สรุปเวทีถอดบทเรียน "โครงการ ม.ชาวบ้าน"


     เมื่อวาน (18 ม.ค.49) เป็นการนัดประชุมเพื่อทำการถอดบทเรียน สังเคราะห์  "โครงการการจัดการความรู้จังหวัดนครศรีธรรมราช" เวลา 09.30 น. ณ ห้องสมุดประชาชน จ.นครศรีธรรมราช

     หนู KM 2 คน ก็มาถึงที่ทำงานตามเวลาปกติของทุกวัน ก็คือก่อน 08.00 น. วันนี้ขอใช้รถ มวล. เวลา 09.00 น. เพื่อไปส่งคณะทำงานที่ห้องสมุดประชาชน เพราะใช้ระยะเวลาในการเดินทางประมาณ 30 นาที แต่ก่อนจะถึงเวลา 09.00 น. คุณพ่อของหนู KM (คุณภีม) ก็โทรมาแจ้ง (เพื่อทราบ) ให้หนู KM 2 คน เดินทางไปกันก่อนเพราะคุณพ่อติดภาระกิจด่วน จึงร่วมเดินทางไปกับหนู KM ไม่ได้ แต่จะเข้าไปในช่วงเที่ยงเพื่อไปรับประทานอาหาร (เลี้ยงอาหารเที่ยง) และเข้าร่วมประชุมต่อในช่วงบ่าย และการประชุมในช่วงเช้าก็ให้หัวหน้าโครงการฯ (คุณจำนง หนูนิล) ดำเนินการไปก่อนได้เลย

     เมื่อได้รับทราบข่าวอย่างนั้นหนู KM ก็รับทราบและปฏิบัติตาม ก็เดินทางออกจาก มวล. เวลา 09.10 น. เพราะว่ารถที่จะมารับเกิดช้านิดหน่อยทำให้หนู KM เข้าร่วมประชุมสาย (ไม่ตรงต่อเวลา นิสัยไม่ดีอีกแล้ว โอกาสต่อไปจะไม่ทำอีกแล้ว)

     เมื่อถึงที่ประชุม ก็รีบเดินอย่างเต็มที่ เปิดประตูเข้าไปในห้องประชุมทุกสายตาก็หันมาที่หนู KM หมดเลย มีสายตาทั้งหมด 18 คู่ ด้วยกัน หนู KM ยกมือไหว้ เพื่อทำการทักทาย แต่ไม่กล้าสบตาเพราะรู้สึกผิดที่เข้าร่วมประชุมสาย จากนั้นก็จัดการกับตัวเองหาที่นั่งให้ตัวเองเรียบร้อยแล้วก็ตั้งหน้าตั้งตาตั้งใจฟังอย่างดี

    ซึ่งการประชุมในช่วงนี้ก็ให้ตัวแทนคุณกิจ ในแต่ละตำบล เล่าความเปลี่ยนแปลงในตำบลของตนเอง สิ่งที่ได้รับ ก่อนและหลังโครงการลงไป และการดำเนินการต่อไปข้างหน้า

     สรุปผลโดยรวมทั้ง 3 ตำบล ทุกตำบลรู้สึกว่าตำบลของตนเองมีการพัฒนาที่ดีขึ้น ทุกกองทุนมีความตื่นตัวดีขึ้น สมาชิกทุกคนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี และคิดว่าโอกาสต่อไปสามารถเดินต่อไปได้และขอให้หน่วยงานอย่าพึ่งทอดทิ้งเขาในตอนนี้ ช่วยประคับประคองเขาไปก่อนก็เหมือนกับเด็กที่พึ่งหัดเดิน พยายามหัดให้เขาเดินจนคล่องตัว เมื่อเขาเดินโดยลำพังแล้ว เขาก็จะเดินเองได้โดยเราไม่ต้องเข้าไปช่วยประคอง และเมื่อเขาเดินได้แล้ว ถ้าหากมีปัญหาเขาก็สามารถที่จะปรึกษาผู้เชี่ยวชาญได้ รู้สึกว่าชุมชนไม่ได้เดินอย่างโดดเดี่ยวเดียวดายอีกต่อไป ยังมีหน่วยงานต่าง ๆ ที่เดินทางร่วมไปกับชุมชนด้วย

     สิ่งที่อยากพัฒนาในชุมชนตอนนี้ก็คือ สร้างความสำนึกให้ความเป็นเจ้าของชุมชน ใช้แรงขับเคลื่อนโดยเครือข่าย กลุ่มที่จะล้มหรือจะเลิกทำค่อยหมดไป (ลดลง) และจุดอ่อนในตอนนี้ก็คือตัวคณะกรรมการเองไม่มีความพร้อมในเรื่องเศรษฐกิจในครัวเรือน เพราะถ้าเกิดลงมาทำงานในด้านนี้มากเกิดไป เขาก็ต้องขาดรายได้เข้าไปจุดเจือครอบครัว เพราะยังมีสมาชิกในครับครัวอีกหลายปากท้องที่รอหัวหน้าครอบครัวอยู่ ทำให้เขาทำงานได้ไม่เต็มความสามารถ

    ข้อคิดที่ได้ก็คือ คุณภาพชีวิตของเราเราต้องสร้างมันขึ้นมา และหากเราจะทำงานเพื่อชุมชนเราก็ต้องมีความเสียสละ สิ่งที่เราร่วมกันทำงานในวันนี้ ผลที่เกิดขึ้นมันอาจจะไม่เห็นผลในรุ่นของเรา แต่มันจะส่งผลให้เห็นถึงรุ่นลูกหลานของเรา ถ้าเราวางฐานไว้ดี รุ่นต่อไปก็จะเดินไปได้โดยสะดวก

     จากนั้นก็ให้คุณอำนวย สรุปผลการดำเนินงานที่ผ่านมา ซึ่งผลที่ได้รับก็คือ ทุกคนก็ให้ความคิดเห็นว่า 6 เดือน ที่ผ่านมา คุณอำนวยยังขาดทักษะในหลาย ๆ ด้าน ความรู้ความสามารถยังไม่เพียงพอ ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร เพราะคุณอำนวยส่วนใหญ่มีงานหลักอยู่แล้ว การทำงานโครงการนี้ก็ให้เวลาไม่เต็มที่เท่าที่ควร ควรจะมีเวลามากกว่านี้ แต่ก็เห็นว่าชุมชนมีความรู้เยอะอยู่ที่เราที่จะไปดึงความรู้จากชุมชนมาใช้ได้อย่างไร เพราะเห็นคุณกิจในวันนี้ก็รู้สึกภูมิใจ ดีใจ ที่ทุกคนมีความตื่นตัว และความร่วมมือเป็นอย่างดี แต่ 6 เดือนที่ผ่านก็คงจะเป็นฐานให้เดินได้ เพื่อที่จะกำหนดทิศทางหรือเป้าหมายต่อไป และคิดว่าก้าวย่างต่อไปคงจะดีขึ้นกว่านี้ ด้วยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน (โดยเฉพาะชุมชน)

    ผลการหารือในช่วงบ่ายก็เป็นการหารือ โครงการแก้จน 400 หมู่บ้าน ซึ่งคุณภีม ก็ได้ขายความคิดของตนเอง คุณอำนวยที่เข้าร่วมประชุมก็เข้าใจเป็นอย่างดี ถึงรูปแบบการจัดวางแผนผังโครงการสร้างว่าจะมีวิธีการดำเนินการไปในทิศทางใด ซึ่งสามารถเปิดอ่านรายละเอียดได้ที่ http://gotoknow.org/km4fc

หมายเลขบันทึก: 12708เขียนเมื่อ 19 มกราคม 2006 10:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:20 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท