Tom_NU
ทพ. วุฒิกุล ธนากาญจนภักดี

"I" Messages "U" Messages


ประโยคที่ขึ้นต้นด้วย "U" จะทำให้ความรู้สึกเหมือนเป็นฝ่ายผิด

วันนี้ได้พูดถึง

"I" Messages และ "U" Messages

ในชั่วโมงของชีววิทยาช่องปาก

พอหลังจากเลิกชั้นเรียน

เพื่อนๆ ก็เดินมาให้อธิบายเพิ่ม ว่ามันคือ อะไร

วิธีการนี้ เป็นอีกหนึ่งเทคนิค ที่มีประสิทธิภาพ

ในการสื่อสารกับเด็ก (Wepman BJ, Sonnenberg EM; 1979)

โดยประโยคที่ขึ้นต้นด้วย "You" นั้นจะให้ความรู้สึก

เหมือนกับ เด็กเป็นฝ่ายผิด เช่น

"หนูอ้าปากให้กว้างหน่อยครับ หมอทำฟันซี่ในสุดไม่ได้"

แต่หากเปลี่ยนประโยค โดยขึ้นต้นด้วย "I"

จะทำให้รู้สึกว่า เราสนใจในงาน มากกว่า เช่น

"หมอจะทำฟันซี่ในสุด หนูอ้าปากให้กว้างหน่อยครับ"

ความรู้สึกว่าเด็กผิด ก็จะลดน้อยลง

มากกว่าประโยคแรก ที่ขึ้นต้น ด้วย "U"

ซึ่งวิธีการนี้ ไม่ใช่ใช้ได้ดี ในการพูดคุย

หรือทำฟัน ในเด็กเท่านั้น นะครับ

แต่สามารถใช้ได้ในชีวิตประจำวันทั่วไป

บางคนอาจจะบอกว่า ชอบให้คนบอกอะไรตน ตรงๆ

แต่การบอกตรงๆ ที่ขึ้นต้นด้วย "U"

มันก็อาจก่อให้เกิดความเสียใจขึ้นบ้างไม่น้อยก็มาก

แต่หากเรา ขึ้นต้นด้วย "I" มันก็จะทำให้ความรู้สึกกล่าวโทษ

แลดูลดลงไป และดูมุ่งไปสู่การทำงานร่วมกันมากกว่า

 

คำสำคัญ (Tags): #communication
หมายเลขบันทึก: 118474เขียนเมื่อ 10 สิงหาคม 2007 00:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:51 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • ดีค่ะ เป็นการให้ความสำคัญกับคนที่เราจะคุยด้วย
  • ทำให้เขารู้สึกว่าได้รับการขอร้อง มากกว่า ออกคำสั่ง
  • คงไม่ต้องใช้กับเด็กอย่างเดียวหรอกค่ะ ใช้กับผู้ใหญ่ หรือผู้คนในชีวิตประจำก็ได้
  • ว่าไหม อ.ต้อม หุหุ

การพูดลักษณะนี้ใช้ได้ดีในหลายสถาณการณ์ครับ

แต่ในบางครั้ง มันก็ไม่เหมาะ

เช่นกรณี บางคนอาจไม่เข้าใจว่าต้องทำสิ่งใด

หากพูดไม่ตรงประเด็นครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท