ท่านทราบไหมว่าเงินตราของไทยในสมัยโบราณเป็นแบบไหน


คนไทยใช้เงินตราในรูปของเหรียญ ตั้งแต่สมัย ฟูนัน ทวาราวดี ศรีวิชัย จนมาถึงสุโขทัยตอนต้น โดยใช้ “เงิน” และ “ทอง” เป็นหน่วยนับ และมีขนาดและรูปร่างหลากหลายตามเมืองที่แยกกันในสมัยโบราณ

Coins 

ท่านทราบไหมว่าเงินตราของไทยในสมัยโบราณเป็นแบบไหน

พอได้ยินคำถามนี้

  1. ท่านที่เคยรู้เรื่องมาบ้างก็จะตอบว่า เงินพดด้วง
  2.  ท่านที่ไม่เคยศึกษา แต่เคยได้ยินมา อาจตอบว่า เหรียญกษาปณ์  

 

ก็อยู่ประมาณนั้นแหละครับ

แต่ ท่านคิดว่าคำตอบไหนใกล้เคียงหรือถูกมากที่สุดครับ  

ใครตอบข้อ ๑ ถือว่าเป็นคนยุคกลาง

ใครตอบข้อ ๒ ถือว่า เป็นคนรู้จักยุคต้นๆและยุคปลายของประวัติศาสตร์ของการใช้ เงินตรา ของไทย 

จากการสะสม เงินโบราณ และสืบค้นประวัติ เงินตรา ของไทยแบบ งานอดิเรกของผม 

ได้พบว่า <p style="margin: 0cm 0cm 0pt 36pt; text-indent: -18pt; tab-stops: list 36.0pt" class="MsoNormal"></p><ul>

  • ในโบราณ คนไทยใช้เงินตราในรูปของเหรียญ ตั้งแต่สมัย ฟูนัน ทวาราวดี  ศรีวิชัย จนมาถึงสุโขทัยตอนต้น โดยใช้ เงิน และ ทอง เป็นหน่วยนับ และมีขนาดและรูปร่างหลากหลายตามเมืองที่แยกกันในสมัยโบราณ
  • ในอาณาจักรน่านเจ้า สุโขทัย และล้านนาตอนปลาย ก็ได้มีการปรับรูปแบบการใช้เงินเงินตรา มาดัดแปลงเป็นเงินก้อน และทองก้อนประทับตรา เรียกว่า เงินพดด้วง ที่มีตราประจำราชวงศ์ และตราประจำพระองค์ประทับอยู่ มีขนาดต่างๆ ตั้งแต่
  • </ul><p style="margin: 0cm 0cm 0pt 72pt; text-indent: -18pt; tab-stops: list 72.0pt" class="MsoNormal"></p><blockquote>

    o       ชั่ง ๘๐ บาท (ประมาณกิโลกรัมกว่าๆ)

    o       ตำลึง ๔ บาท (ประมาณ ๖๐ กรัม) <p style="margin: 0cm 0cm 0pt 72pt; text-indent: -18pt; tab-stops: list 72.0pt" class="MsoNormal"></p> o       ครึ่งตำลึง  ๒ บาท ประมาณ ๓๐ กรัม <p style="margin: 0cm 0cm 0pt 72pt; text-indent: -18pt; tab-stops: list 72.0pt" class="MsoNormal"></p> o       หนึ่งบาท ประมาณ ๑๕ กรัม <p style="margin: 0cm 0cm 0pt 72pt; text-indent: -18pt; tab-stops: list 72.0pt" class="MsoNormal"></p> o       ครึ่งบาท (ใช้ระบบผ่าครึ่งบาท ให้เหลือติดกันไว้ เผื่อหักใช้ครึ่งเดียว-น่าจะเป็นที่มาของคำว่า เส้นสองสลึง??) <p style="margin: 0cm 0cm 0pt 72pt; text-indent: -18pt; tab-stops: list 72.0pt" class="MsoNormal"></p> o       หนึ่งสลึง (สี่สลึงเป็นหนึ่งบาท) <p style="margin: 0cm 0cm 0pt 72pt; text-indent: -18pt; tab-stops: list 72.0pt" class="MsoNormal"></p> o       หนึ่งเฟื้อง  (สองเฟื้องเป็นหนึ่งสลึง) <p style="margin: 0cm 0cm 0pt 72pt; text-indent: -18pt; tab-stops: list 72.0pt" class="MsoNormal"></p> o       หนึ่งไพ (สองไพ เป็นหนึ่ง เฟื้อง) <p style="margin: 0cm 0cm 0pt 72pt; text-indent: -18pt; tab-stops: list 72.0pt" class="MsoNormal"></p> o       หนึ่งอัฐ (สอง อัฐ เป็นหนึ่ง ไพ หรือ ซีก) <p style="margin: 0cm 0cm 0pt 72pt; text-indent: -18pt; tab-stops: list 72.0pt" class="MsoNormal"></p> o       หนึ่งโสฬส (สองโสฬส เป็นหนึ่งอัฐ หรือ เสี้ยว) <p style="margin: 0cm 0cm 0pt 72pt; text-indent: -18pt; tab-stops: list 72.0pt" class="MsoNormal"></p> o       มีเบี้ยเป็นหน่วยย่อยของเงิน (๕๐ เบี้ยเป็นหนึ่งโสฬส) </blockquote><p style="margin: 0cm 0cm 0pt 36pt; text-indent: -18pt; tab-stops: list 36.0pt" class="MsoNormal"></p><ul>

  • เงิน หรือ ทอง หนึ่งบาท หนัก ๑๕ กรัม (แต่สมัยนั้น ไม่มีคำว่า กรัมและไม่มีเลข ๑๕ แต่มีผู้กล่าวว่า น่าจะใช้น้ำหนักของเมล็ดมะกล่ำที่มีน้ำหนักแน่นอนสม่ำเสมอ จำนวนคงที่จำนวนหนึ่งเป็นมาตรฐาน แต่ไม่มีหลักฐานยืนยันครับ)
  •  เงินพดด้วงใช้มานานจนถึงต้นกรุงรัตนโกสินทร์
  •  สมัยรัชกาลที่ ๔ ได้เริ่มปรับรูปแบบการใช้เงินจาก พดด้วงเป็นเหรียญ เริ่มใช้วัสดุอื่นๆ แทน เงิน เช่น ดีบุก ทองแดง ที่มีค่าต่ำกว่าเงิน จึงใช้ทำเหรียญที่ราคาถูกลงได้ โดยขนาดไม่เล็ก ไม่ใหญ่ เหมาะกับการใช้งาน และมีทองเป็นวัสดุราคาสูง ใช้พกเป็นตำลึง เป็นชั่งได้โดยไม่หนักจนเกินไป
  •   แต่เมื่อพกพามากๆเพื่อไปจ่ายเงินไกลๆ ก็หนัก และอันตราย ก็เลยคิดเรื่องตั๋วแลกเงินในรัชกาลที่ ๔ ที่มาดัดแปลงเป็น ธนบัตร เงินกระดาษในระยะต่อมาในรัชกาลที่ ๕ แต่ก็มีปัญหาเรื่องคนไทยไม่ชินกับการเก็บรักษาเงินกระดาษ
  •  การใช้เงินกระดาษ เริ่มใช้จริงจังสมัย รัชกาลที่ ๖ เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน แต่เงินเหรียญก็ใช้ในเงินตราราคาต่ำกว่า ๑ บาท
  •  แต่ก็มีบางสมัยที่มีธนบัตรราคา ๕๐ สตางค์ ที่เริ่มตั้งแต่รัชกาลที่ ๗ มาเลิกใช้ในรัชกาลที่ ๘ 
  • </ul><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p align="center">นี่แหละครับ ความรู้รวมๆ ที่ผมได้รับในวันเปิดตัวบล็อกใหม่ตามคำเรียกร้องของท่าเกษตรยะลาครับ </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal" align="left">รายละเอียด และหน้าตาของเงินตรา จะนำมาให้ชมในวาระต่อไปครับ</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal" align="center">Img_3262+crop+%28small%29 </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal" align="left">วันนี้ชมชุด พดด้วงทองคำ ๕ ก้อน สมัย รัชกาลที่ ๔ (รูปมงกุฎ) เท่าที่ผมหามาจัดชุดได้ ไปก่อนนะครับ  เงินตราอื่นๆ จะนำมาให้ชมวันหลัง ถ้ามีคนสนใจครับ ครบบ้างไม่ครบบ้างก็ตามมีตามเกิดนะครับ</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal" align="left"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p>สวัสดีครับ</p><p>  </p>

    หมายเลขบันทึก: 126570เขียนเมื่อ 9 กันยายน 2007 14:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:19 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


    ความเห็น (10)

    ขอบคุณมากนะคะที่นำมาให้ดู

    ทุกวันนี้หาดูยากมากนะคะ

    ขอบคุณมากๆนะคะ ที่ทำให้หนูมีรายงานส่ง

    พรณิภา บุพศิริกุล

    เรียน อาจารย์ ดร.แสวง รวยสูงเนิน พอดีหนูต้องทำรายงานเกี่ยวกับเรื่องของเงินตราสมัยโบราณแต่ไม่มีความรู้ด้านนี้เลยจะขอความกรุณาอาจารย์เกี่ยวกับเรื่องเงินตราสมัยโบราณ หวังว่าคงจะไม่รบกวนอาจารย์จนเกินไปนะคะ ขอบพระคุณคะ

    พรณิภา บุพศิริกุล

    ต้องสืบค้นดูครับ

    แนวทางผมสรุปไว้ให้แล้วครับ

    ความรู้อยู่ที่การเรียน และการจัดการความรู้ครับ

    ไม่ลองไม่รู้ครับ

    ผมกว่าจะได้ความรู้ขนาดที่พูดมาข้างต้น ก็ต้อง "เรียน" มานานพอสมควร

    จึงต้องเรียนครับ

    ขอให้โชคดีครับ

     

    ขอคำแนะนำจากอาจารย์หน่อยครับ

    เงินพดด้วง ร.3 แท้หรือเปล่าครับอาจารย์

    แท้ขายได้เท่าไหร่ครับ

    ขอขอบคุณล่วงหน้าครับอาจารย์

    ต้องเห็นของครับ

    ส่งมาทาง [email protected] ไม่เกิน ๑๐๐ Kb ก็ได้ครับ

    ราคาขึ้นอยู่กับราคะครับ

    จะปล่อยจริงๆ ผมจะรับซื้อในราคาตลาด ที่ค้องเช็คดูก่อนครับ

    ผมห่างมานานครับ

    ก่อนอื่นอยากดูของก่อนครับ

    ให้ถ้าย ใกล้ ตราจักร และตรา ร. ๓ ชัดๆ และผิวกร่อนชัดๆครับ

    ผมอยากขอถามอาจารย์ว่า

    พดด้วงทองคำ รัชกาลที่ 5 หนัก 1 บาท ตราพระเกี้ยว

    หายากไหมครับ แล้วราคาน่าจะอยู่ที่ประมาณเท่าไรครับ

    เท่าที่มีข้อมูลนะครับ

    อะไรที่เกี่ยวกับรัชกาลที่ ๕ นี่หายากทันที ไม่ต้องทองคำหรอกครับ เงินก็ยากแล้วครับ

    โอกาสหลงก็ยิ่งยาก เพราะใครๆก็รู้

    จึง หายาก และ แพง ครับ

    คิดจะเล่น หาอะไรที่ง่ายกว่านั้น จะดีกว่าครับ

    ภ้าวาสนาดีเดี๋ยวก็ได้เอง

    ขนาดพดด้วงสมัยพระนเรศวรผมยังมีเลยครับ

    บุญวาสนาแท้ๆเลยครับ

    หนังเก่านำกลับมาฉายใหม่ทั้งหมด ดูภาพไม่ได้เลยครับอาจารย์ ได้แต่ดูคำบรรยายครับ..น่าเสียดายครับ..ขอบคุณครับ..

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท