aey
นางสาว สุรางค์รัตน์ พจี

โครงการเสริมสร้างผู้ประกอบการใหม่


ผู้ประกอบการใหม่

โครงการ เสริมสร้างผู้ประกอบการใหม่

หลักสูตรเสริมสร้างผู้ประกอบการใหม่

( New Entrepreneurs  Creation – NEC )กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม  กระทรวงอุตสาหกรรม------------------------------------------ 1.   หลักการและเหตุผล รัฐบาลได้มีนโยบายอย่างชัดเจนในการส่งเสริมพัฒนา SMEs โดยถือเป็นกลยุทธ์สำคัญในการฟื้นฟูและพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศในระยะยาวด้วยการสร้างผู้ประกอบการใหม่ ขณะเดียวกันก็จะช่วยเหลือพัฒนาผู้ประกอบการ SMEs เดิมที่ยังคงมีศักยภาพให้อยู่รอด เพื่อให้ SMEs ทั้งรายใหม่และรายเดิมสามารถดำรงอยู่และเจริญก้าวหน้า ช่วยพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ อันจะทำให้ประเทศไทยมีฐานธุรกิจและฐานภาษีที่กว้างขึ้น สามารถสร้างรายได้เพื่อนำมาพัฒนาประเทศต่อไปในอดีตที่ผ่านมา ผู้ที่มีการศึกษาสูงมักมุ่งประกอบอาชีพรับเงินเดือนเป็นพนักงานหรือ
ลูกจ้างในขณะที่ผู้ที่มีการศึกษาไม่สูงนักมักประกอบอาชีพอิสระ เป็นผู้ประกอบการ ซึ่งมักจะมี
พื้นฐานความรู้ไม่เพียงพอที่จะบริหารจัดการและปรับปรุงพัฒนากิจการให้มีขีดความสามารถ
เพียงพอที่จะแข่งขันได้ภายใต้ระบบการค้าเสรียุคใหม่ กลยุทธ์ใหม่ในการพัฒนาส่งเสริม
SMEs
จึงต้องมุ่งสร้างผู้ที่มีการศึกษาดี มีประสบการณ์ มีความรู้ความสามารถ ให้ก้าวเข้ามาเป็น
ผู้ประกอบการ
   การเสริมสร้างผู้ประกอบการใหม่ถือเป็นหัวใจสำคัญในการสร้างธุรกิจใหม่ๆ ขึ้นในระบบเศรษฐกิจของประเทศ ให้เติบโตและมีความเข้มแข็งยิ่งขึ้นตามลำดับ ซึ่งจะทำให้เศรษฐกิจของประเทศสามารถฟื้นตัวและมีภูมิคุ้มกันสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
กระทรวงอุตสาหกรรมโดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม จึงได้จัดทำโครงการ
 
เสริมสร้างผู้ประกอบการใหม่” (New Entrepreneurs Creation - NEC) เพื่อสนองนโยบายของ
รัฐบาลข้างต้น โดยนำประสบการณ์จากการส่งเสริมพัฒนาผู้ประกอบการ ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม มาบูรณาการกับกิจกรรมสนับสนุนอื่นๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิผลในการสนับสนุน
ผู้ประกอบการใหม่ให้สามารถก่อตั้งกิจการได้สำเร็จและดำเนินธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง เป็นแหล่งจ้างงานและสร้างรายได้แก่ประเทศต่อไป
2.   วัตถุประสงค์โครงการฯ 2.1            เพื่อสนับสนุนบัณฑิตใหม่ ผู้ว่างงาน ผู้ถูกออกจากงาน และพนักงานลูกจ้างที่มีพื้นฐานการศึกษาดี และมีศักยภาพ ให้มีโอกาสประกอบอาชีพด้วยตนเอง ด้วยการเป็นผู้ประกอบการ

2.2      เพื่อผลักดันให้เกิดวิสาหกิจใหม่ ๆ และ เป็นแหล่งจ้างงาน2.3                          เพื่อเพิ่มความเข้มแข็งแก่วิสาหกิจขนาดเล็ก ในช่วงก่อตั้งกิจการ ( 3 ปีแรก) ให้สามารถ
อยู่รอด และ รักษาสถานภาพการจ้างงานไว้ได้
2.4       เพื่อเตรียมความพร้อมให้แก่ทายาทธุรกิจในการสืบทอดกิจการ ให้สามารถรักษาสภาพการจ้าง งาน และสร้างโอกาสในการขยายธุรกิจต่อไปในอนาคต3.                 กลุ่มเป้าหมายโครงการฯกลุ่มเป้าหมายโครงการฯ ประกอบด้วย3.1      ว่างงาน  :  ยังไม่มีงานทำ หรือ จบการศึกษาเกิน 1 ปี แล้วยังหางานทำไม่ได้3.2      เพิ่งจบการศึกษา  :  ผู้ที่จบการศึกษาสายอาชีพ ระดับ ปวช.ขึ้นไป หรือบัณฑิตจบใหม่โดยจบการศึกษามาแล้วไม่เกิน 1 ปี และยังหางานทำไม่ได้3.3      ทายาทธุรกิจ  :  ลูกหลาน หรือ คู่สมรส  ที่กำลังเตรียมตัวเข้ารับช่วงถ่ายโอนกิจการของครอบครัว หรือได้เข้าร่วมบริหารกิจการของครอบครัว3.4      ประกอบอาชีพ  :  ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ  พนักงานของบริษัท หรือผู้ที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเฉพาะด้าน เช่น แพทย์ ทนายความ ผู้ตรวจสอบบัญชี เป็นต้น  หรือผู้ประกอบอาชีพอิสระอื่นๆที่ยังไม่ได้จดทะเบียนพาณิชย์3.5      ผู้ประกอบการใหม่  :  ผู้ที่เริ่มประกอบการธุรกิจไม่เกิน 3 ปี หรือผู้ที่เป็นเจ้าของกิจการ โดยกิจการที่ดำเนินการอยู่ยังไม่ได้จดทะเบียนพาณิชย์ หรือจดทะเบียนใดๆกับรัฐ4.   ขอบเขตและวิธีการดำเนินงานเพื่อให้การสร้างผู้ประกอบการใหม่ บรรลุตามวัตถุประสงค์  กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมจะจัดจ้างสถาบันการศึกษา  สถาบันการเงิน สมาคม องค์กรและหน่วยงานอิสระที่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นที่ปรึกษาของกระทรวงการคลัง มีบุคลากรที่มีความรู้และประสบการณ์ในการสร้างและพัฒนาผู้ประกอบการเป็นหน่วยงานดำเนินการโดยมีขอบเขตของงานและวิธีการดำเนินงานดังนี้ :- 4.1  คัดเลือกกลุ่มเป้าหมายที่จะเข้าร่วมโครงการฯ ได้แก่ ผู้ประกอบอาชีพ ผู้ถูกเลิกจ้าง ผู้ว่างงาน ผู้ที่อยู่ในระหว่างเริ่มจัดตั้งธุรกิจระยะเวลาไม่เกิน 3  ปี  ผู้รับช่วงธุรกิจ(ทายาทธุรกิจ) โดยทุกกลุ่มเป้าหมายต้องมีพื้นฐานความรู้ไม่ต่ำกว่าประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) 4.2 ดำเนินการฝึกอบรม บ่มเพาะและให้คำปรึกษาแนะนำ จัดกิจกรรมเสริมความรู้ ทักษะ ศึกษาดูงาน และติดตามให้ความช่วยเหลือต่อเนื่องในช่วงการก่อรูปธุรกิจแก่กลุ่มเป้าหมายที่ระบุในข้อ 3 เพื่อให้มีความสามารถ มีศักยภาพในการเป็นผู้ประกอบการ โดยมีกิจกรรมที่ต้องดำเนินการคือ :- 4.2.1 พัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม เสริมสร้างผู้ประกอบการใหม่ตามที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมได้กำหนดกรอบไว้  โดยผู้เสนอโครงการจะต้องนำเสนอวัตถุประสงค์ในการเรียนรู้  ขอบข่าย

เนื้อหา วิธีการถ่ายทอด การบ่มเพาะและให้คำปรึกษาแนะนำประวัติวิทยากร ที่ปรึกษา ผู้เชี่ยวชาญโดยละเอียด ตลอดจนการศึกษาดูงาน  (ผู้ประกอบการ กิจการตัวอย่าง)  การให้โอกาสทางการตลาดจากผู้ประกอบการเดิมพี่เลี้ยง ฯลฯ ให้ชัดเจน เหมาะสมกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและสังคมทั้งในประเทศและในตลาดโลก ผู้เสนอโครงการสามารถนำเสนอหัวข้อ/เนื้อหาวิชาเฉพาะด้าน (Module พิเศษ)หรือปรับเนื้อหาหลักสูตรในรายละเอียดได้ตามความเหมาะสม  โดยมีเหตุผลประกอบ  แต่เนื้อหาสาระทั่วไปต้องครอบคลุมหัวข้อวิชาที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมกำหนด    4.2.2   จัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์ หรือวิธีการอื่นๆ เพื่อให้การส่งข่าวสารข้อมูลครอบคลุมทั่วถึงกลุ่มเป้าหมายให้ได้กลุ่มเป้าหมายเข้ามารับการคัดสรรตามจำนวนที่เหมาะสม 4.2.3   กำหนดหลักเกณฑ์  วิธีการคัดเลือกกลุ่มเป้าหมายเพื่อเข้ารับการอบรมทั้งในส่วนของข้อเขียน และ/หรือ การสัมภาษณ์ หรือวิธีการอื่นๆ เพื่อให้ได้กลุ่มเป้าหมายตามข้อ 3.1-3.4 ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 ยกเว้นกรณีธุรกิจส่งออก ธุรกิจแฟรนไชส์ซอร์ และธุรกิจเฉพาะด้านบางสาขา  ให้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของคณะกรรมการจัดจ้างของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม4.2.4   บันทึกข้อมูลของผู้เข้าร่วมโครงการฯ ทั้งหมด  ทั้งผู้ที่สมัครและผู้ที่ผ่านการคัดเลือกลงในระบบฐานข้อมูลของโครงการฯ ทาง www.smethai.net/nec ภายในระยะเวลา 1 สัปดาห์ หลังจากเสร็จสิ้นกระบวนการคัดเลือก โดยข้อมูลที่บันทึกจะต้องถูกตรวจสอบให้ถูกต้องและครบถ้วน 
(ใบสมัครของผู้สมัครเข้าร่วมโครงการฯ ทั้งหมด ขอให้ที่ปรึกษารวบรวมไว้ที่หน่วยงานของตนเองเป็นระยะเวลา 2 ปี  เพื่อรอการตรวจสอบ) และให้ปลด 
ID ของผู้ที่ไม่ได้รับการคัดเลือกทันทีเมื่อสิ้นสุดกระบวนการคัดเลือก เพื่อให้ผู้ที่สมัครมีโอกาสได้รับการคัดเลือกจากหน่วยร่วมอื่นต่อไป
4.2.5         จัดทำรายงานผลการดำเนินงานฝึกอบรม  เอกสารที่ใช้ประกอบการฝึกอบรมตลอดหลักสูตร  การให้คำปรึกษาแนะนำ การติดตามประเมินผล   และแจ้งให้กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมทราบตามงวดงานในสัญญาจัดจ้าง(แนบแบบฟอร์ม NEC) โดยผู้เสนอโครงการจะต้องจัดทำรายงานส่งกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม จำนวนอย่างน้อย 5 ฉบับ ในการส่งงานตามงวดงานที่กำหนดในสัญญาจัดจ้างแต่ละงวด4.2.6         รวบรวมแผนธุรกิจรายบุคคลของผู้จบหลักสูตรทั้งหมด  ภายหลังการปรับปรุงแก้ไขในขั้นตอนสุดท้ายเรียบร้อยแล้ว เพื่อนำส่งกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม โดยนำส่งเป็นรูปเล่ม และบันทึกลงในแผ่นซีดี หน่วยงานละ  1  ชุด  เท่านั้น4.2.7         สรุปรายงานผลภาพรวมของการดำเนินงาน เช่น ฝึกอบรม บ่มเพาะและให้บริการปรึกษาแนะนำ  การจัดตั้งธุรกิจ การลงทุน ปัญหา อุปสรรค ที่เกิดขึ้นกับผู้ผ่านการฝึกอบรมทุกคนอีกครั้งหลังสิ้นสุดการดำเนินงาน 6 เดือน  โดยขอให้รายงานความก้าวหน้าเป็นระยะๆ ตามความเหมาะสม สำหรับผู้ผ่านการฝึกอบรมที่ไม่สามารถติดต่อหรือติดตามความก้าวหน้าได้ใน
รายงานฉบับนี้ต้องชี้แจงเหตุผล ความจำเป็น
  และจัดส่งรายงานจำนวนอย่างน้อย 5 ฉบับ  ให้กับ
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ หรือ ตามที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมจะแจ้งให้ทราบต่อไป
 
หมายเหตุ    1)  รายงานตามข้อ (4.2.7)  จะใช้ประกอบการเบิกจ่ายเงินประกันผลงานร้อยละ 5 ที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมได้หักไว้ตามสัญญาจัดจ้าง                                 2) แบบฟอร์ม NEC จะปรากฏอยู่ในคู่มือการดำเนินงานของโครงการ เสริมสร้างผู้ประกอบการใหม่5.   ผลงานที่ต้องการ5.1 กลุ่มเป้าหมายในข้อ 3  เข้ารับการอบรม รุ่นละประมาณ  35 คน และมีสัดส่วนของกลุ่มที่ 3.1–3.4 ประมาณร้อยละ 60 หรือมากกว่า  และกลุ่มเป้าหมายในข้อ 3.5 ไม่เกินร้อยละ 40  ยกเว้นกรณีธุรกิจส่งออก  และธุรกิจแฟรนไชส์ซอร์ และธุรกิจเฉพาะด้านบางสาขาและในกรณีอื่นๆ ให้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของคณะกรรมการกำกับดูแลการจัดจ้างของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม5.2      ก่อให้เกิดการจัดตั้งกิจการไม่น้อยกว่าร้อยละ 15 ของผู้เข้ารับการฝึกอบรมโดยมีเงินลงทุนเฉลี่ยกิจการละ 5 แสนบาทขึ้นไป5.3      ก่อให้เกิดการจ้างงาน เฉลี่ย กิจการละ 3  คน5.4      ความพึงพอใจของผู้เข้ารับการอบรมโดยรวม ไม่น้อยกว่าร้อยละ 855.5      ผู้เข้ารับการอบรมสามารถจัดทำแผนธุรกิจ (Business Plan) ที่มีข้อมูลและศักยภาพในการลงทุน ทั้งนี้แผนธุรกิจต้องผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการพิจารณาแผนธุรกิจซึ่งประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ผู้มีประสบการณ์ด้านการวิเคราะห์สินเชื่อ และ/หรือ ผู้แทนจากกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม  5.6      ติดตามการดำเนินธุรกิจของผู้จัดตั้งธุรกิจใหม่ / ขยายธุรกิจ /รับช่วง/ต่อยอด/ส่งออก โดยระบุรายละเอียด เช่น จำนวนการลงทุน การจ้างงาน  และภาพถ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง สถานที่ประกอบการ เป็นต้น และรายงานผลให้กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมทราบเป็นระยะๆ และสรุปรายงานครั้งสุดท้ายส่งกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ภายหลังสิ้นสุดการอบรม หรือ สิ้นสุดโครงการภายในระยะเวลา  6  เดือน6.  ระยะเวลาดำเนินโครงการฯ

9 เดือน  ตั้งแต่เดือนตุลาคม  2549 – มิถุนายน 2550

7.  รายละเอียดในข้อเสนอโครงการฯ ประกอบด้วย  

7.1      โครงสร้างการบริหารหลักสูตร ระบุผู้รับผิดชอบในแต่ละกิจกรรมเช่น ผู้จัดการหลักสูตรผู้ดูแลกิจกรรมฝึกอบรม  ผู้ดูแลงบประมาณและการรายงาน ผู้ดูแลระบบข้อมูล ผู้ประสานงานหลักสูตรพร้อมทั้งระบุชื่อที่อยู่ โทรศัพท์  โทรสาร ที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมสามารถติดต่อได้

7.2      แผนการดำเนินงาน แผนการใช้จ่ายงบประมาณตลอดโครงการ7.3      วิธีการประชาสัมพันธ์ เพื่อให้ได้กลุ่มเป้าหมายตามที่กำหนดไว้ในข้อ 3 โดยระบุรายละเอียดของ สื่อ , วิธีการที่ใช้สื่อประชาสัมพันธ์  ประเภทสื่อ  จำนวนครั้ง เป็นต้น7.4      กำหนดหลักเกณฑ์การคัดเลือกผู้สมัคร โดยวิธีการคัดเลือก ซึ่งอาจประกอบด้วยการสอบข้อเขียน การสอบปฏิบัติ และการสัมภาษณ์  7.5  พัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมบ่มเพาะ ระยะกลาง หรือระยะยาว ตามข้อกำหนดจำนวนชั่วโมงอบรมบ่มเพาะและปรึกษาแนะนำ และขอบข่ายเนื้อหาครอบคลุมทุก  9 โมดูล ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม 7.6  วิธีการจัดฝึกอบรมบ่มเพาะด้านบริหารจัดการด้านเทคนิค (ถ้ามี) และสิ่งที่ใช้ในการอบรม7.7  การจัดบริการปรึกษาแนะนำ7.8  รายงานการติดตามความก้าวหน้าและรายงานผลสัมฤทธิ์ในการจัดตั้งธุรกิจ การสืบทอดกิจการของทายาทและผลการเปลี่ยนแปลงในกิจการของผู้ที่มีธุรกิจอยู่แล้ว พร้อมทั้งกำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการโดยรวบรวมรายละเอียดการจัดตั้งธุรกิจ เงินลงุทน ภาพถ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสถานที่ประกอบการ7.9      รายละเอียดเงื่อนไข เนื้องาน และ ระยะเวลาในการเบิกจ่ายค่าจ้าง  กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมกำหนดการเบิกจ่ายค่าจ้างตลอดระยะเวลาดำเนินโครงการฯ เป็น 3 งวด  ดังนี้:-งวดที่ 1  สามารถเบิกจ่ายได้  30 % ของค่าจ้างทั้งหมด ( ระบุเนื้องาน )งวดที่ 2  สามารถเบิกจ่ายได้  40 % ของค่าจ้างทั้งหมด ( ระบุเนื้องาน )งวดที่ 3  สามารถเบิกจ่ายได้  30 % ของค่าจ้างทั้งหมด ( ระบุเนื้องาน ) หมายเหตุ  §  การเบิกค่าจ้างแต่ละงวด  จะต้องมีเนื้องานครอบคลุมตามช่วงระยะเวลาดำเนินการ§  กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม  จะหักเงินประกันผลงานร้อยละ 5 ไว้ จากจำนวนเงินค่าจ้างที่เบิกจ่ายในแต่ละงวด  
หมายเลขบันทึก: 123579เขียนเมื่อ 30 สิงหาคม 2007 21:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 พฤษภาคม 2012 16:57 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

อบรมฟรี ปั้นเถ้าแก่ใหม่ ปี 2554 - โครงการเสริมสร้างผู้ประกอบการใหม่ (NEC) 2554 จุฬา

เริ่มสมัครทั้ง 2 รุ่นตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป รับเพียงรุ่นละ 50 ท่าน

อยู่ติดกับสยามสแควร์ อบรมเฉพาะวันหยุดสุดสัปดาห์

รุ่นที่ 1 เริ่มอบรมวันที่ 30 มกราคม 2554 (วันอาทิตย์เท่านั้น)

รุ่นที่ 2 เริ่มอบรมวันที่ 6 มีนาคม 2554 (ทั้งเสาร์และอาทิตย์)

ทั้ง 2 รุ่นปิดรับสมัคร 10 วันก่อนวันที่เริ่มอบรม

มี 2 ช่วงการเรียน: ขั้นต้น (1-3 เดือน) และขั้นสูง (2 เดือน)

โครงการสิ้นสุดวันที่ 26 มิถุนายน 2554

อบรมโดยคณาจารย์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและผู้เชี่ยวชาญซึ่งมีประสบการณ์จากภาคธุรกิจต่างๆ

โครงการนี้ฟรีนะครับ กรณีที่เข้าร่วมอบรมจนสำเร็จโครงการ

รายละเอียดเพิ่มเติมสามารถติดตามได้ที่ http://www.nec-imtcu.com

หรือสอบถามได้ที่

โทรศัพท์: 02-218-6823

โทรสาร: 02-218-6835

E-mail: [email protected]

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท