การจัดการความรู้ที่จ่านกร้อง


เครื่องมือการจัดการความรู้

วันนี้ป้านางจะเริ่มเขียนให้อ่านถึงวิธีการทำกิจกรรม KM ของโรงเรียนจ่านกร้อง หลังจากที่ได้ หัวปลา 5 เรื่องแล้วป้านางได้ร่วมกับครูนักจัดการความรู้ของโรงเรียนจ่านกร้อง ศึกษาหาความรู้ในการจัดกิจกรรม KM อย่างละเอียดแล้วนำมาใช้ปฏิบัติจริงในกลุ่ม KM โดยใช้เครื่องมือการจัดการความรู้ ดังนี้คือ

1. ใช้เรื่องเล่าเพื่อถอดความรู้ฝังลึก ดำเนินการโดยจัดประชุมกลุ่มสมาชิก KM มีผู้อำนวยการองอาจ สุขแสงสุวรรณและป้านาง ทำหน้าที่เป็น "คุณอำนวย" อย่างใกล้ชิด ช่วยเหลือให้การประชุมราบรื่น ครูนักจัดการความรู้ของแต่ละกลุ่มจะสร้างบรรยากาศของความชื่นชม ความคิดเชิงบวก การซักถามด้วยไมตรีจิต ให้สมาชิกกลุ่มได้หมุนเวียนกันเล่าเรื่องถ้วนหน้ากัน ไม่มีคนใดคนหนึ่งผูกขาดการพูด ครูนักจัดการความรู้ประจำกลุ่ม คอยช่วยเหลือตั้งคำถาม "ทำไมจึงทำเช่นนั้น คิดอย่างไร จึงทำเช่นนั้น" เพื่อช่วยให้ "ความรู้ เพื่อการปฏิบัติ" ถูกปลดปล่อยออกมาและคอยกระตุ้นให้สมาชิกกลุ่มช่วยกัน "สกัด" หรือ "ถอด" ความรู้เพื่อการบรรลุหัวปลาออกมาและมีผู้บันทึกไว้  ในการประชุมเพื่อ "สกัด" หรือ "ถอด" ความรู้มีบรรยากาศที่เท่าเทียมและเป็นอิสระ เพราะจะช่วยให้การเล่าเรื่องและการเสนอข้อคิดเห็น หรือตีความ เรื่องเล่า ดึงหรือสกัดความรู้ออกมาจากเรื่องเล่า ดำเนินไปย่างเป็นธรรมชาติ เป็นการพูดออกมาจากใจ ไม่ผ่านการกลั่นกรองด้วยความเกรงใจ ความเกรงอาวุโส เกรงว่าคำพูดหรือความเห็นของตนจะผิดหลักทฤษฎี ฯลฯ ซึ่งเป็นอุปสรรคปิดกั้นความคิดสร้างสรรค์ อันเป็นบ่อเกิดของนวัตกรรม

แล้ววันต่อไปป้งนางจะเขียนเครื่องมือการจัดการความรู้วิธีที่ 2 ให้อ่านนะ

หมายเลขบันทึก: 121131เขียนเมื่อ 21 สิงหาคม 2007 22:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 20:00 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท