KM กับมุมมองเกี่ยวกับ ปัญหา เชิงบวก


สิ่งสำคัญก็คือ เมื่อเกิดปัญหาขึ้นแล้ว เราจะรู้จักมองปัญหานั้นอย่างไร หลายคนทำให้ปัญหากลายเป็นอุปสรรคในการทำงาน KM ช่วยให้เรามองปัญหาเป็นเส้นทางสู่ความสำเร็จ

วันนี้ผมได้ใช้เวลาประมาณ 10-15 นาที ระหว่างรอที่จะปรึกษาหารือกับเพื่อนร่วมงาน ในเรื่องเกี่ยวกับการบริหารศูนย์กีฬาของวลัยลักษณ์ พูดคุยกับเลขาฯ (คุณ ปารมี รุ่งนิรันดรกุล) ซึ่งก็มีโอกาสที่จะได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันในเรื่องเกี่ยวกับปัญหาในการทำงาน จึงทำให้ผมได้ทบทวนและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับมุมมอง ปัญหาในการทำงานของคนแต่ละคน รวมถึงพนักงานของวลัยลักษณ์อีกหลาย ๆ คน ที่ผ่านกิจกรรม KM ที่เราได้จัดขึ้น ซึ่งมีประเด็นสรุปว่า  คนที่ทำงานทุกคน ย่อมที่จะมีปัญหาในการทำงานเกิดขึ้นเสมอ ถ้าไม่มีปัญหาก็อาจจะเป็นไปได้ที่คนนั้นไม่ค่อยได้ทำงาน แต่สิ่งสำคัญก็คือเมื่อเกิด ปัญหา ขึ้นแล้วเราจะรู้จักมองปัญหานั้นอย่างไร หลายคนมักจะให้ความสำคัญของปัญหามากเกินไป จนทำให้ปัญหากลายเป็นอุปสรรคในการทำงาน และก็ไม่สามารถที่จะทำให้งานนั้นเดินหน้าไปได้ รวมทั้งเป็นบ่อเกิดของความขัดแย้งต่าง ๆ ขึ้นมาได้ในระหว่างเพื่อนร่วมงาน ซึ่งถือว่าเป็นความโชคร้ายอย่างยิ่งสำหรับองค์กร ดังนั้น กลยุทธ์การดำเนินกิจกรรม KM ของวลัยลักษณ์ในจุดเริ่มต้นที่ผ่านมา ซึ่งก็ได้รับคำชี้แนะจากท่านอาจารย์หมอ วิจารณ์ ว่า เราจะเน้นที่ความสำเร็จ ไม่เน้นที่ปัญหา  ในกลยุทธ์นี้ก็ใช้ได้ผลอย่างยิ่ง เพราะพนักงานเกือบทุกคนที่ผ่านกิจกรรม KM ที่เราได้จัดขึ้น มีทัศนะของการ care and share ที่ดีมาก ๆ จึงทำให้ เมื่อพวกเราได้ไปทำงานและเจอปัญหา จึงทำให้มีวิธีคิดที่จะช่วยกันแก้ปัญหาให้ได้ นั่นก็คือ การมองปัญหาเป็นเส้นทางสู่ความสำเร็จ(มองปัญหาในแง่บวก) ไม่ใช่มองปัญหาเป็นอุปสรรค (มองปัญหาในแง่ลบ) ผมคิดว่า KM ได้ช่วยให้พนักงานหลายคนในวลัยลักษณ์เรา มองปัญหาในแง่บวก และบางคนก็บวกมาก ๆด้วย ซึ่งผมคิดว่าเป็นโชคดีของวลัยลักษณ์เราจริง ๆ ครับ ยิ่งถ้ามีคนที่คิดแบบนี้มาก ๆ ขึ้นเรื่อย ๆ วลัยลักษณ์ ก็จะเป็นสถานที่น่าทำงานมากที่สุดแห่งหนึ่งนะครับ  ถึงตอนนี้ผมก็อยากจะถือก็โอกาส ประชาสัมพันธ์พวกเราชาววลัยลักษณ์นะครับว่า ในช่วงเดือนมีนาคม ประมาณ วันที่ 22-24 เราจะมีการกิจกรรม KM ภายใต้ชื่อโครงการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อการปฏิบัติงานที่ดีเพื่อวลัยลักษณ์ รุ่นที่ 3 (เรารับประมาณ 40-50 คน เท่านั้นนะครับ) เท่าที่ผมได้รับรายงานจากน้องๆ ที่ทำงาน OD ว่ามีพนักงานหลายคนสนใจ แต่ก็กลัวว่าจะไม่ได้รับการคัดเลือกให้เข้าโครงการฯ ดังนั้นในรุ่น 3 นี้ผมจึงได้ให้นโยบายเพิ่มเติมไป 2 เรื่อง คือ การคัดเลือกพนักงานเข้าโครงการฯ ให้ทำ2 ทาง คือ ให้พนักงานที่สนใจแสดงความจำนงมา พร้อมบอกเป้าหมาย ความคาดหวัง และสิ่งที่จะทำต่อไป กับอีกทางหนึ่งหน่วยงาน OD ก็จะทำการคัดเลือกเอง โดยดูจากผลการดำเนินงาน บทบาทหน้าที่ในหน่วยงาน และประโยชน์ที่เกิดกับมหาวิทยาลัยของเรา  นอกจากนี้ในอีกนโยบายหนึ่ง ในรุ่นนี้เราจะขยายผลไปถึงสายวิชาการบางส่วนด้วยครับ เพื่อเป็นการนำร่องแบบผสมผสาน ถ้ายังไงขอให้พวกเราช่วยติดตามข่าวจากงาน OD ด้วยนะครับ ขอบคุณมากครับ

คำสำคัญ (Tags): #ความสำเร็จ
หมายเลขบันทึก: 12644เขียนเมื่อ 18 มกราคม 2006 17:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:19 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เป็นโครงการที่น่าสนใจมากและหากมีการปฏิบัติแล้วมีการตอบรับที่ดีผมว่าน่าจะเป็นประโยชน์มากและคิดว่าที่ม.วลัยลักษณ์น่าจะเป็นสถานที่น่าทำงานมาก หากมีการจัดแล้วได้ผลยังไงหรือมีปัญหา ผมอยากให้ลงในบล๊อกหน่อยนะครับผมจะติดตามเผื่อได้นำมาปรับปรุงหรือจัดกิจกรรมอย่างนี้เผื่อจะแก้ปัญหาได้มากครับ ขอบคุณมาก

 

ตามแผนการใช้ KM เป็นเครื่องมือในการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่เกิดจากค่านิยมที่ดีมีคุณค่าในการทำงานเพื่อวลัยลักษณ์ของเราจะใช้เวลาประมาณ 2 ปี ครับ แต่ผมก็มีความเชื่อมั่นวลัยลักษณ์จะเดินไปสู่เป้าหมายได้ไม่ยาก เพราะผมได้เห็นแล้วว่า ณ ขณะนี้เราได้เดินบนแนวคิดของ KM มาเพียง 6 เดือน ก็พอที่จะเห็นผลบ้างแล้ว ถ้ายังไงผมจะได้นำมาเล่าสู่กันเรียนรู้นะครับ หากมีข้อแนะนำอื่นใดอีก ผมยินดีนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท