การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย


การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย เราจะใช้เมื่อเราต้องการนำตัวแปรที่อยู่ในมาตราอันตรภาคชั้น (Interval scale) ขึ้นไป หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ ตัวแปรนั้นต้องเป็นตัวแปรต่อเนื่องที่สามารถนำมาหาค่าเฉลี่ยได้นั่นเอง

     จากบทความก่อนๆ เคยคุยเกี่ยวกับเรื่องของการเลือกใช้สถิติและระดับการวัดของตัวแปรกันไปแล้ว คราวนี้จะขออธิบายเกี่ยวกับการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยกันบ้างนะคะ การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย เราจะใช้เมื่อเราต้องการนำตัวแปรที่อยู่ในมาตราอันตรภาคชั้น (Interval scale) ขึ้นไป หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ ตัวแปรนั้นต้องเป็นตัวแปรต่อเนื่องที่สามารถนำมาหาค่าเฉลี่ยได้นั่นเอง 

 

     การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย ถ้าหากเราต้องการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระหว่างสองตัวแปร โดยที่ข้อมูลที่มีอยู่เป็นค่าพารามิเตอร์ (ค่าที่ได้จากประชากร) เราสามารถเปรียบเทียบกันได้เลยค่ะ เนื่องจากว่าเราศึกษาจากประชากร คำตอบที่ได้จึงเป็นคำตอบของประชากร ดังนั้นถ้าต้องการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระหว่างสองกลุ่มเราก็สามารถเปรียบเทียบได้เลย ในส่วนของการเลือกสถิติของการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยประชากรกรณีนี้ยังไม่มีอะไรยากเย็นค่ะ 

      แต่เมื่อใดก็ตาม ที่การทำวิจัยของเราเป็นการวิจัยที่ทำกับกลุ่มตัวอย่าง อันนี้สิคะค่อนข้างยากสำหรับคนที่ไม่ได้เรียนสถิติมาก่อน สำหรับการเลือกสถิติสำหรับการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างเพื่ออ้างอิงไปยังกลุ่มประชากร มีอยู่หลายกรณีด้วยกันค่ะ เอาที่ใช้กันบ่อยๆ กันก่อนนะคะ คือ การใช้สถิติเปรียบเทียบที (t-test) และสถิติทดสอบความแปรปรวนทางเดียว (ANOVA) 

การใช้สถิติเปรียบเทียบที (t-test) แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มด้วยกัน คือ

  1. One-sample test คือ การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างกับค่าคงที่ใดๆหรือการนำค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างมาเปรียบเทียบกับเกณฑ์ เช่น ต้องการทดสอบว่าค่าเฉลี่ยความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างจะมีค่าเท่ากับ 3.50 หรือไม่
  2. Independent t-test คือ การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างสองกลุ่มที่เป็นอิสระจากกัน เช่น ต้องการทดสอบว่าค่าเฉลี่ยของคะแนนสอบของนักเรียนชายและหญิงจะแตกต่างกันหรือไม่
  3. Paired-sample test คือ การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง 1 กลุ่ม ที่มีค่าเฉลี่ยให้เปรียบเทียบกัน 2 ค่า พูดกันง่ายๆ เช่น เอาค่าเฉลี่ยของคะแนนสอบก่อนเรียน กับหลังเรียน ของนักเรียนมาเปรียบเทียบกันนั่นเอง

      ส่วนการใช้สถิติทดสอบความแปรปรวนทางเดียว (ANOVA) เราจะใช้เมื่อเราต้องการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 3 ตัวขึ้นไปค่ะ     

คราวหน้าจะมาอธิบายถึงการวิเคราะห์และการอ่านค่าจากผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมกันบ้างนะคะ

หมายเลขบันทึก: 121129เขียนเมื่อ 21 สิงหาคม 2007 22:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 22:56 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (32)
เข้ามาอ่านครับ ............. ได้ความรู้ดีครับ

ขอบคุณค่ะสำหรับกำลังใจดีๆ

สวัสดีครับ

เข้ามาอ่าน ความรู้ทางด้านสถิตครับ.. มีประโยชน์ทีเดียวครับ..

ขอบคุณค่า ที่แวะเวียนเข้ามาอ่านกัน หากมีคำถามเกี่ยวกับวิจัยและสถิติก็ถามกันมาได้นะคะ ยินดีให้ความช่วยเหลือค่ะ ถ้ารู้จะเอามาแชร์กันค่ะ ขอบคุณอีกครั้ง

สำหรับน้องนนท์ น้องชายผู้น่ารักได้เสมออยู่แล้วจ้า พี่เหมียวเต็มที่เลย จัดให้...

อยากทราบว่า dependent t- test กับ independent t-test เหมือน และ ต่างกันอย่างไรคะ

ขอโทษค่ะ ที่เข้ามาตอบช้าไปนิดหน่อย

dependent t- test  จริงๆ แล้วคืออีกชื่อหนึ่งของ Paired-sample t-test ค่ะ

Independent t-test ใช้กับสองกลุ่มที่เป็นอิสระจากกัน

dependent t-test ใช้เปรียบเทียบค่าเฉลี่ย 2 ค่าของกลุ่มสัมพันธ์กัน ยกตัวอย่าง คือ สมมติอยากเปรียบเทียบน้ำหนัก ก่อน-หลัง เข้าโปรแกรมลดน้ำหนักว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญหรือไม่ (จริงก้อคือตัวเดียวกับ Paired-sample t-test แต่เรียกอีกชื่อหนึ่งเท่านั้นค่ะ

รบกวนถามอาจารย์เหมียวค่ะ  ว่า จะใช้ independent t-test ในการเปรียบเทียบ gain score ระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุมนั้น ก่อนใช้จะต้องดูข้อตกเบื้องต้นอะไรบ้าง  และอาจารย์เหมียวจะแนะนำหนังสืออะไรที่มีเนื้อหา เรื่อง gain score ให้อ่านบ้างไหมค่ะ ตอนนี้ไม่มีข้อมูลที่ถูกต้องเลย ขอบคุณมากค่ะ รส

มีประชากร 35 คน แปรงฟันหลังทานอาหารซึ่งจะมีการวัดระดับน้ำตาลก่อนและหลังการแปรงฟัน อยากทราบว่าการแปรงฟันมีความสัมพันธ์กับระดับน้ำตาลหรือไม่ อย่างไร

ขอบคุณมากนะครับอาจารย์ ผมกำลังหาข้อมูลเรื่องนี้อยู่พอดี

รบกวนช่วยไขปัญหาให้หน่อยนะครับ จากทราบว่า ประชากรและกลุ่มตัวอย่างมีขนาดเท่ากันจะใช้อย่างไร ใช้คำว่าประชากรและกลุ่มตัวอย่าง หรือว่าใช้กลุ่มเป้าหมายหรือว่าอะไรครับ และจะใช้สถิติอย่างไรครับในกรณีอย่างนี้ช่วยตอบด้วยนะครับ

ขอเรียนถามหน่อยครับว่า ต้องการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย 2 ค่า ที่เป็นอิสระต่อกัน แต่ข้อมูลไม่ได้มีการแจกแจงแบปกติ ควรจะใช้สถิติตัวใดเปรียบเทียบดีครับ (ขนาดประชากร 251 ตัวอย่าง)

  • อยากช่วยตอบคุณหนอนและคุณผู้สงสัยในสถิติแทน อ.พี่เหมียวนะครับ
  • แต่ไม่แน่ใจว่าจะถูกต้องหรือไม่ รบกวน อ.พี่เหมียวยืนยันด้วยนะครับ
  • ไม่แน่ใจคุณหนอนต้องการถามว่าจะใช้สถิติอะไรหรือเปล่าครับ
  • ถ้า่ใช่ อยากตอบว่า ใช้ Pair t-test ครับ เพราะเ้ป็นการทดสอบ pretest-posttest
  • สำหรับคุณสงสัยฯ น่าจะใช้คำว่า "ประชากร" ครับ เพราะเราศึกษาที่กลุ่มประชากรยกเว้นว่า กลุ่มประชากรที่เรากำหนดนั้นไม่ใช่กลุ่มประัชากรที่แท้จริง
  • สำหรับคุณนิสิต ก็อยากช่วยตอบนะครับ แต่ไม่มั่นใจ เพราะปกติ เวลาวิเคราะห์ไม่ได้ทดสอบการแจกแจงก่อนเลยครัีบ ก็จะเลือกใช้ t-test หรือ Anova ไปเลยครัีบ

สำหรับของคุณหนอน ต้องตอบตัวเองให้ได้ก่อนค่ะว่าที่ศึกษาอยู่เป็นประชากรหรือกลุ่มตัวอย่าง เพราะจะใช้สถิติคนละอย่างกันเลยค่ะ t-test เราจะใช้กับกลุ่มตัวอย่างที่ได้จากการสุ่มเท่านั้นค่ะ ไม่สุ่มยังไม่ควรใช้เลย

ส่วนเรื่องของ ประชากร = สิ่งที่ต้องการศึกษาทั้งหมด แต่กลุ่มตัวอย่างคือ ส่วนหนึ่งของสิ่งที่เราต้องการศึกษา หรือจะเรียกว่าเป็นส่วนหนึ่งของประชากรก็ได้ค่ะ ส่วนกลุ่มเป้าหมาย ส่วนใหญ่แล้ว เราจะใช้กลุ่มเป้าหมายกับการทำวิจัยประเภทเชิงพัฒนา ค่ะ คือเป็นกลุ่มเป้าหมายที่คาดว่าจะไปพัฒนาให้ดีขึ้น

ส่วนกรณีข้อมูลที่แจกแจงไม่ปกติ เราต้องเลี่ยงไปใช้ Nonpara ค่ะ

เพิ่งไปเรีนนวิจัยกะหมอโกมาตรมา

ยังมึนไม่หาย

มาเรียนต่อในบล็อคนี้ละกันครับ

  • กลับกลายเป็นที่เข้าใจเพิ่มมากขึ้นนะเนี่ย
  • ขอบพระคุณขอรับ

ยินดีค่ะ ช่วงนี้คิดว่าน่าจะหาเวลามาเขียนบทความใหม่ๆบ้าง หลบไปเรียนเพิ่มเติมมาเหมือนกันค่ะ

เรียน อาจารย์ สุภาวดี

ตามที่อ่านบทความ เรื่อง One-sample test คือ การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างกับค่าคงที่ใดๆหรือการนำค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างมาเปรียบเทียบกับเกณฑ์ เช่น ต้องการทดสอบว่าค่าเฉลี่ยความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างจะมีค่าเท่ากับ 3.50 หรือไม่ นั้น ดิฉันเป็นครูคนหนึ่งที่ต้องการทราบว่ามีสูตรการหาค่าสถิติเกี่ยวกับOne-sample test ที่เทียบกับเกณฑ์ใช้สูตรใด ของความอนุเคราะห์ด้วยค่ะ เพราะมีปัญหาในการอ้างอิงสูตร ถ้าอาจารย์จะกรุณาแนะนำการอ้างอิงในการทำผลงานทางวิชาการ จักขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่ง

จาก ครูคนหนึ่งที่ต้องการความช่วยเหลือ

ขอโทษค่าที่เข้ามาตอบช้า ในส่วนของการหาสูตรการหาค่าสถิติเกี่ยวกับOne-sample test ลองเข้าไปศึกษาบทความจาก www.watpon.com ดูนะคะ มีบทความน่าสนใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ค่อยข้างจะครบ และมีการอ้างอิงสูตรไว้ด้วย พยายมลองพิมพ์สูตรให้ในเว็บนี้แล้วทำไม่ได้ค่ะ เป็นข้อจำกัดของระบบ แต่ไว้ถ้ามีเวลาจะลองเขียนเป็นบทความมาให้โหลดกันนะคะ

อยากรบกวนถามอาจารย์ค่ะว่า ถ้าจำนวนกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มต่างกันมาก เช่น หลักสิบ กับ หลักร้อย จะสามารถเปรียบเทียบหา t-test หรือ Anova ได้ไหมคะ

รบกวนถามอาจารย์หน่อยครับ ถ้าผมจะหาค่า t-test ของกลุ่มตัวอย่างข้างล่างจะต้องกรอกข้อมูลแบบใหนครับ

บ่อที่ 1 บ่อที่ 2 บ่อที่ 3

หญ้าคาพันธุ์ a 30.43 29.53 31.20

หญ้าคาพันธุ์ b 37.98 29.52 30.31

ญ้าคาพันธุ์ c 32.24 31.51 33.62

ผมจะหาค่า t กับ Sig ครับ ขอบพระคุณล่วงหน้าที่ช่วยชี้แนะครับ

สถิติไร้พารามิเตอร์ เรื่องปัญหาเกี่ยวกับค่าเฉลี่ยกรณี หลายตัวอย่างที่สัมพันธ์กัน ,ที่เป็นอิสระกัน

สนใจมากครับ แต่จะเรียนรู้ให้เข้าใจได้ยากครับ หากมีสิ่งใดที่ทำให้เข้าใจง่าย ก็ช่วยแนะนำ ช่วยสอนด้วยครับ

การทดสอบค่า t หรือ t - test สามารถนำไปใช้ในการทดสอบหาผลสอบก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนจำนวน 28 คนซึ่งเป็นการทดสอบในกลุ่มประชากรของการศึกษาในครั้งนี้ได้ไหม ช่วยกรุณาตอบด้วยขอบคุณค่ะ

t-test แบบ Paired-sample test ค่ะ แต่ต้องเป็นกลุ่มตัวอย่างที่ได้จากการสุ่มนะคะ ถ้าเป็นประชากรใช้การเปรียบเทียบความแตกต่างโดยเอาค่าหลังตั้งลบด้วยก่อน จากนั้นเอาไปหาค่าความก้าวหน้า และสรุปผลเลย

อาจารย์ครับ ผมขอรบกวนอาจารย์ด้วยครับ

ผมไม่ทราบว่าจะใช้สถิติตัวไหนมาใช้ในการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย

โดยข้อมูลผมมี 2 ชุด ที่ประชากรไม่เท่ากัน ที่อยากถามคือ

ผมเก็บข้อมูล 9 เดือน โดย 6 เดือนแรกคือข้อมูลก่อนการปรับปรุง อีก 3 เดือนหลัง

คือข้อมูลหลังปรับปรุง ผมจะเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยควรจะใช้แบบใดครับ

ขอบคุณมากๆค่ะ

กำลังงงๆกับการเลือกใช้สถิติ มาอ่านในบันทึกนี้แล้วเข้าใจมากขึ้นค่ะ

สอบถามอีกนิดนะคะ หากกลุ่มตัวอย่างมีจำนวนน้อย (เก็บได้ไม่ถึงกลุ่มละ 20 จะสามารถใช้ t-test ได้รึเปล่าคะ)

สอบถามหน่อยค่ะพอดีต้องการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ70 มีกลุ่มตัวอย่าง49 คนอยากทราบว่าจะต้องใช้สถิติด้วยไหนดีค่ะ งง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท