KM (แนวปฏิบัติ) วันละคำ : (397) โอกาสในการทำวิจัยจากกิจกรรม KM


         วันที่ 13 ต.ค. 50  ผมต้องไปบรรยายเรื่อง KM กับการวิจัย ในการประชุมของ สกว.     ที่ฝ่ายวิจัยวิชาการจัดการประชุม “นักวิจัยใหม่พบเมธีวิจัยอาวุโส” ที่พัทยา

         และในวันที่ 17 ก.ย. 50 เรามีเวที KM Research ที่ มรภ. สวนดุสิต    เป็นตัวดึงความคิดของผม     โดยผมตั้งคำถาม ว่านักวิจัยไทยมีโอกาสได้โจทย์วิจัยจากการใช้ KM ในประเทศไทยอย่างไรบ้าง      

         คือในเวลานี้ ภาคส่วนต่างๆ ของไทย ได้นำ KM ไปใช้ประโยชน์ สร้างเวทีเรียนรู้     ใช้พัฒนางาน พัฒนาการเรียนรู้ของทีมงาน และของชุมชนอย่างน่าตื่นตาตื่นใจ     แต่ผมเห็นว่า วงการวิชาการยังไม่ตื่น

         วงวิชาการ/วิจัย ด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ มีโอกาสสูงอย่างไม่เคยมีมาก่อน     ในการเข้าไปศึกษา learning psychology, community psychology, group learning, empowerment psychology, communication psychology, lifelong learning skill, empowerment skill in community learning, etc.     โอ้โฮ คนที่ไม่รู้เรื่องศาสตร์ด้านสังคมยังระบุหัวข้อวิจัยได้เป็นหน้ากระดาษเลยนะนี่    

         ผมมองว่า กิจกรรม KM มันเปิดมุมมองใหม่ต่อความเป็นมนุษย์     เปิดมุมมองใหม่ต่อความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์     ทำให้นักวิชาการ/วิจัย สามารถใช้มุมมองใหม่  ใช้ทฤษฎีใหม่ ในการเข้าไปตีความสิ่งที่เกิดขึ้นจริงในวง KM     และผลของการเข้าไปใช้ทฤษฎีใหม่ๆ ตีความสภาพจริงเหล่านี้ จะช่วยให้เราพัฒนากระบวนการ KM ในบริบทไทย ให้ก้าวหน้าขึ้นไปอีกระดับหนึ่ง     สร้างผลกระทบให้แก่สังคมได้มากยิ่งขึ้น    เป็นการหมุนเกลียวความรู้เกี่ยวกับ KM ในสังคมไทย     ผ่าน ปฏิบัติ – ปริยัติ – ปฏิบัติ – ปริยัติ  -  เรื่อยไป     โดยมีปฏิเวธ เป็นผลที่นักวิชาการ/วิจัย เข้าไปศึกษาออกมาเป็นความรู้ทฤษฎี หรือความรู้เชิงปริยัติ

         ผมฝันว่า  การปฏิบัติ KM อย่างกว้างขวางในสังคมไทย จะดึงดูดนักวิชาการด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์     โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ด้านจิตวิทยา  ด้านทฤษฎีการเรียนรู้  ด้านการสื่อสาร ด้านความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์  ด้านพฤติกรรมองค์กร   ด้านวัฒนธรรมองค์กร  ฯลฯ     เข้ามาทำวิจัย ตีความปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในองค์กร  ชุมชน  และสังคม   

         ผมมองว่า ความเข้าใจสิ่งเหล่านี้จากสภาพจริงของสังคม    จะช่วยเป็นฐานความรู้ในการขับเคลื่อนสังคมของเราไปสู่สังคมที่มี สุขภาวะ สังคมแห่งความดี  ความงาม   สังคมเรียนรู้  สังคมพอเพียง  ฯลฯ

วิจารณ์ พานิช
1 ก.ย. 50

หมายเลขบันทึก: 125852เขียนเมื่อ 7 กันยายน 2007 08:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 20:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบพระคุณค่ะอาจารย์หมอ

หนิงก็คิดอยู่เหมือนกันค่ะ  ว่าอยากจะทำวิจัย  กำลังหาแนวคิดและโจทย์วิจัยอยู่ค่ะ

ได้อ่านบันทึกดีดีแบบนี้  กระตุกต่อมคิดอีกแล้วค่ะ

ขอบพระคุณจริงๆค่ะอาจารย์หมอ

ขอบพระคุณครับ

  • นักวิจัยที่มี ฉันทะ ที่ถูกต้องต่องานวิจัยน่าจะตาสว่างขึ้นอีกมาก
  • นักธุรกิจวิจัย อ่านเท่าไรก็คงไม่ get
  • ผู้ควบคุมงานวิจัยก็ใช่ย่อย มีอยู่ไม่น้อย ทำตัวเป็นตัวขัดขวาง วิถี ที่ถูกต้องเสียเอง เพราะยังอยู่ในกรอบ อันเป็นที่เคารพมากเกินไป
  • อยากเห็น นักวิจัยไทย ที่ทำวิจัยแบบ ที่ฝรั่งเขาทำกันจังเลยครับ
     
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท