โปรแกรม HEALTHY FOLDER


ที่มา ความสำคัญและแรงบันดาลใจ 
              
ปี 
2537   อำเภอโพทะเล   จังหวัดพิจิตร ได้รับเลือกจากกระทรวงสาธารณสุขให้เป็นพื้นที่ทดลองในการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการให้บริการและฐานข้อมูลสำหรับตำบล   ซึ่งในการพัฒนาโปรแกรมฐานข้อมูลสำหรับตำบล  เขียนขึ้นภายใต้ภาษา Clipper  version 5.2    ร่วมกับ   RCLIP  TOOL LIBRARY     ของ นพ.ชุษณะ มะกรสาร    โดยได้ร่วมการออกแบบฐานข้อมูล ออกแบบหน้าจอ วิเคราะห์ระบบการทำงาน  และรวมถึงการเขียนโปรแกรมฐานข้อมูลระดับตำบล  (THO)   อำเภอโพทะเลได้มีการปรับระบบการทำงานทั้งในด้านการให้บริการ  การปรับสถานที่ทำงาน เพื่อให้สอดคล้องกับการใช้คอมพิวเตอร์มาให้บริการ แทนระบบทะเบียน  เพื่อลดความซ้ำซ้อนของการทำงาน  เพื่อลดระยะเวลาในการจัดทำรายงาน ฯลฯ  ต่อมาได้มีโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค  และเกิดศูนย์สุขภาพชุมชน เป็นการบริการที่ใกล้บ้านใกล้ใจ  โดยการจัดให้มีการจัดทำแฟ้มอนามัยครอบครัว (Family  Folder)      และนโยบายของกระทรวงสาธารณสุขในโครงการเมืองไทยแข็งแรง ( Healthy  Thailand )  ซึ่งจะต้องใช้ข้อมูลประชากรสำรวจและข้อมูลการรับบริการของประชากร  เช่น  การรับการวัดความดันโลหิต  การตรวจน้ำตาลในปัสสาวะ   การตรวจน้ำตาลในโลหิต   การตรวจพัฒนาการของเด็ก    การดูแลหญิงตั้งครรภ์  เป็นต้น
                อำเภอโพทะเล  ได้ร่วมใจกันที่จะใช้แฟ้มอนามัยครอบครัวแบบอิเลคทรอนิคส์   โดยใช้ฐานข้อมูลเดิมที่มีอยู่ และออกแบบฐานข้อมูลที่จะต้องจัดเก็บเพิ่ม  พร้อมทั้งเสริมข้อมูลเพิ่มในส่วนที่คิดว่าจะทำให้ช่วยเราในการวิเคราะห์ชุมชนหรือประเมินสุขภาพของประชากรในเขตรับผิดชอบ   ชาวโพทะเลจึงช่วยกันผลักดันในเกิดโปรแกรมแฟ้มอนามัยครอบครัวผสมผสานกับโครงการเมืองไทยแข็งแรง   พวกเราเรียกโปรแกรมนี้ว่า    โปรแกรม  Healthy  Folder”   เริ่มใช้ครั้งแรกประมาณเดือน  มิถุนายน  2547 และมีการพัฒนาปรับปรุงโปรแกรมให้ตอบสนองการระบบงานที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา                   

องค์ความรู้ที่ใช้
1.        ออกแบบและวิเคราะห์ระบบงาน
        
1.1    การวิเคราะห์การไหลเวียนของข้อมูล
         
1.2    ความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล
        
1.3    ระบบระเบียนรายงาน
2.        การเขียนโปรแกรมด้วย    Microsoft  Access  97 / Microsoft  Access  2003 

วิธีการดำเนินงาน
1.   รวบรวมหัวข้อ / เนื้อหาที่จำเป็นสำหรับแฟ้มอนามัยครอบครัว  เพื่อวางรูปแบบการไหลเวียนให้สอดคล้อง  เช่นเดียวกับที่จัดทำแบบเอกสาร  โดยทีมงานระดับอำเภอและตำบล
2.     แยกแยะข้อมูลที่เป็นข้อมูลเคลื่อนไหวต่อเนื่องและข้อมูลที่เป็นข้อมูลไม่เคลื่อนไหวตามช่วงเวลา  โดยทีมงานระดับอำเภอและตำบล
3.
    
เขียนโปรแกรมแฟ้มอนามัยครอบครัว อิเล็กทรอนิกส์  ด้วย  Microsoft  Access  97   / Microsoft  Access  2003โดยโปรแกรมเมอร์ในพื้นที่
4.     เชื่อมต่อข้อมูลที่มีอยู่เดิมในโปรแกรมฐาน ข้อมูลสำหรับตำบล  THO   โดยเฉพาะข้อมูลพื้นฐานด้านประชากรทั้งหมด  ข้อมูลด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม  การบริการด้านส่งเสริมสุขภาพและการรักษาพยาบาล
5.     จัดประชุมเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานเพื่อชี้แจงรายละเอียดการใช้โปรแกรม  , ข้อเสนอแนะปรับปรุงเพื่อพัฒนาให้ตอบสนองกับผู้ใช้มากที่สุด  

ความสามารถของโปรแกรม
1.     เชื่อมโยงข้อมูลพื้นฐานจาก โปรแกรม  ฐานข้อมูลสำหรับตำบล ( THO )
2.     สร้างความสัมพันธ์ของข้อมูลในรูปแบบของ ผังเครือญาติ  (สร้างผังเครือญาติโดยอัตโนมัติ)
3.     ข้อมูลประชากรสำรวจ / ทะเบียนราษฎร  และแสดงเป็นปิรามิดประชากร  ณ  ข้อมูลปัจจุบัน
4.   แยกกลุ่มประชากรผู้ป่วยโรคเรื้อรัง , บุตรและหลานของผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อโรคที่สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้เช่น  โรคเบาหวาน  , ความดันโลหิตสูง   ซึ่งมีโอกาสเสี่ยงในการเกิดโรค  ( ตามเกณฑ์การประเมินโอกาสเสี่ยง 6 ข้อ)
5.     จัดระบบข้อมูลด้านสุขภาพให้สามารถให้บริการแบบองค์รวมและรายครัวเรือน
6.     จัดเก็บข้อมูลที่เกี่ยวกับการเยี่ยมบ้าน , การติดตามกลุ่มเป้าหมาย , การให้บริการต่อเนื่อง
7.     วิเคราะห์สถานะสุขภาพ,การเจ็บป่วยแยกตามกลุ่มโรค 3 ปีย้อนหลังของปีที่เลือก
8.     วิเคราะห์สถานการณ์การเกิดโรคที่ต้องเฝ้าระวัง
9.     ประเมินอายุคาดเฉลี่ยของตำบลแยกตามช่วงอายุเป็นรายปี
10. ประเมินโอกาสเสี่ยงอัมพฤกษ์/อัมพาต
11.  สรุปการดำเนินกิจกรรมเมืองไทยแข็งแรง 

ผลที่จะได้รับ
1.        ต่อประชาชน
     1.1
ประชาชนจะได้รับบริการที่สะดวกรวดเร็ว  คลอบคลุมถึงบุคคลอื่นในครัวเรือน
     1.2
การค้นหาประวัติการรับบริการ
     1.3
ทราบประวัติและสิ่งแวดล้อมในครอบครัว โรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมซึ่งมีโอกาสเสี่ยงในการเกิดโรค
     1.4
 
ลดโอกาสที่จะถูกมองข้าม หรือตกหล่นข้อมูลที่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขหรือบุคลากรที่เกี่ยวข้อง จะต้องให้การดูแล
2. ต่อเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
   
2.1       ลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล
   
2.2       ใช้ข้อมูลที่ได้รับการประมวลผลแล้ววิเคราะห์วางแผน  พัฒนาสุขภาพประชากรในพื้นที่
   
2.3       ลดเวลาในการจัดทำระเบียนรายงาน
    
2.4       ไม่ต้องเก็บรวบรวมข้อมูลในแฟ้มอนามัยครอบครัวใหม่ทั้งหมด
    
2.5       ลดเอกสารและพื้นที่ในการจัดเก็บ
    
2.6       ข้อมูลเคลื่อนไหวเป็นปัจจุบันในงานบริการ
    
2.7       ค้นหาข้อมูลผู้มารับบริการสะดวก  รวดเร็ว  ขณะให้บริการ
    2.8
      
ระบบข้อมูลสามารถเชื่อมโยงกับระบบข้อมูลอื่นได้   

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ 
              
ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในเบื้องต้นของการพัฒนาโปรแกรม  คือ
1.        ความสนใจ  ความต้องการและการสนับสนุนของบุคลากรในพื้นที่
2.        เครือข่ายบริการสุขภาพโพทะเล   บึงนาราง   ให้การสนับสนุน
3.
       
มีโปรแกรมเมอร์ในพื้นที่ทำให้สามารถตอบสนองความต้องการในการปฏิบัติงานได้
4.        ทีมงานที่เข้มแข็ง, เอื้อเฟื้อ และมีความต่อเนื่อง
5.        ทุกคนมีส่วนร่วมในการพัฒนา

 การประเมินผล

                การพัฒนาโปรแกรมเป็นลักษณะการเรียนรู้และพัฒนาดังนั้นจึงมีการประเมินผลจากการนำไปใช้และแก้ไขปรับปรุงให้ดีขึ้นเป็นระยะ  จากเวทีการประชุมคอมพิวเตอร์ระดับอำเภอ  ซึ่งประเด็นที่มีการนำเสนอประกอบด้วย  ความสามารถในการตอบสนองต่อการทำงาน / ข้อบกพร่องต่อการใช้งาน 

การนำไปใช้  
             
นำไปติดตั้งในการให้บริการด้านสาธารณสุข  เช่น  การรักษาพยาบาล,  การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค,  การโภชนาการ,  การวางแผนครอบครัว,  การตรวจพัฒนาการ,  อนามัยแม่และเด็ก , ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง  , ผู้พิการ  ,  ข้อมูลประกันสุขภาพถ้วนหน้า  เป็นต้น               

 - เชิงรับที่สถานบริการ  โดยใช้โปรแกรมฐานข้อมูลสำหรับตำบล  (THO) และโปรแกรม   HEALTHY  FOLDER               

- เชิงรุกโดยใช้โปรแกรมฐานข้อมูล  THO  และโปรแกรม  HEALTHY  FOLDER  (โดยใช้คอมพิวเตอร์พกพา)

Download ได้ที่

http://www.ppho.go.th/thanang

หมายเลขบันทึก: 122111เขียนเมื่อ 26 สิงหาคม 2007 00:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 21:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

อยากได้โปรแกรมผังเครือญาติ โหลดไม่ได้คะ

จะสำรวจทำแฟ้มครอบครัวใหม่ แต่ไม่มีเครื่องมือ อนุเคราะห์ด้วยนะคะ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท