคือ

  • ต้องการทราบเกณฑ์กลางในการจัดทำดัชนีวัดผลการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุน
  • สามารถใช้เป็นแนวทางในการจัดทำดัชนีวัดผลการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุนได้

   ที่สำคัญต้องทำข้อตกลงกันก่อนครับ (Performance Areement) จะได้สบายใจทั้งผู้ประเมินและผู้ถูกประเมิน 

บอย

ชุมชนสำนักงานเลขานุการ

หมายเลขบันทึก: 12730เขียนเมื่อ 19 มกราคม 2006 12:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 มีนาคม 2012 08:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
การร่วมประชุมครั้งนี้คงได้รับประโยชน์ อย่างน้อยก็ได้ทราบว่าตัวชี้วัดที่ตัวเองต้องนำไปใช้ในการปฏิบัติงานคืออะไรบ้าง

คุณบอยครับ

ทีมของ อ.ประสิทธิ ทำงานหนักมาก รายละเอียดเท่าที่ขึ้นเวบนั้น เป็นผลงานจากทีมที่ประชุมที่ได้มีการระดมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน ซึ่งยังไม่ได้เป็นส่วนที่ อ.ประสิทธิ์ได้ตรวจ แต่ก็ค่อนข้างชัดเจน และเป็นประโยชน์มากสำหรับสายสนับสนุน 

 

ยังไม่ได้เช็คเลยว่าคุณบอยเดินทางมาถึงเชียงใหม่วันไหน  ถ้าเป็นไปได้อยากเชิญเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น  น่าจะเป็นเล่าสู่กันฟังมากกว่า  เพราะเห็นคุณบอยมีไอเดียดีมาก ๆ ในการทำงาน  อยากให้เล่าประสบการณ์การทำงานของทางสหเวชแก่บุคลากรของคณะ เพื่อเป็นแบบอย่าง หรือกำลังใจ หรือกระตุ้นให้พวกเรา ซึ่งหลาย ๆ คนที่อาจยังบริหารจัดการตัวเอง บริหารจัดการเวลา ไม่(ค่อยจะ) เป็น  ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งสำคัญในการทำงานแบบใหม่มาก ๆ

 

ว่างไหมครับ  จะได้เชิญเป็นทางการ

 

สมพร

ขอบคุณ คุณสมพรมากครับ ผมได้รับคำแนะนำจากคุณสมพรตั้งแต่ยังไม่ได้เดินทางออกจากพิษณุโลก ถ้ามีโอกาสได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน ก็อยากให้เป็นอย่างที่คุณสมพรบอกว่าเป็นการเล่าสู่กันฟังจะดีกว่า  คงไม่ต้องเชิญเป็นทางการครับ

คุณบอยครับ

 

อยากทราบกำหนดกากรเดินทางครับเผื่อจะได้ดูเวลาว่าเป็นไปได้ไหมที่จะได้คุยกับคณะเภสัชศาสตร์เชียงใหม่

 

ตอบทางเมลก็ได้ครับ

 

สมพร

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท