สิ่งมุ่งหวัง อาจมิใช่ปลายทาง


We shall pass through this world but once...William Penn

 วันนี้จะมาคุยเรื่อง "คุณภาพ"

เพราะเมื่อวันที่29สิงหาคม2550ได้ไปอบรมTQA ของกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทยมาครับ

แต่ก่อนอื่นขอเริ่มต้นด้วยบทกลอนประทับใจ(แต่งโดย William Penn)  ที่ท่าน รมช.กระทรวงศึกษา(ท่านวรากรณ์ สามโกเศศ นำมาฝากผู้เข้ารับการอบรม)ก่อนนะครับ...

I shall pass through this world but once ;

Any good, therefore, that I can do,

Or any kindness that I can show,

To any human being, let me do it now.

Let me not defer it, nor neglect it;

For I shall not pass this way again. 

ฉันผ่านโลกนี้แต่เพียงหน

จึงกุศลใดใดที่ทำได้

หรือเมตตาซึ่งอาจให้มนุษย์ใด

ขอให้ฉัน ทำหรือให้ แต่โดยพลัน

อย่าให้ฉันละเลยเพิกเฉยเสีย

หรือผัดผ่อน อ่อนเพลีย ไม่แข็งขัน

เพราะตัวฉัน ต่อไป ไม่มีวัน

จรจรัล ทางนี้ อีกทีเลย ฯ 

William Penn (ค.ศ. 1644-1718)แต่ง
 (บทแปลประพันธ์ โดย อดีตองคมนตรี ฯพณฯ ศาสตราจารย์ ม.ล. จิรายุ นพวงศ์)

ผมขอสรุป TQA ที่เกี่ยวกับ คณะแพทย์ มน. ตามความเข้าใจดังนี้ครับ

TQA(Thailand Quality Award) : รางวัลคุณภาพแห่งชาติ

จะว่าไปแล้ว TQA เป็นเสมือนเข็มทิศ ทางด้านการพัฒนาคุณภาพ ที่ขณะนี้หลายๆองค์กร(ทั้งภาครัฐและเอกชน) ได้นำเอาเกณฑ์ของรางวัลคุณภาพแห่งชาติหรือเรียกย่อๆว่า TQA มาศึกษาและเริ่มนำมาประยุกต์ใช้กันอย่างจริงจัง โดยเฉพาะเราในฐานะโรงเรียนแพทย์ ในฐานะสมาชิกหนึ่งของกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย(กสพท.)และมีส่วนร่วมตั้งแต่ต้น ในการร่วมผลักดันให้เกิดการพัฒนาคุณภาพในแนวทาง TQA จักได้ให้ความสนใจเป็นอย่างยิ่ง

และสืบเนื่องจากการที่ กสพท. ได้จัดโครงการฝึกอบรม  ปักธง ตรงสู่คณะ กระจายไปมหาวิทยาลัยระยะเวลายาวนานถึง 8 เดือนและมีมวลหมู่สมาชิก กสพท.ให้ความสำคัญและเข้าร่วมโครงการนี้อย่างพร้อมเพรียง ยิ่งเป็นการตอกย้ำว่า ในอนาคต การประกันคุณภาพของคณะแพทยศาสตร์ต้องมีรูปร่างหน้าตาของ TQA เป็นแน่แท้ ซึ่งหากนับรวมไปถึง เกณฑ์มาตรฐาน HA ฉบับใหม่ก็ยิ่งเห็นได้ชัดว่ามีการประยุกต์เอา TQA เข้าไปด้วยอย่างไม่ต้องสงสัย

ที่มาที่ไป: TQA เป็นการอิงเกณฑ์และวิธีการประเมินคุณภาพรวมถึงเทคนิคและกระบวนการตัดสินรางวัลจากสถาบันรับรองคุณภาพของประเทศสหรัฐอเมริกาที่ชื่อ The Malcolm Baldrige National Quality Award(MBNQA) จึงน่าจะถือได้ว่า TQAเป็นมาตรฐานสากลเช่นกัน โดยเริ่มนำเข้ามาในประเทศไทยตั้งแต่ วันที่ 5 กันยายน พ.ศ.2539 โดยมีสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติเป็นแกนหลักในการดำเนินการ

สำคัญอย่างไร : หากพูดถึงเรื่องคุณภาพ เรามีเกณฑ์หรือเครื่องมือที่สามารถจะนำมาใช้ได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น ISO ,QA ,HA ,BSC ,Six-sigma  etc. แต่อย่างที่ได้กล่าวนำไปแล้ว TQA มีความโดดเด่น(และกำลังมาแรง) ประกอบกับTQA มีจุดเด่นทั้งในด้านการล้วงลึกถึงคุณภาพที่แท้จริงได้อย่างครบถ้วนครอบคลุมในทุกส่วนงานขององค์กร รวมถึงได้เปิดจินตนาการให้เราสามารถใช้ศักยภาพขององค์กรที่มี ได้ด้วยตัวของเราเองอีกด้วย

แนวคิด(Concept) : TQA ใช้วิธีการประเมินคุณภาพด้วยการถามและถาม(ย้ำ)ในสิ่งซึ่ง เราไม่ใช่แค่เพียงตอบตาม Check lists ว่ามี หรือ ไม่มี แล้วจบ แต่เกณฑ์TQA ซึ่งมีทั้งหมด 7 หมวดใหญ่ 18หมวดย่อย1 โดยเน้นการถาม What? อยู่ประมาณ 20% แล้ว ถามHow? อีกประมาณ 80%  และก็ตรงการถาม How?นี่แหละที่เราต้องหันกลับมาถามตัวเองว่าเรา ของจริงหรือเปล่า เราทำด้วยกระบวนการที่ยั่งยืนหรือยัง และเปิดจินตนาการให้เราว่า เราจะพัฒนาอย่างไรแบบไม่จำกัดด้วยคำถาม ซึ่งมองเลยไปถึงว่าเรามีนวัตกรรมหรือแนวคิดใหม่ๆอะไร ที่จะโชว์ได้หรือเป็นเลิศได้บ้าง?

กระบวนการหลัก: หมวด 1-6 TQAใช้ วิธีประเมินการดำเนินงานด้วย A-D-L-I(Approach-Deploy-Learning-Integration)และหมวด7 ประเมินผลลัพธ์ด้วย Le-T-Com-Li-G(Performance Levels-Trends-Comparisons-Linkages-Gaps)2

หากพูดถึงการมุ่งไปสู่รางวัลระดับชาตินี้ : ต้องขอบอกก่อนว่า ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย คะแนนรวม( 7 หมวด )ขององค์กรภาครัฐอย่างเช่นคณะแพทยศาสตร์ ที่สามารถทำกันได้ในปัจจุบันอยู่ที่ประมาณไม่เกิน  200-250คะแนนจาก1,000คะแนน( ซึ่งองค์กรที่ได้รับรางวัลจึงแป็นองค์กรภาคเอกชนที่มีความคล่องตัวในการบริหารงานมากกว่า)โดยต้องมีคะแนนมากกว่า 650 คะแนนจึงจะได้รับรางวัล(หากได้ 351-650 คะแนน ได้รับรางวัล Thailand Quality Class:TQC)

 ไม่มีทางได้รางวัล แล้วจะทำไปทำไม? : คณะแพทยศาสตร์ มน. มีจุดมุ่งหมายเช่นเดียวกับ คณะแพทย์อีกหลายคณะที่เราได้รับรู้จากช่วงการฝึกอบรม คือ เราต้องการนำ TQA มาใช้พัฒนาคุณภาพของสถาบันมากกว่าการมุ่งหวังไปที่รางวัล(ในขณะนี้) ดังนั้น เป้าหมายจากการนำเกณฑ์รางวัลคุณภาพนี้มาใช้ คือเพื่อการพัฒนาด้านคุณภาพของเราเป็นหลักจริงๆ

เห็นไหมล่ะครับว่า บางครั้งเราก็ทำอะไรโดย "สิ่งมุ่งหวัง อาจมิใช่ปลายทาง"

ท่านคิดเห็นอย่างไร แลกเปลี่ยนเรียนรู้  กันนะครับ  สวัสดีครับ

                              Sirikasem Sirilak,MD.

........................................................................................................

1,2 รายละเอียดเพิ่มเติม : www.tqa.or.th

หมายเลขบันทึก: 124521เขียนเมื่อ 3 กันยายน 2007 00:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 20:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ถ้าอยากไปถึงปลายทาง  เราต้องทำยังไงบ้างคะ  อยากมีส่วนร่วม และอยากเห็นองค์กรประสบความสำเร็จเช่นกันค่ะ เป็นกำลังกายและกำลังใจให้ผู้บริหารทุกท่านนะคะ

  • เห็นด้วยกับอาจารย์ครับ
  • เราต้องการนำ TQA มาใช้พัฒนาคุณภาพของสถาบันมากกว่าการมุ่งหวังไปที่รางวัล(ในขณะนี้) ดังนั้น เป้าหมายจากการนำเกณฑ์รางวัลคุณภาพนี้มาใช้ คือเพื่อการพัฒนาด้านคุณภาพของเราเป็นหลักจริงๆ
  • บางครั้งความสุขมันก็อยู่ระหว่างทางนี่แหละ..
  • เส้นทางคุณภาพ  ผมว่าไม่มีปลายทางหรอกครับ

ถ้าทุกคนมุ่งมั่นวันหนึ่งเราก็ได้สิ่งดีๆถึงแม้ไม่ใช่รางวัล

ดีใจนะครับที่คณะเราได้อาจารย์มาเป็นส่วนหนึ่งในคณะเรา

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท