BM.chaiwut
พระมหาชัยวุธ โภชนุกูล ฉายา ฐานุตฺตโม

ทฤษฎีและปัญหาคุณธรรม : การประเมินค่าทางศีลธรรม


ทฤษฎีและปัญหาจริยธรรม ๖

จะประเมินค่าความเป็นคนดีได้อย่างไร ? นี้คือปัญหาเชื่อมโยมมาจากครั้งก่อน... กล่าวคือ เมื่อมีปัญหาว่าจะตรวจสอบความมีคุณธรรมของคนจากภายในหรือภายนอกเพื่อจะประเมินค่าว่าคนนั่นเป็น คนดีหรือไม่ ? อย่างไร ? ...

ถ้าจะตรวจสอบจากภายใน ก็ไม่สามารถทำได้ เพราะความมีคุณธรรมเป็นเพียงคุณค่าภายในที่ไม่สามารถจับต้องได้ จิตใจของคนแต่ละคนเราก็หยั่งไม่ถึง และอุปนิสัยอันพึงปรารถนาที่เรียกว่าคุณธรรมนี้ ก็มีหลากหลายซึ่งบางอย่างหรือบางครั้งก็มีความขัดแย้งจนยากที่จะตัดสินได้ แม้ว่าจริยปรัชญาบางสำนักพยายามเสนอแนวคิดเรื่องคุณธรรมหลักออกมาก็ตาม....

ถ้าจะตรวจสอบจากภายนอก โดยสังเกตจากพฤติกรรมหรือสิ่งที่ถูกกระทำแล้ว ก็ต้องวางหลักการหรือกฎเกณฑ์เข้าไปจับพฤติกรรมหรือการกระทำนั้นๆ ว่าเป็นสิ่งที่ดีหรือถูกต้องหรือไม่เพียงไร ? แต่กฎเกณฑ์หรือหลักการที่วางไว้ก็มีหลากหลายเช่นเดียวกัน....

ปัจจุบันมีแนวคิดคู่ขนานว่า ความเพียงพอเพื่อตรวจสอบความเป็นคนดีมีคุณธรรมได้ จะต้องอาศัยสองอย่างประกอบกัน กล่าวคือ จะต้องอาศัยพื้นฐานอุปนิสัยที่พึงปรารถนาจากภายใน (คุณธรรม) และจะต้องอาศัยหลักการหรือกฎเกณฑ์เพื่อตรวจสอบพฤติกรรมที่แสดงออกมาหรือสิ่งที่ถูกกระทำขึ้นมา.... ดังเช่น แฟรงเกนา ( Frankena, William) กล่าวไว้ว่า...

  • ลักษณะนิสัยปราศจากหลักการก็มืดบอด ส่วนหลักการที่ปราศจากลักษณะนิสัยก็ไร้กำลัง
  • (Traits without principles are blind, but principles without traits are impotent )

..........

กลับมายังคำถามเดิมว่า จะประเมินค่าความเป็นคนดีได้อย่างไร ? ซึ่งโพจแมน (Pojman, Louis P.) ได้จำแนกการประเมินค่าทางศีลธรรมไว้ ๔ นัย กล่าวคือ

  • การกระทำ   = ถูก ผิด และเลือกได้
  • ผลลัพธ์        =  ดี เลว และไม่มีค่าทางศีลธรรม
  • อุปนิสัย        =  มีคุณธรรม  มีความชั่วร้าย และเป็นกลาง
  • แรงจูงใจ     = เจตนาดี เจตนาเลว  และเป็นกลาง 

แนวทางการประเมินค่าเหล่านี้  ๓ นัยแรกสามารถจำแนกออกเป็นทฤษฎีจริยศาสตร์ได้หลายสำนัก... ส่วนนัยสุดท้ายคือ แรงจูงใจ มิได้แยกออกเป็นทฤษฎีหนึ่งต่างหาก แต่ก็แฝงตัวอยู่ในทฤษฎีข้างต้น กล่าวคือ แต่ละทฤษฎีมักจะมีแนวคิดเรื่องแรงจูงใจประกอบด้วย แต่เหตุผลในการกล่าวอ้างก็แตกต่างกันออกไป... 

เฉพาะทฤษฎีคุณธรรม ก็เป็นเพียงหนึ่งตามนัยข้างต้นเท่านั้น... 

จะเห็นได้ว่า การจะประเมินค่าและตัดสินความเป็นคนดีนั้นเป็นสิ่งที่ยาก มิใช่สิ่งที่จะเข้าใจได้ง่ายๆ

หมายเลขบันทึก: 121281เขียนเมื่อ 22 สิงหาคม 2007 13:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 01:09 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

กราบนมัสการหลวงพี่BM.chaiwut  

เรื่องการประเมินค่าทางศีลธรรม หากจะให้ตัวเองเป็นผู้แจกแจง จะเป็นเรื่องที่ยากมากเลยค่ะ

ดิฉันมาลองคิดดู  มองแค่การประเมินเฉยๆ เหมือนประเมินวัตถุสิ่งของน่ะค่ะ    ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการประเมินวัตถุนั้นๆ ก็จะขึ้นกับปัจจัยหลักๆ ดังนี้

  1. ตัวผู้ประเมิน
  2. สิ่งที่ถูกประเมิน
  3. สิ่งแวดล้อมขณะประเมิน

ซึ่งปัจจัยแค่นี้ก็ทำให้ผลการประเมินเปลี่ยนไปได้หลากหลาย มากๆ อยู่แล้ว แล้วถ้าต้องมาประเมินศีลธรรมกัน สำหรับตัวเองเป็นเรื่องยากมากๆ เลยค่ะ แต่ชอบประโยคนี้มากเลยค่ะ

ลักษณะนิสัยปราศจากหลักการก็มืดบอด ส่วนหลักการที่ปราศจากลักษณะนิสัยก็ไร้กำลัง

แล้วก็ยืนยันตามที่หลวงพี่ว่าไว้เลยค่ะว่า

จะเห็นได้ว่า การจะประเมินค่าและตัดสินความเป็นคนดีนั้นเป็นสิ่งที่ยาก มิใช่สิ่งที่จะเข้าใจได้ง่ายๆ

ขอบคุณค่ะ

รู้สึกว่าเขาอธิบายได้ดี

P
เห็นด้วยกับอาจารย์...
เฉพาะเรื่องการประเมินค่านี้ อาตมาเพิ่งรู้ว่า ยังไม่มีตำราภาษาไทยที่เขียนเรื่องนี้โดยเฉพาะ และสถานศึกษาที่เปิดสอนปรัชญาอยู่ ก็ยังไม่เคยเจอว่าสำนักไหนบ้างที่เปิดสอนวิชานี้โดยเฉพาะ...
ทฤษฎีการประเมินค่า ใช้โดยตรง ๓ สาขา คือ เศรษฐศาสตร์ สุนทรียศาสตร์ และจริยศาสตร์ ... นอกนั้นก็จะเชื่อมโยงอยู่กับสาขาอื่นๆ เช่น การศึกษา การจัดการบริการ..
ตามทศนิยมของดิวอี้ อยู่หมวด 121.8 ตอนค้นไม่เจอตำราภาษาไทยเลย เจอแต่ตำราภาษาอังกฤษเท่านั้น
ยิ่งเรียนไปก็ยิ่งรู้ว่าการศึกษาของไทยยังขาดแคลนความรู้ด้านนี้อีกมาก... เราเพียงจับมาตอนปลายเพื่อใช้ตามวัตถุประสงค์เท่านั้น แต่ไม่ได้เรียนทฤษฎีหรือแนวคิดเบื้องต้นนั้นจริงๆ...
ก็บ่นเล่นๆ เมื่อมีโอกาสเท่านั้น
เจริญพร 

ทฤษฎีนี้ เขื่อว่า ศิลปะที่มีคุณค่าอย่างแท้จริงจะต้องรับใช้ศีลธรรมและสังคม ภายใต้สโลแกนที่ว่า ศิลปะเพื่อชีวิต

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท