ราชการใสสะอาด


หลักธรรมาภิบาล/เศรษฐกิจพอเพียง แนวทางที่ผู้บริหารเรียนรู้และนำไปปรับใช้ในองค์กร

หน่วยที่ 1  การบริหารจัดการราชการใสสะอาด
กิ
จกรรมการเรียนรู้ต่อเนื่อง

เรื่องที่  1    วาระแห่งชาติด้านจริยธรรม ธรรมาภิบาล และการป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบในภาครัฐ
สรุปสาระสำคัญ                   คำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2549 ในการ *  แก้ไขปัญหาทุจริตและประพฤติมิชอบ*  ความเสื่อมศรัทธาในการบริหารราชการแผ่นดิน*  เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม

 

v               เน้น  การผลักดันให้มีการปฏิบัติตามกฎหมายและประมวลจริยธรรม / จรรยาบรรณการเสริมสร้าง กระตุ้น ยกระดับให้หน่วยงานภาคราชการและข้าราชการให้เกิดความเข้าใจ เข้าถึงและพัฒนา เป้าประสงค์ของวาระแห่งชาติ 

1.  ลดและปิดโอกาสการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ

2.  สร้างจิตสำนึกในการประพฤติมิชอบ การปฏิบัติราชการอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล คุ้มค่า ตอบสนองความ

     ต้องการของประชาชน และ รับผิดชอบต่อสังคม เรื่องที่  2         หลักธรรมาภิบาล ระบบการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี หรือหลักธรรมาภิบาล
(GOOD GOVERNANCE)


หลักธรรมาภิบาล หมายถึง แนวทางในการจัดระเบียบเพื่อให้สังคมของประเทศทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจ เอกชนและภาคประชาชน สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข และตั้งอยู่ใน ความถูกต้องเป็นธรรมตามหลักพื้นฐานการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีตามแผนภาพดังนี้1.หลักนิติธรรม (The Rule of Law)  หมายถึง การปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับต่าง ๆ โดยถือว่าเป็นการปกครองภายใต้กฎหมายมิใช่ตามอำเภอใจ หรืออำนาจของตัวบุคคล จะต้องคำนึงถึงความเป็นธรรมและความยุติธรรมรวมทั้งมีความรัดกุมและรวดเร็วด้วย2.หลักคุณธรรม  (Morality) หมายถึง การยึดมั่นในความถูกต้อง ดีงาม การส่งเสริม ให้บุคลากรพัฒนาตนเอง ไปพร้อมกัน เพื่อให้บุคลากรมีความซื่อสัตย์ จริงใจ ขยัน อดทน มีระเบียบ วินัย ประกอบอาชีพสุจริตเป็นนิสัยประจำชาติ3.หลักความโปร่งใส(Accountability) หมายถึง ความโปร่งใส พอเทียบได้ว่ามีความหมาย ตรงข้าม หรือเกือบตรงข้าม กับการทุจริต คอร์รัปชั่น โดยที่เรื่องทุจริต คอร์รัปชั่น ให้มี ความหมายในเชิงลบ และความน่าสะพรึงกลัวแฝงอยู่ ความโปร่งใสเป็นคำศัพท์ที่ให้แง่มุมในเชิงบวก และให้ความสนใจในเชิงสงบสุข ประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ได้สะดวกและเข้าใจง่าย และมีกระบวนการให้ประชาชนตรวจสอบความถูกต้องอย่างชัดเจนในการนี้ เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บุคลากรที่ปฏิบัติงานให้มีความโปร่งใส ขออัญเชิญพระราชกระแสรับสั่งในองค์พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ที่ได้ทรงมีพระราชกระแสรับสั่ง ได้แก่ ผู้ที่มีความสุจริต และบริสุทธิ์ใจ แม้จะมีความรู้น้อยก็ย่อมทำประโยชน์ให้แก่ส่วนรวมได้ มากกว่าผู้ที่มีความรู้มาก แต่ไม่มีความสุจริตไม่มีความบริสุทธิ์ใจ4.หลักการมีส่วนร่วม (Participation) หมายถึง การให้โอกาสให้บุคลากรหรือผู้มี ส่วนเกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมทางการบริหารจัดการ เกี่ยวกับการตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ เช่น เป็นคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ และหรือคณะทำงานโดยให้ข้อมูล ความคิดเห็น แนะนำ ปรึกษา ร่วมวางแผนและร่วมปฏิบัติ
5.หลักความรับผิดชอบ (Responsibility) หมายถึง การตระหนักในสิทธิและหน้าที่ ความสำนึกในความรับผิดชอบต่อสังคม การใส่ใจปัญหาการบริหารจัดการ การกระตือรือร้นในการแก้ปัญหา และเคารพในความคิดเห็นที่แตกต่าง รวมทั้งความกล้าที่จะยอมรับผลดีและผลเสียจากกระทำของตนเอง
6.หลักความคุ้มค่า (Cost – effectiveness or Economy) หมายถึง การบริหารจัดการและใช้ทรัพยากรที่มีจำกัด เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ส่วนรวม โดยรณรงค์ให้บุคลากรมีความประหยัด ใช้วัสดุอุปกรณ์อย่างคุ้มค่า และรักษาทรัพยากรธรรมชาติให้สมบูรณ์ยั่งยืน เรื่องที่  3         หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 1.กรอบแนวคิด               เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนในทางที่ ควรจะเป็นโดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลาและเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัยและวิกฤติ เพื่อ ความมั่นคง และ ความยั่งยืน ของการพัฒนา2.คุณลักษณะ  เศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ในทุกระดับ โดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลางและการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน3.คำนิยาม  ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย 3 คุณลักษณะ พร้อม ๆ กัน ดังนี้*   ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ*   ความมีเหตุผล  หมายถึง  การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้นจะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ*   การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตังเอง หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล4. เงื่อนไข การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ระดับพอเพียงนั้น ต้องอาศัยทั้งความรู้ และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน กล่าวคือv   เงื่อนไขความรู้  ประกอบด้วย ความ รอบรู้ เกี่ยวกับวิชาการต่าง ๆที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความ รอบคอบ ที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผนและความ ระมัดระวัง ในขั้นปฏิบัติ v   เงื่อนไขคุณธรรม  ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วยมีความตระหนักในธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญา ในการดำเนินชีวิต ไม่โลภ ไม่ตระหนี่ 5. แนวทางปฏิบัติ/ผลที่คาดว่าจะได้รับ  จากการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ คือ การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืนพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ความรู้และเทคโนโลยี                เรื่องที่  4          หลักการให้บริการที่ดีมีประสิทธิภาพเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน                สรุปหลักการให้บริการที่ดี.....           ให้บริการตามหน้าที่ เป็น ให้บริการที่คำนึงถึงประโยชน์ของประชาชน
                การบริหารราชการตาม พรบ.นี้ ต้องเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจรัฐ มีประสิทธิภาพ คุ้มค่า ลดขั้นตอน ลดภารกิจ ยุบเลิกหน่วยงานที่ไม่จำเป็น กระจายภารกิจและทรัพยากรแก่ท้องถิ่น กระจายอำนาจ อำนวยความสะดวก โดยมีผู้รับผิดชอบต่อผลงาน ต้องใช้ วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีโดยคำนึงถึง Ø    ความรับผิดชอบของผู้ปฏิบัติงาน Ø    การมีส่วนร่วมของประชาชน Ø    การเปิดเผยข้อมูลØ    การติดตามตรวจสอบ และประเมินผล

                จรรยาบรรณ หมายถึง ความประพฤติรักษาไว้ซึ่งศักดิ์ศรีและส่งเสริมชื่อเสียง เป็นที่เลื่อมใสศรัทธายกย่องของบุคคลทั่วไป จรรยาบรรณของข้าราชการมี 15 ข้อ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการให้บริการบางข้อ ข้าราชการพลเรือนพึงปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความสุจริต เสมอภาค และปราศจากอคติ
                สุจริต หมายถึง ประพฤติดี ประพฤติชอบ ประพฤติถูกต้องตามคลองธรรม
                เสมอภาค หมายถึง เท่าเทียมกัน
                อคติ หมายถึง ความลำเอียง 4 อย่าง ได้แก่ ลำเอียงเพราะชอบ เพราะชัง เพราะหลง เพราะกลัว

ผลดีจากการให้บริการที่ดี
1. ประชาชนได้รับประโยชน์สูงสุดจากการบริการ เช่น สะดวกรวดเร็วทันใจ , บริการที่ถูกต้องไม่ผิดพลาด,           บริการที่คุ้มค่ากับเงินที่จ่าย
2. ประชาชนเกิดความเชื่อถือ ศรัทธา โดยไม่เรียกร้องสิ่งตอบแทน
3. ประชาชนไม่บน ไม่ตำหนิข้าราชการ
4. ประชาชนได้รับความเป็นธรรม เสมอภาค และยุติธรรม
5. บริการยอดเยี่ยม คุณภาพเปี่ยมล้น ประชาชนพอใจ ประทับใจ
6. เกิดบริการที่เรียบง่าย ไม่ซับซ้อน  เป็นระบบ ลูกค้าเป็นเพื่อน, เข้าหาได้ง่าย, จิตวิญญาณในการบริการ,
กระบวนทัศน์กว้างไกล
7. องค์กรมีรายได้ กำไรเพิ่มขึ้น ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีและมีความสุข 
สรุปรายละเอียดในการเข้ารับการอบรม ฯ ณ ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนภาคใต้(ผู้จัด) ณ โรงแรม บีพีสมิหลา บีช จ.สงขลา

ผอ.ลลินทิพย์  ศุภพฤกษ์

  
หมายเลขบันทึก: 125226เขียนเมื่อ 5 กันยายน 2007 13:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 19:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
ยินดีต้อนรับสู่ Gotoknow ครับ พรุ่งนี้พบกันในการเขียนเว็บบล็อก ขอให้ใช้เวทีนี้ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้สู่กศน.ยุคใหม่ที่ใช้การจัดการความรู้เป็นฐานในการพัฒนาคนและองค์การสร้างรากฐานที่แข็งแกร่งให้กศน.ครับ

ยอดเยี่ยมครับ  ข้อมูลน่าสนใจ

สวัสดีครับ

   ผมอบรมรุ่น 5 กำลังทดลอง ยินดีที่ได้รู้จักกัน ครับ

กัญญาณัฐ วงษ์สมศรี

อยากทราบการจัดทำและประเมินผลการปฏิบัติงานที่เข้ากับหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนจังหวัดค่ะมีท่านใดทำไปแล้วบ้าง อยากได้ข้อมูลมาช่วยในการจัดทำเพิ่มมากขึ้น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท