ภาษากับการพัฒนาประเทศ (ตอนที่ 2)


ชัยชนะของพระองค์ คือ ชัยชนะของประเทศชาติ

                ในประวัติศาสตร์ ภาษา ก็ได้มีบทบาทสำคัญยิ่ง ให้เห็นเป็นที่ประจักษ์ในการพัฒนาประเทศและการรักษาความอยู่รอดปลอดภัยของบ้านเมืองมาหลายครั้ง

                เจ้าจงทุบหม้อข้าวหม้อแกงเสียให้สิ้น เราจะไปกินข้าวเย็นกันที่จันทรบูรณ์ ถ้อยคำของพระยาตากคำนี้มิใช่หรือ ที่ทำให้เหล่าทหารยอมสู้ตาย  เข้าร่วมรบเคียงบ่าเคียงไหล่กัน จนสามารถตีเอาเมืองจันทรบุรีไว้เป็นที่มั่นได้  เมื่อครั้งเสียกรุงศรีอยุธยา ปี 2310

                เจ้าพี่จะยืนช้างอยู่ใต้ร่มไม้ทำไม  เชิญเสด็จมาทำยุทธหัตถีกัน ให้เป็นเกียรติยศเถิดกษัตริย์ภายหน้า ที่จะชนช้างได้อย่างเราไม่มีแล้ว

                นี่เป็นพระราชดำรัสของสมเด็จพระนเรศวรเจ้า  ท้าพระมหาอุปราชแห่งเมืองหงสาวดี  ให้กระทำยุทธหัตถี  เมื่อเผชิญพระพักตร์กันในสนามรบ

                นับว่า สมเด็จพระนเรศวร  ทรงใช้จิตวิทยาและภาษา  ได้อย่างประเสริฐ  จนสามารถเปลี่ยนชะตากรรมของประเทศได้ทีเดียว เพราะขณะนั้น ถ้าพม่าจะรุมล้อมบดขยี้พระองค์เสีย  ก็เพียงชั่วพริบตา  แต่อานุภาพแห่งถ้อยคำที่ทรงใช้อย่างห้าวหาญปลุกพระทัยของพระมหาอุปราชให้ยอมรับการท้ารบ  และในที่สุด พระองค์ก็ทรงได้รับชัยชนะ

                ชัยชนะของพระองค์ คือ ชัยชนะของประเทศชาติ

                ภาษานั้น ถ้าศึกษาและฝึกฝน รู้จักใช้ให้เป็นประโยชน์  ก็จะได้รับคุณค่ามหาศาล  การพัฒนาประเทศเป็นงานเบื้องต้นที่นำไปสู่ความอยู่รอดปลอดภัยของประเทศชาติ  บรรพบุรุษของเราได้ใช้ภาษาเป็นเครื่องมือกระทำมาจนสำเร็จแล้ว  เราผู้เป็นเชื้อสายแห่งท่าน จะมิอาจใช้ ภาษา เพื่อการพัฒนาประเทศได้สำเร็จเจียวหรือ

หมายเลขบันทึก: 122107เขียนเมื่อ 25 สิงหาคม 2007 23:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 20:03 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท