มาช่วยกันหยุดภาวะโลกร้อนกันเถิด...ไทยเราติดอันดับ 9 ของโลกแล้วนะ


เพราะฉะนั้นเราคนไทยต้องมีส่วนช่วยโลกให้มากขึ้นจริงๆ ตั้งแต่บัดนี้
ได้ฟังข่าวเมื่อเช้าว่าเราติดอันดับที่ 9 ในประเทศที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน (อยากให้ฟังผิดจัง ยังไม่ได้หาข้อมูลมายืนยันค่ะ) ยิ่งรู้สึกว่า เรานิ่งนอนใจไม่ได้จริงๆ เราแต่ละคนต้องลงมือทำในส่วนที่เราทำได้ให้มากที่สุด ไม่ใช่หน้าที่ของใครคนใดคนหนึ่ง และอย่าคิดว่า คนอื่นไม่ทำก็คงไม่ช่วยอะไร เพราะสิ่งเหล่านี้ไม่ได้ยากอะไรเลย ขอเพียงคิดสักนิดก่อนจะทำอะไรในชีวิตประจำวันเท่านั้นเอง การเปลี่ยนแปลงการกระทำอะไรแม้เพียงเล็กน้อยก็มีผลมหาศาล ดังที่ได้ลงรายละเอียดไปแล้วหลายๆหัวข้อจากโปสเตอร์ 80 วิธีหยุดโลกร้อนของงานประชาสัมพันธ์ คณะแพทยศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ ครั้งนี้คงเป็นชุดสุดท้ายแล้ว ตั้งใจว่าจะเลือกเอาข้อที่ตัวเองตั้งใจจะปฏิบัติพิมพ์แยกออกมาต่างหาก แล้วเอามาพิมพ์แปะในที่เห็นชัดเจนค่ะ แล้วจะเอามาลงในบันทึกเผื่อแผ่กันต่อไปนะคะ 

  <table border="0"><tbody>

   

นักการเมือง ผู้ว่าราชการฯ และรัฐบาล
ก็สามารถช่วยได้ด้วยการ

68. วางแผนการจัดหาพลังงานในอนาคต รัฐจำเป็นต้องมีการวิเคราะห์ทางเลือกเพื่อมุ่งจัดการแก้ไขปัญหาพลังงานและสิ่งแวดล้อม ที่มองไปข้างหน้าอย่างน้อยที่สุด 50 ปี

69. สนับสนุนให้มีการพัฒนาการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ ทั้งการสนับสนุนงบประมาณในการวิจัย และการพัฒนาระบบให้มีต้นทุนต่ำและคุ้มค่าในการใช้งาน
 

70. สนับสนุนกลไกต่างๆสำหรับพลังงานหมุนเวียน เพื่อสร้างแรงจูงใจในการปรับปรุงเทคโนโลยีและการลดต้นทุน

71. สนับสนุนอุตสาหกรรมพลังงานหมุนเวียน เพื่อกระตุ้นให้เกิดการลงทุนของภาคเอกชน รัฐบาลควรหามาตรการที่ชัดเจนในการสนับสนุนอุตสาหกรรมหมุนเวียน ซึ่งเป็นพลังงานสะอาด เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม เพื่อให้สามารถแข่งขันกับอุตสาหกรรมพลังงานอื่นๆ ที่ใช้พลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิล ที่เป็นสาเหตุหลักของการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่บรรยากาศ    

  72. มีนโยบายทางการเมืองที่ชัดเจนในการสนับสนุนการ หยุดภาวะโลกร้อน เสนอต่อประชาชน 

73.สนับสนุนโครงสร้างทางกายภาพ เมื่อประชาชนตระหนักและต้องการเข้ามามีส่วนร่วมในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เช่น จัดการให้มีโครงข่ายทางจักรยานที่ปลอดภัยให้กับประชาชนในเมืองสามารถขับขี่จักรยาน ลดการใช้รถยนต์ 

 

  74. ลดจำนวนรถยนต์ส่วนตัวบนถนนในกรุงเทพมหานครอย่างจริงจัง ด้วยการสนับสนุนระบบขนส่งมวลชนที่มีประสิทธิภาพ 

75. ส่งเสริมเครือข่ายการตลาดให้กับกลุ่มเกษตรกรทางเลือก เกษตรกรจำนวนมากเป็นตัวอย่างที่ดีของการลดปัญหาโลกร้อน ด้วยการลดและเลิกการใช้สารเคมีที่ทำให้เกิดการปลดปล่อยไนตรัสออกไซด์สู่บรรยากาศโลก ซึ่งการส่งเสริมการตลาดสีเขียวด้วยการสร้างเครือข่ายการตลาดที่กระจายศูนย์ไปสู่กลุ่มจังหวัดหรือภูมิภาค จะช่วยลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์จากกระบวนการขนส่งผลผลิตไปยังตลาดไกลๆอีกด้วย

    76. ริเริ่มอย่างกล้าหาญกับระบบพลังงานแบบกระจายศูนย์ เพื่อลงทุนกับทางเลือกและทางรอดในระยะยาว

 

 

77. พิจารณาใช้กฎหมายการเก็บภาษีเป็นเครื่องมือในการควบคุมปริมาณก๊าซเรือนกระจก โดยเฉพาะคาร์บอนไดออกไซด์ เช่น การเก็บภาษีคาร์บอน (Carbon Tax) สำหรับภาคอุตสาหกรรม 

 

  78. เปลี่ยนแปลงระบบการจัดเก็บภาษี นั่นคือการสร้างระบบการจัดเก็บภาษีที่สามารถสะท้อนให้เห็นต้นทุนทางอ้อมจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจตัวใดตัวหนึ่งซึ่งทำให้สังคมต้องแบกรับภาระนั้นอย่างชัดเจน เช่นภาษีที่เรียกเก็บจากถ่านหิน ก็จะต้องรวมถึงต้นทุนในการดูแลรักษาสุขภาพที่จะต้องเพิ่มขึ้นจากปัญหามลพิษ และต้นทุนความเสียหายจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป         79. ปฏิรูปภาษีสิ่งแวดล้อม เป็นก้าวต่อไปที่ท้าทายของนักการเมืองและรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งอย่างใหญ่หลวง ในการปรับเปลี่ยนและสร้างจิตสำนึกใหม่ให้สังคมการเพิ่มการจัดเก็บภาษีสำหรับกิจกรรมที่มีผลทำลายสภาพแวดล้อมให้สูงขึ้นเป็นการชดเชย เช่น กิจกรรมที่มีการปล่อยคาร์บอน ภาษีจากกองขยะ ไม่ใช่เรื่องเป็นไปไม่ได้ หลายประเทศโดยเฉพาะในยุโรปตะวันตกนำแนวคิดนี้ไปใช้ตั้งแต่ปี พ.ศ.2533 ปัจจุบันนี้ประเทศใหญ่ๆในสหภาพยุโรปก็ร่วมดำเนินการด้วย และพบว่าการปรับเปลี่ยนระบบการจัดเก็บภาษีดังกล่าว ไม่มีผลต่อการปรับเปลี่ยนระดับการจัดเก็บภาษี หากแต่มีผลกับโครงสร้างของระบบภาษีเท่านั้น     80. กำหนดทิศทางประเทศให้มุ่งสู่แนวทางของการดำเนินชีวิตอย่างพอเพียง ที่สามารถยืนหยัดอยู่รอดอย่างเข้มแข็งในสังคมโลก เริ่มต้นด้วยการใส่ประโยคที่ว่า ประเทศไทยจะต้องยึดหลักเศรษฐกิจตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นแกนหลักของการพัฒนาประเทศไว้ในรัฐธรรมนูญได้หรือไม่ อย่ามัวแต่ให้คนดังๆรณรงค์โดยที่เราไม่ยอมทำอะไร เพราะทุกคนมีส่วนและมีสิทธิในการช่วยเหลือโลกนี้ได้เท่าๆกัน  

</tbody></table>น่าดีใจที่มีผู้สนใจโปสเตอร์นี้ email ติดต่อมาถามว่าจะขอเอาไปเผยแพร่ได้ที่ไหนกันหลายราย ขอแจ้งให้ทราบว่า โปรดติดต่อที่งานประชาสัมพันธ์ของคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลสงขลานครินทร์โดยตรงเลยนะคะ คนนำมาเขียนเป็นเพียงผู้ชื่นชมและอยากช่วยกันเผยแพร่เท่านั้นเองค่ะ ไม่ใช่ผู้ผลิตแต่อย่างใด

หมายเลขบันทึก: 118689เขียนเมื่อ 10 สิงหาคม 2007 16:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท