งานสัมนานวัตกรรมแห่งชาติ


"นวัตกร" คือ ผู้สรรค์สร้างนวัตกรรม

           วันนี้ผมได้มีโอกาสเข้าร่วมงาน "การสัมนาแห่งชาติ นวัตกรรมสู่ยุทศาสตร์ระบบสุขภาพชุมชน" ที่จัดขึ้น ณ. เมืองทองธานี (Hall 9) ซึ่งจัดโดยความร่วมมือ ของกระทรวงสาธารณสุข, สปสช., สปรส., และสพช.,  งานนี้มีการนำเสนอนวัตกรรม ทางด้านสุขภาพ มากกว่า 100 เรื่องจากทั่วประเทศ ซึ่งทำให้เกิดไอเดียใหม่ๆ ในการนำไปใช้ทั้งในด้านการศึกษา และการนำไปใช้ในการทำงานในอนาคตได้เป็นอย่างดี แต่ก็น่าเสียดายที่ไปในฐานะผู้สังเกตการณ์ (ไม่ได้ลงทะเบียน) จึงไม่ได้รับเอกสารประกอบการสัมนา

            เมื่อก่อนสมัยผมทำงานที่ชุมชน ไม่เคยคิดมาก่อนเลย ว่างานที่เราทำอยู่ในแต่ละวันนั้น ไม่ว่าจะเป็นโครงการ หรืองานบริการต่างๆ ที่เราทำอยู่ มันก็คือนวัตกรรมดีๆ นี่เอง เพียงหากเราปรับกระบวนการทำงาน กระบวนการคิดใหม่ ที่เราเคยทำแต่เดิม มาวางแผนการทำงานให้เป็นระบบมากขึ้น จัดทำระบบการบันทึก การรายงานที่มีคุณภาพ ผมเชื่อว่านวัตกรรมใหม่ๆ คงไม่เกินความสามารถของเราอย่างแน่นอน 

           เมื่อพูดถึง "การทำงานชุมชน" บางคนอาจมองว่า คนทำงานชุมชนนั้น เป็นคนเบื้องล่าง จึงมักไม่ค่อยได้รับการสนับสนุน จากคนเบื้องบน แต่คนทำงานชุมชนเท่านั้นที่จะรู้ว่า งานชุมชน เป็นงานที่หนักก็จริง ค่าตอบแทนที่เป็นตัวเงินอาจจะน้อย แต่ค่าตอบแทน ที่ได้สำหรับคนในชุมชนนั้น ผมมองว่ามันมากมายมหาศาล หากมองในระบบของการดูแลสุขภาพนั้น ประเด็นหนึ่งที่ได้จากการสัมนา จากคำกล่าวที่ว่า การดูแลสุขภาพในโรงพยาบาล จะเน้นการรักษาโรค(Biomedical) มากกว่าการรักษาคน  ส่วนการดูแลสุขภาพในชุมชน (สถานีอนามัย) นั้น คือ การรักษาคน (Biosocial) มากกว่าการรักษาโรค

การมองสุขภาพชุมชน (เชิงปฏิบัติ) จากคำกล่าวของ ศาสตรจารย์นายแพทย์ประเวศ วสี ที่กล่าวว่า การมองสุขภาพชุมชน มองเป็นองค์รวม ยึดเป้าหมาย 7 ประการ ในการทำงาน เพื่อระบบสขภาพที่ดี ประกอบด้วย

     1. สำรวจและช่วยเหลือผู้ที่ถูกทอดทิ้งทุกคนในชุมชน

     2. รักษาโรคที่พบบ่อยได้ การดูแลสุขภาพโดย self-care, family care, community care.

     3. ยึดเศรษฐกิจพอเพียง

     4. ประชาชนกลุ่ม โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ต้องได้รับการดูแล

     5. สูงอายุต้องได้รับการดูแลที่บ้าน 

     6. ควบคุมโรคที่พบบ่อยในชุมชน เช่น โรคไข้เลือดออก

     7. เน้นให้ชุมชนมีการสร้างเสริมสุขภาพ

หากการทำงานชุมชนบรรลุตามเป้าหมายดังกล่าว การที่เราทำให้สุขภาพของคนในชุมชนดีแล้ว สิ่งหนึ่งที่เราได้รับตอบแทนจากชุมชนก็คือ "หัวใจของคนในชุมชน" ซึ่งผมมองว่าเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งประการหนึ่ง ของการทำงานชุมชนให้ประสบความสำเร็จ  ในเมื่อเรามองว่าสุขภาพที่ดี ส่วนหนึ่งก็คือ สุขภาพที่ปราศจากการเป็นโรค แต่มองในแง่ความเป็นจริงในปัจจุบัน หากมองในเชิงของนโยบาย จะให้ความสำคัญ เรื่องการกระจายอำนาจ ที่มุ่งกระจายอำนาจสู่การปกครองส่วนท้องถิ่น หรือชุมชน ซึ่งมองว่าง่ายต่อการบริหารจัดการ แต่ จะเห็นได้ว่าการสนับสนุน ไม่ว่าในแง่ของงบประมาณ รวมทั้งกำลังคน มองว่าทั้ง 2 ส่วนนี้ อาจจะยังคงให้ความสำคัญในส่วนของโรงพยาบาลมากกว่าในส่วนของชุมชน (สถานีอนามัย) โดยเฉพาะกำลังคน ที่ทำงานในชุมชน ที่มีอยู่จำนวนน้อยนิด แต่ต้องรับภาระงานที่หนัก ซึ่งในแง่ของนโยบายการกระจายอำนาจ ในอนาคตอันใกล้นี้ ที่จะให้หน่วยบริการปฐมภูมิ ไปขึ้นตรงกับองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งหมายถึง คนทำงานชุมชนก็ต้องย้ายสังกัดเช่นกัน

            ซึ่งมองว่าง่ายต่อการบริหารทั้งกำลังคน และงบประมาณ ทั้งยังสามารถช่วยลดการขาดแคลนบุคลากรทางด้านสุขภาพได้ เนื่องจากองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นมีงบประมาณ ที่สามารถจ้างบุคลากรทางด้านสุขภาพเพิ่มได้ แต่สิ่งหนึ่งที่ผมมองว่า สามารถลดการขาดแคลนบุคลากรทางด้านสุขภาพในการให้บริการในชุมชน แทนการถ่ายโอน ต้นสังกัดของหน่วยบริการ ควรน่าจะมีการกระจายคนจากส่วนโรงพยาบาล ลงสู่ชุมชน  น่าจะเป็นทางออกที่ดี เพราะอาจไม่ต้องปรับระบบการทำงานใหม่ทั้งหมด แต่ในส่วนนี้ ก็คงต้องมองต่อไปอีกว่า จะมีคนทำงานโรงพยาบาลกี่คน ที่จะยินดีลงทำงานในชุมชน.....

         ต้องขออภัยไว้ ณ. ที่นี้ด้วย หากความคิดเห็นของผม ไปขัดแย้งกับท่านอื่นๆ นะครับ

          วันนี้เป็นที่น่าเสียดายอย่างยิ่งที่ลืมหยิบกล้องถ่ายรูปติดมือไป เอาไว้วันพรุ่งนี้จะเก็บภาพบรรยากาศของงานมาฝากอีกครั้งครับ

หมายเลขบันทึก: 121176เขียนเมื่อ 22 สิงหาคม 2007 02:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 20:00 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
  • ขอแก้ไข ประเวช วสี -----> ประเวศ  วะสี นะครับ

ขอบคุณสำหรับข้อคิดเห็นและคำแนะนำของพี่อำนวยครับ

แก้ไขแล้วครับ

ฉันได้มีโอกาสลงไปในชุมชนบ้างเหมือนกันค่ะ

รวมทั้งมีโอกาสได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการจัดอบรมผู้บริหารการสาธารณสุขระดับต้น (ผบต.)

ฉันมองว่าการทำงานในชุมชนให้สำเร็จนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย ด้วยข้อจำกัดหลายประการ แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นเรื่องท้าทายค่ะ เพราะในบรรดาชุมชนที่ประสบความสำเร็จนั้นเป็นชุมชนที่เข้มแข็ง (มีชัยไปเกือบครึ่งแล้ว) มีผู้บริหารที่เข้าถึงชุมชน และมีผู้ปฏิบัติที่มีใจให้การทำงานในชุมชน----ทั้งหมดนี้เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เราไม่หวั่นกับข้อจำกัดต่างๆนานานะคะ

คุณเกรียงศักดิ์มีใจให้ชุมชนแล้ว มีประสบการณ์แล้ว และยังได้มีโอกาสเรียนรู้วิชาการให้ลึกซึ้งกว่าเดิม ฉันเชื่อว่าความสำเร็จอยู่แค่เอื้อมค่ะ

>0<

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท