มหกรรมตลาดนัดการจัดการความรู้ ๔ ภูมิภาค โครงการ EdKM ครั้งที่ ๔ : ภาคใต้ ตอนที่ ๔


ตอนจบคะ

ตอนที่ ๓

           สำหรับผู้เขียน รู้สึกประทับใจการนำเสนอการใช้  KM  กับการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาเพื่อคุณภาพผู้เรียน  โดยมี  ๒  โรงเรียน  คือ  โรงเรียนสุราษฎร์ธานี   สพท. สุราษฎร์ธานี  เขต ๑  และ โรงเรียนเทพา  สพท. สงขลา เขต ๓  โดยทั้งสองโรงเรียน  ได้นำ  KM  ไปเชื่อมโยงกับการพัฒนาคุณภาพของโรงเรียนได้อย่างน่าประทับใจ

          โรงเรียนสุราษฎร์ธานี   สพท. สุราษฎร์ธานี  เขต ๑  นำเสนอเรื่อง  KM  สู่การพัฒนาโรงเรียนรางวัลพระราชทาน  โดย นางลักขณา  เจริญแพทย์  รองผู้อำนวยการโรงเรียนสุราษฎร์ธานี    ซึ่งสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้

        ปี  ๒๕๕๐  เป็นปีที่โรงเรียนสุราษฎร์ธานี   อายุครอบ  ๑๐๐  ปี   ซึ่ง ๑๐๐  ปี  เป็นตัวบอกกล่าวถึงคุณภาพของโรงเรียนได้ดี  แต่คำถาม  คือ  ทำอย่างไรให้คนรู้ถึงคุณภาพที่มีและสามารถรักษาความเป็นแชมป์ไว้ได้ 
        เมื่อเราได้เรียนรู้และเข้าใจเครื่องมือ  KM  เราก็เริ่มสร้างความตระหนักของบุคลากรในโรงเรียน  โดยสิ่งแรกที่เป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จ  คือ 
๑. การเป็นแบบผู้นำ  หากองค์กรใดมีผู้นำที่มีวิสัยทัศน์  มีเอกลักษณะของความเป็นผู้นำ 
๒. ต้องมีการสร้างวัฒนธรรมองค์กรแบบหนึ่งเดียว  ที่โรงเรียนสุราษฎร์ธานีมีกิจกรรมสำคัญในการเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กร มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้  พูดคุย  เปิดใจ   ๓ กิจกรรม  คือ 
- วันเปิดกล่องชล็อก  คือ วันเปิดภาคเรียน 
- วันครอบครัว  กำหนดเป็นวันที่  ๑๔ กุมภาพันธ์ของทุกปี
- วันปิดกล่องชล็อก  คือ วันปิดภาคเรียน 
         กิจกรรมทั้งสามกิจกรรมทำให้เรารักองค์กรมากขึ้น  จะทำอะไรก็จะง่ายขึ้น
        สำหรับคำถามที่ว่า  เมื่อใช้  KM  แล้ว นักเรียนมีคุณภาพจริงหรือไม่  วัดได้จากอะไร  คำตอบสำหรับโรงเรียนของเรา  คือ  การพัฒนาพร้อมทั้งองค์กร  และเดินไปสู่ตัวชี้วัดมาตรฐานคุณภาพ  เราพบว่า  คุณภาพเพิ่มขึ้น  โดยดูที่ ๒ ตัว คือ ตัวชี้วัดการประเมิน  และดูจากสภาพจริง  นักเรียนของเราปัญหาลดลง  ครูทำงานเหนื่อยน้อยลง  และจากที่ได้สัมผัส  ได้ทดลองใช้  KM  ทำให้พบความสำเร็จ  คิดว่า  KM  เป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์  อยากให้เชื่อก่อนว่า  ความรู้ในองค์กรมีมากมาย  เราสามารถทำให้เป็น  LO  ได้แน่นอน  KM  ทำให้เรารู้ว่า  การพัฒนาไม่ต้องลงทุนก็ได้ 

         สำหรับโรงเรียนเทพา  สพท. สงขลา เขต ๓  นำเสนอเรื่อง การพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาโรงเรียนในฝัน   โดย  นายนิยม  ชูชื่น  ผู้อำนวยการโรงเรียนเทพา  มีสาระสำคัญ ดังนี้ คือ
ยุทธศาสตร์ในการนำเครื่องมือ  KM  เข้าไป  คือ 
         ๑. สร้างความตระหนักของบุคลากรในโรงเรียน  ต้องทำให้เห็นประโยชน์  ผู้นำต้องทำ  ให้เขารับรู้ว่าเรื่องนี้เป็นหน้าที่  (นโยบายอยู่เหนือเหตุผล)  สมัยใหม่ต้องบอกว่า  เราทำแล้วเราจะได้อะไร  ถ้าเราทำเราจะเริ่มตรงไหนก่อน  เริ่มต้นเปลี่ยนแปลงอะไร  อย่าเปลี่ยนแปลงทั้งองค์กร  ต้องหาแนวร่วมก่อน  (ยุทธศาสตร์ดอกบัวบาน)
        ๒. สร้างความอยากให้ได้ก่อน  เราอยากเห็นบรรยากาศของครูที่มาสุมหัวกันเรียนรู้  KM  เป็นทางเลือกที่น่าสนใจ  KM  ไม่ทำไม่รู้ 
แต่การเปลี่ยนแปลงอะไรก็ตาม  จะต้องมีผู้ต่อต้าน  แต่เมื่อเปลี่ยนได้  ผลงานนั้นต้องยิ่งใหญ่แน่นอน  สำหรับโรงเรียนเทพา  ถึงจะเล็กแต่คิดงานใหญ่  โดยในปี ๒๕๔๖ กำหนดวิสัยทัศน์ไว้ว่า  จะเป็นผู้นำการปฏิรูป  พัฒนาครูมืออาชีพ  และเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้  และโรงเรียนได้รับการคัดเลือกเข้าโครงการโรงเรียนในฝัน  ซึ่งสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของโรงเรียน
         สำหรับการขับเคลื่อน  KM  ของโรงเรียน  เริ่มที่ผู้นำ โดยผู้นำต้องเข้าใจวิสัยทัศน์ก่อน  เราต้องตั้งธงว่าเราจะไปตรงไหน  สรุปว่า  ต้องมีการพัฒนาสมรรถนะ  เด็กเก่งได้  ครูต้องเก่งก่อน  (พัฒนาสมรรถนะของครู  เพื่อให้มีมาตรฐานโรงเรียนในฝัน  ให้สามารถสร้างนักเรียนให้รักการเรียนรู้ตลอดชีวิต คิดวิเคราะห์เป็น รู้ภาษา รู้เทคโนโลยี มีคุณธรรม  รักษ์วัฒนธรรมไทย  มั่นใจในตนเอง) 
         การพัฒนาครูไปสู่มาตรฐานโรงเรียนในฝัน  เราจะเรียนรู้อะไร  อย่างไร  จัดความรู้เป็นระบบได้อย่างไร  คุยกันจนคนส่วนใหญ่เริ่มเห็นทิศทาง  และโชคดีที่โรงเรียนมีแรงต้านน้อยมาก 
        โดยเราได้สร้างเหตุปัจจัยให้ครูได้คิดถึงการเรียนรู้และมีใจแบ่งปันด้วย ๗ กิจกรรม
- การบ่งชี้ความรู้  เริ่มด้วยคำถาม  เช่น  พฤติกรรมผู้เรียนที่จะสะท้อนภาพผู้เรียนที่ต้องการให้เป็น  การคิดเชิงยุทธศาสตร์ต้องคิดถอยหลัง  ต้องตั้งธงก่อน  แล้วย้อนคิดไป  ฯลฯ  ตอบได้ก็ตอบ ตอบไม่ได้ก็บันทึกไว้ และหาความรู้เพิ่มเติม
- การสร้างและแสวงหาความรู้  ศึกษาเอกสาร คู่มือและความรู้จากสื่อต่างๆ  ศึกษาดูงาน  ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในองค์กร  สรุปองค์ความรู้และเป้าหมายการพัฒนาขององค์กรที่แต่ละคนหรือกลุ่มต้องรับผิดชอบ   เราบอกครูในโรงเรียนเสมอว่า  วิธีคิดเราแข่งได้  ไปดูงานหรือแสวงหาความรู้ข้างนอกก็เพื่อมาปรับใช้กับของเรา  อย่าคิดว่า เราทำไม่ได้เพราะเราไม่มีเหมือนเขา  ถ้าคิดเช่นนี้  ไม่มีทางทำงานได้สำเร็จ
- การจัดการความรู้ให้เป็นระบบ  การทำให้องค์กรมีเป้าหมายร่วมกัน  ต้องมีการจัดระบบความรู้เป็น ๔ ด้าน คือ ด้านคุณภาพผู้เรียน ด้านกระบวนการจัดการศึกษา  ด้านการเรียนและพัฒนาครู  ด้านงบประมาณและทรัพยากร  ความรู้ที่มีอยู่ต้องนำมาจัดการ  ต้องรู้อะไร  ต้องทำอะไร ต้องประเมินอะไร   บางเรื่องไม่ต้องทำใหม่  มันมีอยู่แล้ว  นำมาจัดระบบให้เห็นชัดเจน 
- ประมวลและกลั่นกรองความรู้จากการปฏิบัติ  มีคณะกรรมการ  ติดตามความก้าวหน้า  เพื่อนำความรู้จากการปฏิบัติงานของครูและนักเรียนมาประมวลเทียบมาตรฐาน  ทั้งมาตรฐานที่โรงเรียนกำหนดและมาตรฐานที่ได้จากการไปศึกษาดูงาน  กลั่นกรองวิธีปฏิบัติที่ดีของครูเพื่อนำมาเสนอที่ประชุมหรือจัดกิจกรรมเป็นระยะ
- การเข้าถึงความรู้  ครูพัฒนาตนเอง  เพื่อนช่วยเพื่อนในการเรียนรู้  ICT เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการค้นคว้าหาความรู้ทาง Internet  และบริการนำเสนอความรู้ของตนผ่านสื่อในรูปของ  Blog
- การแบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้  โรงเรียนของเราจะไม่มีคนเก่งคนเดียว  แต่เราจะเก่งด้วยกัน  จึงให้ทุกคนแบ่งปันความรู้กัน  เรามีตลาดนัดความรู้  โดยใช้เรื่องเล่าเร้าพลัง  เพื่อสกัดความรู้ปฏิบัติที่มีอยู่ในตัวคนออกมา
- การยกย่องชมเชยและให้รางวัล  เพื่อเป็นแรงจูงใจ
         และเป้าหมายสุดท้ายของเรา  คือ  การมีเครือข่าย 
        สรุปว่า สิ่งที่โรงเรียนเทพาได้เรียนรู้จากการใช้ KM  คือ
- KM  ไม่ทำไม่รู้
- ความรู้เมื่อนำไปปฏิบัติจะเกิดความรู้เพิ่ม
- การเรียนรู้ร่วมกันทำให้เราทำงานมีคุณภาพและประหยัด
- ถ้าใช้ KM  อย่าเข้มแข็ง ความจำเป็นที่จะต้องล่าการอบรมจากภายนอกก็ลดน้อยลง

หมายเลขบันทึก: 121471เขียนเมื่อ 23 สิงหาคม 2007 10:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 กันยายน 2014 14:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท