ความยากจนของเกษตรกร (๖) : หนี้สินภาคประชาชนและการสูญเสียที่ทำกิน


เกษตรกรส่วนใหญ่มองไม่เห็นอนาคตของตนเอง และไม่รู้จะส่งไม้ต่อให้ลูกหลานได้อย่างไร”

 จากการทำงานร่วมกับชุมชนทั้งในและนอกเครือข่ายปราชญ์ ผมได้พบในภาพรวมว่า ดังที่ ครูบาสุทธินันท์ กล่าวไว้เสมอว่า

 เกษตรกรส่วนใหญ่มองไม่เห็นอนาคตของตนเอง และไม่รู้จะส่งไม้ต่อให้ลูกหลานได้อย่างไร 

เส้นทางหนึ่งของทางเลือกก็คือ เลียนแบบความสำเร็จของคนอื่นในหลายๆทางเลือกอื่นๆ เช่น 

1.    การศึกษาที่อาจทำให้ทำงานที่ดี มีรายได้ดี เอาตัวรอดได้ และสามารถกลับมาช่วยครอบครัวของตนเองได้

2.    ถ้าลูกไปไม่รอดก็จะให้ไปหางานทำในเมือง รับจ้างสารพัดรูปแบบ ทั้งรายวัน รายเดือน ที่จะช่วยเหลือตัวเองได้ และอาจจะช่วยเหลือครอบครัวได้ แต่ผลก็มักไม่เป็นดังที่หวังมากนัก

3.    การหาทางไปทำงานในต่างประเทศ ที่มีคนได้รายได้ดีๆ สำเร็จกลับมา แต่จำนวนหนึ่งถูกหลอก หรือล้มเหลวจากการกระทำของตนเอง ก็มีมาก

4.    คนที่มีลูกสาวหน้าตาดีหน่อยก็อาจไปทำงานในวงการบริการและบันเทิงที่หวังว่าจะมีรายได้ดี หรือพบคนที่จะมาช่วยแก้ไขปัญหาของครอบครัว

5.    สำหรับครอบครัวที่พอจะมีทรัพยากรที่ดินบ้าง ก็อาจนำไปจำนองหาเงินมาลงทุนในกิจกรรมนอกภาคเกษตรเช่น การเร่ขายของต่างๆ หรือ ซื้อรถไปวิ่งรับจ้างในกรุงเทพมหานคร

6.    ฯลฯ 

ในการค้นหาทางเลือกต่างๆนั้น ก็มีความจำเป็นต้องลงทุน มากน้อยแล้วแต่กิจกรรม 

สิ่งที่พบมากที่สุดก็คือ การส่งลูกเรียน ที่ดูเหมือนจะเป็นความหวังของครอบครัวเกษตรกรส่วนใหญ่  

แต่ ในระบบนี้ก็มีการลงทุนค่อนข้างมาก ทั้งตามความจำเป็นจริง และความจำเป็นปลอมๆ หรือก้ำๆกึ่งๆก็แล้วแต่ จนกลายเป็น แฟชั่น ของการลงทุนทางการศึกษา โดยเฉพาะ

·        รถมอเตอร์ไซค์ หรืออย่างน้อยก็รถจักรยานเป็นเครื่องนำทาง ก่อนที่จะขยับไปเป็นมอเตอร์ไซค์

·        มือถือ และค่าใช้บริการ ที่อ้างว่า เพื่อความสะดวกในการติดต่อ พูดคุยเวลามีปัญหา และ คิดถึงบ้าน ที่พ่อแม่ มักจะไม่กล้าขัด

·        เครื่องมืออำนวยความสะดวกอื่นๆ ในการเรียน อุปกรณ์การเรียน และค่าใช้จ่ายอื่นๆที่จะตามมา เป็นรายวัน โดยอาจไม่วางแผนไว้ก่อน 

แล้วพ่อแม่จะเอาเงินเหล่านี้มาจากไหน 

1.    ในเบื้องต้นก็อาจพอมีเงินสะสมอยู่บ้าง

2.    ต่อมาก็อาจเริ่มหยิบยืมญาติพี่น้อง

3.    บางครอบครัวที่วางแผนดีหน่อยก็อาจทำการเกษตรเพิ่มขึ้น หรือให้พี่น้องช่วยกันหามากขึ้น แต่ก็ยิ่งมีอัตราเสี่ยงมากขึ้น

4.    บางครอบครัวที่มีการเลี้ยงสัตว์ก็อาจมีการขายสัตว์เลี้ยง ตั้งแต่ไก่ หมู หรือ แม้แต่วัวควาย เพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้า 

5.    เมื่อหาทางยืมไม่ค่อยได้ก็จะเริ่มเข้าสู่ระบบการกู้ยืม โดยการจำนองที่ดินกับเอกชน (ที่ดอกเบี้ยสูง)แต่ไม่ต้องจดจำนองที่ดิน และระยะต่อมากับ ธกส. (ดอกต่ำลงมาหน่อย แต่ต้องจดจำนองที่ดิน) 

การกู้ยืมนี้ เป็นส่วนที่นอกเหนือจากภาระหนี้สินอื่นๆ ที่มีอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นการซื้อเครื่องมือทางการเกษตร สร้างบ้าน แต่งงาน งานศพ บวชพระ ที่ทำกันแบบเกินความจำเป็น และมักนำไปสู่การเป็นหนี้ ก้อนโต อีกทางหนึ่ง ที่ทำให้เสียที่ทำกิน ในที่สุด 

บางทีก็เกิดจากสารพัดหนี้มาสุมรวมกัน 

การซื้อรถมอเตอร์ไซค์ ที่ต้องใช้เงินมากอาจเป็นจุดเริ่มการเป็นหนี้โดยวิธีนี้ แต่มักจะไม่มีปัญญาผ่อน แต่ต้องจ่ายคืนเป็นรายปี ที่ทำให้ต้องกู้เงินนอกระบบมาหมุนเวียนที่ทำให้ภาระหนี้เพิ่มมากจนหาทางหมุนไม่ได้ ก็จะเดินเข้าสู่กับดักที่สำคัญก็คือ 

การขายที่ดิน 

ที่เป็นที่ทำกินของตัวเอง โดยคาดหวังว่า เมื่อลูกสำเร็จก็มีทางเลือกอื่นในการดำรงชีวิตของครอบครัวได้ 

แค่ความฝันก็มักไม่เป็นจริงเสมอไป คนที่สำเร็จก็มี ที่ล้มเหลวก็มาก  

บางครอบครัวก็ขายแล้วไปหาทำกินใหม่ในเขตป่า แต่ในปัจจุบันทำได้ยากแล้ว แม้จะมีการเดินขบวนเรียกร้อง ก็ไม่มีทางที่รัฐจะแก้ปัญหาของเกษตรกรได้อย่างทั่งถึง 

ในสภาวะปัจจุบัน จึงพบว่าหนี้สินภาคประชาชน และโดยเฉพาะเกษตรกร มีอย่างมากมาย ทั่วไป และ จำนวนมากเกินกว่าระบบการเกษตรจะช่วยเหลือได้ ทั้งจากระบบการผลิต และระบบคิดในการทำการเกษตร  

ในอดีตจะมีคนมีฐานะ และพ่อค้าเข้ามาซื้อที่ดินเพื่อหวังเก็งกำไร แต่หลังจากฟองสบู่แตกในปี ๒๕๔๐ การลงทุนแบบนี้จะมีน้อยลง จึงเป็นช่องทางให้นายทุนต่างชาติเข้ามาฉวยโอกาสซื้อที่

โดยให้เจ้าของที่ดินเขียนสลักหลังเอกสารว่าได้กู้เงินเขามาในจำนวนเท่ากับที่ขายที่ดิน (ก็ขายแบบไม่ต้องโอนนั่นแหละ) ดังนั้น การสูญเสียที่ดินแบบใหม่จึงเป็นขายประเทศไทย ที่น่ากลัวมาก 

แล้วใครจะช่วยชาวบ้านได้ครับ แล้วใครจะช่วยประเทศไทยได้บ้างล่ะครับ 

แค่คิดก็เหนื่อยแล้วครับ ช่วยกันหน่อยได้ไหมครับ

เราจะได้เจ็บน้อยลง

และแก้ปัญหาก่อนที่จะสายเกินแก้ ครับ 

หมายเลขบันทึก: 125611เขียนเมื่อ 6 กันยายน 2007 13:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 07:20 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (22)
  • อยากบอกอาจารย์ว่า โง่ จน เจ็บ ก็ใช่
  • แต่ชาวนาหรือเกษตรกรเราตามไม่ทันปัญหาเหล่านี้ครับ
  • แต่ลูกหลอกว่าต้องใช้อุปกรณ์ในการเรียนที่แพงพ่อแม่ก็ไม่ทราบแล้ว
  • ที่น่าเป็นห่วงคือพ่อแม่ขายที่ดินออกไปแต่ลูกจบออกมาไม่มีงานทำ
  • แต่ผู้ปกครอง ก็อยากให้ลูก ทำงานอยู่ในเมือง เป็นเจ้าคนนายคน
  • ผมมองว่าระบบการศึกษาบ้านเราสุญเปล่าไปมากครับอาจารย์
  • ขอบคุณครับ

สวัสดีครับ  ท่านอาจารย์ ดร.แสวง

  • กระผมคงต้องขออนุญาตรบกวนพูดคุยกับท่านอาจารย์บ่อยๆ  เพราะเห็นปัญหาและแนวโน้มของสังคมชนบทในมิติเดียวกันกับท่าน 
  • ก็เคยรู้สึกว่า  ปัญหานี้ทำไมไม่มีคนใส่ใจจริงจังสักที  โดยเฉพาะผู้ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา เพราะเป็นปัญหาที่สามารถทำให้ประเทศไทยล่มสลายได้ในเวลาไม่ช้าไม่นานนัก
  • ที่จริงในหลวงท่านทรงชี้แนะและทรงทำให้เห็นเป็นประจักษ์มาตลอด หลายคนก็ทำสำเร็จเป็นแบบอย่างให้เห็นอย่างชัดเจน  แต่กลับสู้กระแสเอาความสนุกเป็นที่ตั้ง  และการเรียนเพื่อหนีนาไม่ได้  วิธีการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าจนสูญเสียที่ทำกินในท้ายที่สุด  จึงลุกลามไปเรื่อยๆ (ผมอยู่กับชุมชนในลักษณะนี้มาตลอดกว่า 30 ปีมาแล้ว  เห็นพัฒนาการของปัญหามาทุกฝีก้าวเช่นกัน)
  • ว่างเชิญท่านอาจารย์ที่ Blog  ของกระผมบ้างก็ดีครับ  จะได้เห็นว่ากระผมก็กังวลในปัญหานี้เช่นเดียวกัน  หรือจะเชิญที่ โรงเรียนบ้านโคกเพชร/ สักครั้งก็จะเป็นพระคุณยิ่งครับ 
  • แล้วกระผมจะกลับมาแลกเปลี่ยนอีก

สวัสดีครับ  ท่านอาจารย์ ดร.แสวง

  •  ผมรู้กับอาจารย์ ครั้งที่อาจารย์มาทำงานวิจัยที่อ.สูงเนิน อ.สีคิ้ว โคราช
  • ผมคิดว่าปัญหาเกษตรกรที่ อาจารย์ให้ข้อคิดเห็น ผมสรุปด้วยรูปแบบ"งานวิจัยท้องถิ่น"ง่าย ๆ ที่ชาวบ้านยังแก้ปัญหาตัวเองยังไม่ได้
  • โลกาภิวัฒน์ ครอบงำ หลงระเริง ในทุนนิยม 
  • แล้วกระผมจะกลับมาแลกเปลี่ยนอีก
เรียน พันธมิตร ผมขอขอบคุณที่ให้ความสนใจปัญหาระดับชาติ ที่แทบไม่มีคนสนใจ ผมตีประเด็นเรื่องนี้มาหลายครั้ง ก็เงียบหาย เหมือนกับไร้สาระ งวดนี้ ผมจี้จับไม่ปล่อย และปล่อยกระสุนมาเป็นระยะๆ ผมจะค่อยๆ ขมวดปมเข้ามา ทุกครั้ง ตอนนี้ก็เป็นตอนที่ ๕ แล้ว ไม่แนใจว่าจะจบในกี่ตอน อาจจะได้ถึง ๑๐ ตอน เมื่อวานผมได้ไปคุยกับ จนท ทีวีช่อง ๑๑ เขาก็สนใจที่จะช่วยประโคมเรื่องนี้ผ่านรายการของเขาอีกทางหนึ่ง หวังว่าจะมีคนได้ยินบ้างครับ How may ears must one man have, before they can hear people cry!!!!!! ครูวุฒิครับ ถ้าผมผ่านไป ผมจะแวะครับ
  • เรียนท่าน  ดร.  แสวง   รวยสูงเนิน  ขออนุญาตแลกเปลี่ยน 
  • ถ้าจะมองอีกด้านคิดว่า  เกษตรกรของเรามีหัวใจที่ใสซื่อ  ค่านิยมในการขายที่ทำกินเพื่อส่งบุตรหลานเรียนหนังสือมีเพิ่มขึ้นทุกวัน  เรียกได้ว่ายอมหมดตัวเพื่อลูก    ใครที่มีลูกดีก็ดีไป   แต่ที่เห็นส่วนมากได้ดีกันแล้วไม่ยอมกลับบ้านถอนทุนคืนให้พ่อแม่  และสังคม   พวกเกิดแต่ตม  แล้วไปชูช่ออยู่ในแจกัน    แถมซ้ำร้ายยังกลับมาขอแบ่งมรดกแล้วขายเพื่อมาใช้ชีวิตในเมือง  
  • อีกกลุ่มคือกลุ่มที่ไม่มีความรู้ในการบริหารจัดการพื้นที่  ปล่อยให้รกร้าง  หนึ่งปีทำนาแค่ครั้งเดียว   เมื่อมีนานทุนมาขอซื้อก็อยากจะได้เงินมาสนองความต้องการ  คิดแค่ว่าเก็บไว้แค่ทำกินก็พอ      แล้วอย่งนี้เราจะแก้ที่ไหนกันก่อนละคะ  ระบบการศึกษาจะทันหรือ   อยากให้มีโครงการมหาลัยชีวิตเกิดขึ้นในทุกที่จังค่ะ  
คุณ Rak-Na ครับ ผมคิดว่าต้องแก้ทั้งสองจุดเลยครับ ไม่งั้นเราสูญเสียประเทศแน่นอน เพราะเรามองแค่ว่า ขาย ได้มากกว่า ทำกินเอง โดยลืมมองว่า ไม่ขายเราได้มากกว่า เพราะ เราทำ ก็ได้อยู่แล้ว และมูลค่าทรัพย์สินก็เพิ่มทุกวัน (เพราะหายากขึ้น) ความรู้ไม่พอใช้ครับ ก็เลยลำบากกันทุกคน เราต้องตื่นเสียที เราลูกหลานเกษตรกร ยิ่งต้องรีบตื่นครับ ไม่งั้นเราจะไม่ม้โอกาสได้เริ่มคิด เพราะไฟกำลังไหม้บ้านอยู่ครับ

สวัสดีครับท่านPดร. แสวง รวยสูงเนิน

เหนื่อยครับเหนื่อย  คงต้องช่วยกันคิดครับ

ผมขออนุญาตินำบางตอนไปรวมครับ    ขอบคุณมากครับhttp://gotoknow.org/blog/mrschuai/117622?page=9

ตามมาอีกครับอาจารย์

     ผมว่าก็เพราะความไม่รู้ นะครับ เลยทำให้เกษตรกรต้องคิดและทำตามกระแสที่ใครต่อใครช่วยกันสร้างขึ้น แนวความคิดแบบนี้มาจากไหน

     ผมว่าละครโทรทัศน์ น่าจะเป็นตัวการที่ช่วยปลูกฝังแนวความคิดแบบนี้ เข้าสู่ตัวเกษตรกร หรือประชากรของไทย ถ้าเป็นสมัยก่อนอาจจะเป็นละครวิทยุ

     ใครก็ได้ ลองเข้าไปช่วยให้เกษตรกร พึงพอใจในการมาหากินบนที่ดินของตัวเอง ปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ ไว้กินไว้ขาย ไว้พอให้ลูกหลานได้เรียนหนังสือบ้าง (ผมค่อนข้างจะเชื่อว่า ยิ่งเรียนยิ่ง ... ยิ่งโตยิ่ง...) ทำการผลิตแบบ intensive แล้วก็ขายกันในท้องถิ่น รู้จักเก็บสะสมเงินทอง จดบันทึกรายได้รายจ่าย แล้วเอามาวิเคราะห์ดูทางรั่วไหลของรายได้

ผมมั่นในในเกษตรประณีตครับ ทำน้อยได้มาก น่าจะเป็นทางออกที่สำคัญครับ

สวัสดีครับ

ข้อที่ว่า "เพราะเรามองแค่ว่า ขาย ได้มากกว่า ทำกินเอง โดยลืมมองว่า ไม่ขายเราได้มากกว่า เพราะ เราทำ ก็ได้อยู่แล้ว และมูลค่าทรัพย์สินก็เพิ่มทุกวัน (เพราะหายากขึ้น)" เป็นสิ่งที่น่าเสียดายครับ ที่คนไม่ค่อยเฉลียวใจเชื่อ

ตัวอย่างคือ ในประเทศเขตหนาว เขาต้องดิ้นรนสูงกว่าเรา เพราะไม่ดิ้นรน ก็ถึงตายได้ เพราะบ้านเมืองของเขา หน้าหนาว ก็หนาวทารุณมาก หนึ่งต้องมีที่อยู่อาศัยที่มิดชิด สองต้องมีแหล่งพลังงาน (ให้ความร้อน) สองอย่างนี้เป็นค่าใช้จ่ายสัดส่วนที่สูงมากสำหรับคนจน และไม่สามารถบิดพริ้วได้ เพราะเป็นค่าใช้จ่ายภาคบังคับ

แต่บ้านเรา ผมอ่านบลอกที่เล่าถึงวิถีชีวิตคนไร้บ้าน ค่าใช้จ่ายสองส่วนนี้ (ที่พักที่ต้องการลักษณะโครงสร้างแน่นหนาเป็นพิเศษ & ค่าใช้จ่ายพลังงานเพื่อปรับอุณหภูมิ) เป็นค่าใช้จ่ายแบบ"ตัวเลือก" คือถ้าไม่มี แม้ทำให้อยู่ไม่สบาย/ไม่สะดวก แต่ต่อให้ไม่จ่ายเงิน ก็ยังไม่ถึงตาย ตามชนบท บ้านแบบกระต๊อบก็ยังมี หน้าร้อนนอนขนำกลางนาผึ่งพุง หน้าฝนขอเพียงฝนไม่สาด อยู่ไหนก็อยู่ได้ (ยกเว้นบางส่วนของประเทศ ?)

ปัญหาบ้านเรา ผมมองว่า ที่เกิดแล้วหนัก ส่วนหนึ่งเกิดจากการแยกแยะคุณค่าแท้ (ประโยชน์)-คุณค่าเทียม (สะดวกสบาย/หน้าตา)-ไร้คุณค่า (การเสพติดรูปแบบต่าง ๆ ที่ไม่สร้างประโยชน์) ไม่ออก หรือไม่ยอมแยกแยะ

ข้อที่ผมหวั่นใจคือการมองแบบ ฟันธง ในการใช้ประโยชน์แบบขาว-ดำ ซึ่งทำให้คิดทื่อ ๆ ซึ่งจะทำให้เกิดการเถียงกันโดยเปล่าประโยชน์ตามมา

อย่างเช่น ติดกาแฟ

ถามว่าติดไหม ติดครับ

...ติดในคุณค่าเทียม (ความอร่อย) + ติดในส่วนที่ไร้คุณค่า (ดื่มแก้ใจลอย)

แต่ไม่หนัก แบบนี้ยอมรับครับ ว่าติดจริง

แต่หากมีงานที่ต้องเค้นความคิดมาก ๆ ผมซดกาแฟแบบไม่ยั้ง หลาย ๆ แก้วติดกัน ซึ่งในกรณีหลัง ผมมองว่า เป็นเครื่องมือสำคัญในการทำงาน แบบนี้ มันก็มีคุณค่าแท้ของมันอยู่ อย่างน้อยก็สำหรับตัวเองในกรณีนั้น (แต่ผมไม่ดัดจริตบอกว่านี่เป็นสิ่งที่ดีหรอกครับ)

 

 

ผมต้องขอขอบคุรอาจารย์มากที่ให้ความสำคัญกับเรื่องที่สำคัญของชาติ

 

ผมเชื่อว่าหลายท่านก็กำลังคิด ว่าจะทำอย่างไรดี

แต่ก็อาจมีท่านที่เห็นว่าเป็นเรื่องไกลตัว เราก็ยังอยู่สบาย ไปรับรู้ให้เดือดเนื้อร้อนใจไปทำไม

 

แต่เรื่องนี้ไม่ไกลตัวเลยครับ

มันอยู่กับพวกเราทุกคน แฝงอยู่ในทุกอณู เล็กบ้าง ใหญ่บ้าง ลึกบ้าง ตื้นบ้าง

และกำลังกัดกินตัวเราแบบน่ากลัว

เราทำเป็นไม่รู้ ทำเป็นลืม ได้นานสักเท่าไหร่

ขอน้อมนำสยามานุสติ มาให้คิดครับ

หากสยามยังอยู่ยั้ง ยืนยง

เราก็เหมือนอยู่คง ชีพด้วย

หากสยามพินาศลง ไทยอยู่ ได้ฦๅ

เราก็เหมือนมอดม้วย หมดสิ้น ตระกูลไทย

 

ลองคิดดูนะครับ

 

  • ถ้าใครคิดว่าการสูญเสียที่ทำกินของเกษตรกรเป็นเรื่องไกลตัว(ไม่เกี่ยวกับฉัน)แล้วละก็  ผมว่าการให้การศึกษาของเราสุดแย่มหาแย่เลยครับ แน่นอนครับ  เขาคงไม่เข้าใจว่าการเด็ดดอกไม้ กระเทือนถึงดวงดาว หรอก
  • ดูแค่บ้านเราที่พอมีอยู่มีกินมีงานทำบ้าง  เพื่อนบ้านพม่า เขมร ลาว แขก ฯลฯ ไม่เว้นแม้แต่เกาหลีเหนือซึ่งอยู่ไกลสุดไกล ต่างก็อพยพเข้ามาหากินบ้านเรา จนเอาไม่อยู่กันแล้ว เดือดร้อนกันไหมครับ
  • หรือจะย้อนกันอีกนิด วันนี้ประเทศไทยเป็นของใคร? ใครกุมเศรษฐกิจ ชนเผ่าดั้งเดิมของแผ่นดินอย่างพวกเราหน้าดำๆหรือเปล่า
  • หากเกษตรกรสูญเสียที่ทำกินวันนี้  วันหน้าลูกหลานเขาจะเอาอะไรเป็นที่มั่นและฐานที่ยืนแห่งชีวิต  ถึงตอนนั้น คนที่มีบ้านสวยๆร่ำรวยเงินทอง ก็ไม่แน่ใจว่าจะมีความสุขนะครับ

การสูญเสียภายในระบบนั้น ผมยังไม่กัวลเท่ากับการเสียออกนอกระบบ ครับ

สวัสดีครับ  ท่านอาจารย์ ดร.แสวง

        

  •  ผมรู้กับอาจารย์ ครั้งที่อาจารย์มาทำงานวิจัยที่อ.สูงเนิน อ.สีคิ้ว โคราช
  • ผมคิดว่าปัญหาเกษตรกรที่ อาจารย์ให้ข้อคิดเห็น ผมสรุปด้วยรูปแบบ"งานวิจัยท้องถิ่น"ง่าย ๆ ที่ชาวบ้านยังแก้ปัญหาตัวเองยังไม่ได้
  • โลกาภิวัฒน์ ครอบงำ หลงระเริง ในทุนนิยม 
  • แล้วกระผมจะกลับมาแลกเปลี่ยนอีก

     สวัสดี อาจารย์ ดร.แสวง

                  

 

   เรียน อาจารย์ ดร.แสวง

            ผมกลับมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับอาจารย์และพันธ์มิตร อีกครั้ง ประเด็น หนี้ภาคประชาชน ปัจจุบัน สถาบัน การเงิน เช่น ธนาคาร หวังผลกำไร ในการให้เกษตรกรกู้ ไปทำการเกษตร

           สกรณ์การเกษตร ฯ ทั่วประเทศ กู้เงินจาก ธกส.แล้วก็นำเงินที่กู้จาก ธกส.ไปปล่อยสินเชื่อให้สมาชิกสหกรณ์ ผมเชื่อว่า ไม่มีสกรณ์การเกษตร ที่ไหนปล่อยกู้สินเชื่อให้เกษตรกร โดยไม่หวัง กำไร 

           ดังนั้น เป็นไปไม่ได้ ที่ ดอกเบี้ย สกรณ์จะถูกกว่า ธกส.เกษตรกร ต้องรับภาระดอกเบี้ยที่ ผ่านมติที่ประชุม ของคณะกรรมการบริหารงานสกรณ์ฯ ฉะนั้นหนี้สินของเกษตรกรเป็นเช่นนี้ สกรณ์การกษตรฯที่ถือว่าเป็น "สถาบันที่ตัวก่อตั้งด้วยการรวมตัวของชาวบ้าน ต้องเข้ามาอยู่ ในระบบทุนนิยมอีก โดยหลีกเลี่ยงไม่ได้ แล้วจะให้เกษตรกรสมาชิก สหกรณ์ไม่มีหนี้ เกินตัวได้อย่างไร

          ความจริง"เชิงประจักษ์" ปีไหนถ้าฝนแล้ง น้ำท่วมเสียหาย ปีนั้น สมาชิกสหกรณ์ฯ ไม่สามารถใช้หนี้สิน กับสหกรณ์ ฯ ได้ ภาวะการเสี่ยงของชาวบ้านเกตรกร เสี่ยงกว่า "นายทุน"(เถ้าแก่)ที่ลงทุนด้านการเกษตรเยอะ เพราะ"นายทุน"ที่ทำธุรกิจด้านนี้ ขูด รีด ด้วยการขายสินค้าการเกษตร เช่น ปุ๋ย เมล็ดพันธุ์ ปศุสัตว์ แพงมาก พอผลผลิตออก มาแทบใช้หนี้ไม่พอ และบางหลาย เป็นหนี้ต่อ  บางสหกรณ์ก็นำสินค้าจากพ่อค้า เถ้าแก่ โดยใช้เคดิตได้

        ที่ผมแลกเปลี่ยนกับอาจารย์และพันธมิตร โดย มีแต่ประเด็นปัญหา แต่ทางแก้จะทำอย่างไร ผมมองประเด็นปัญหาทางแก้ แบบผมคิด คือ การแก้ปัญหาระดับชาติ(นโยบายรัฐไม่มีความจริงจัง)ในการแก้ปัญหา แล้วชาวบ้านจะไขปัญหาตัวเอง ไปในทิศทางไหน ที่ผมมองว่ารัฐ ไม่มีความจริงใจในการปัญหานั้น ด้วย เหตุผล กรณีที่มองเห็นคือการ หนี้เสีย สำหรับนายทุน สถาบันการ รัฐเข้ามาแก้ปัญได้ ส่วนหนี้เสียของเกษตรกร รัฐถ่วงเวลาโดยการเข้ามาศึกษาก่อน กว่าจะทำการศึกษาวิจัยเสร็จ เกษตรกรต้องดิ้นรน ในหลายรูป แต่เห็น อำนาจต่อรอง ภาคประชาชนคือกลุ่ม สมัชชาคนจน กลุ่มหนี้เกษตร ที่รวมตัวกันประท้วง ปิดกระทรวงเกษตรฯ,หน้าทำเนียบรัฐบาลทุกรัฐบาลที่ผ่านมา แต่ ปัจจุบันมีน้อยหรือแทบจะไม่มี เป็นโชคดี รมต.กระทรวงเกษตรฯ คนปัจจุบัน ครับ  

การยอมตัวเป็นทาสรับใช้ ด้วยบังเอิญ

ด้วยการเข้าใจผิด หรือ รู้เท่าไม่ถึงการณ์ ก็จะตกเป็นเหยื่อเขาแน่นอน

ยิ่งบอก เหมือนยิ่งชี้โพรงให้กระรอก

ให้เขาได้มีโอกาสคิดเองน่าจะเป็นทางออก

แต่ก็มีไม่กี่คนที่คิดได้

คนกลางและนีกธุรกิจจึงร่ำรวย และมีทางหากินมากมาย

พอรู้กลเรื่องหนึ่งก็ไปหาทางออกอีกเรื่องหนึ่ง

คนโง่เป็นเหยื่อคนฉลาดกว่า วันยังค่ำ

อนิจจา!!!!!!!!!

Pครับ

ผมจะรอครับ

ด้วยความยินดีครับ

 

การแก้ปัญหาของเกษตรกรของประเทศ ผมเสนอว่า จะต้อง โน้มน้าวให้เกษตรเปลี่ยนแปลงความคิดที่ฝังอยู่ในความคิดก่อนครับ

ความคิดแรก คือ การกู้หนี้ยืมสิน

จะต้องบังคับตนเองให้สามารถยืนหยัดได้ด้วยตนเองก่อน

โดย  การกู้หนี้ยืมสินเป็นขั้นตอนสุดท้าย ครับ

 ส่วนวิธีการที่ให้สามารถ พึ่งตนเองได้นั้น ค่อยคิดต่อไป

http://debt1.blogspot.com

ผมเข้าไปดูแล้ว ก็ยังมองไม่เห็นทางออก ที่เป็นจริงได้

ช่วยขยายความในมุมต่างๆ ด้วยครับ

ขอบคุณล่วงหน้าครับ

ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณอาจารย์มากครับที่เข้าไปดูบล็อกผม

ผมกำลังติดพันเขียนเรื่องการออมเงินออมทองอยู่พอดี เลยยังไม่ได้ตอบปัญหา หรือ เสนอความคิดเห็น ต่ออาจารย์ ต้องขออภัยมาที่นี้ด้วยครับ

สำหรับในเรื่องการแก้ปัญหาที่อาจารย์เขียนไว้ เป็นปัญหาระดับชาติ คงจะต้องคิดอย่างระมัดระวัง ซึ่งผมขอเวลานิดหนึ่ง เนื่องจากช่วงนี้ผมติดธุระสำคัญอันจำเป็นอยู่ครับ

หวังว่าผมคงจะได้คุยกับอาจารย์อีกนะครับ

ขอบคุณครับ

ขอบคุณมากครับ แล้วจะรอครับ

ผมกำลังทำโครงการศึกษาวิจัยเรื่องนี้อยู่ครับ

เพื่อสนับสนุนระบบการดำรงชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท